ตัวแปรทำนายพฤติกรรมทางเพศในบริบทความแตกต่างของรูปแบบวิธีการวัด ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของรัฐบาล อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

Predictors of Sexual Behavior Using Different Measurement Modes among Government High School Students in Chon Buri Province

Authors

  • ชัยนันท์ เหมือนเพ็ชร์
  • นิภา มหารัชพงศ์
  • กุหลาบ รัตนสัจธรรม

Keywords:

พฤติกรรมทางเพศ , พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ , การเก็บข้อมูล , นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, Sexual behavior, Sexual risk behaviors, Data collection, High school students

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ เพื่อศึกษาตัวแปรทำนายพฤติกรรมทางเพศในบริบทความแตกต่างของรูปแบบวิธีการวัดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของรัฐบาล อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบสอบถามกระดาษ และการใช้คอมพิวเตอร์ออนไลน์ ที่มีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.78-0.91 เป็นคำถามชุดเดียวกันและให้นักเรียนกลุ่มเดียวกันตอบทั้ง 2 รูปแบบ เก็บข้อมูลโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 40 ห้องเรียน วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาในรูปของจำนวน ร้อยละ และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยของแบบสอบถามทั้งสองรูปแบบ พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมทางเพศอยู่ในระดับดีมาก ตัวแปรที่มีผลและร่วมกันทำนายพฤติกรรมทางเพศทั้งสองรูปแบบ คือ สิ่งกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ เจตคติต่อพฤติกรรมทางเพศ และพฤติกรรมกลุ่มเพื่อน โดยตัวแปรดังกล่าวสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมทางเพศของแบบ สอบถามกระดาษ ร้อยละ 52.9 และสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมทางเพศของแบบสอบถาม คอมพิวเตอร์ออนไลน์ ร้อยละ 48.8 จากข้อมูลพบว่าตัวแปรที่ทำนายพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนที่ทำแบบสอบถามกระดาษและ คอมพิวเตอร์ออนไลน์มีตัวแปรที่ทำนายได้เหมือนกัน จะเห็นว่าการใช้แบบสอบถามทั้งสองรูปแบบ สามารถนำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมทางเพศในนักเรียนมัธยมศึกษาได้ เพื่อใช้สำหรับเฝ้าระวังพฤติกรรมและวางแผนการสอนเพศศึกษาโดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับสิ่งกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ทัศนคติต่อพฤติกรรมทางเพศ และพฤติกรรมกลุ่มเพื่อน  This cross-sectional descriptive research aimed to predict sexual behavior in the context of different measurement modes among government high school students in Chon Buri province. Students in 40 classrooms were selected to complete both paper-based questionnaire (PQ) and computer-based questionnaire (CQ) with the reliability of 0.78-0.91. Data were presented using frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis was used to obtain predictors for sexual behavior among the study subjects. The results of both measurement modes revealed that student's sexual behavior was at a good level. Factors affecting sexual behavior of both modes were stimulants of sexual desire, attitude toward sexual behavior, and peer groups behaviors. These variables could predict sexual behavior by 52.9 percent for PQ and by 48.8 percent for CQ. In conclusion, both PQ and CQ resulted in the same predictor variables of sexual behaviors. The authors suggested that, both modes of data collection could be used to obtain sexual behaviors among high school students for behavioral surveillance and for sex education planning, especially concerning stimulants of sexual desire, attitude toward sexual behaviors, and peer groups behaviors.

Downloads

Published

2023-12-18