ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของแรงงานสูงอายุในอุตสาหกรรมอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง

Occupational Health Hazards and Health Status Related to Risk among Aging Workers in the Seafood Canning Industry

Authors

  • เสาวลักษณ์ แก้วมณี
  • ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์
  • ธานี แก้วธรรมานุกูล

Keywords:

ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน , ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยง , แรงงานสูงอายุ, Occupational health hazards, Health status related to risk, Aging workers

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของแรงงานสูงอายุในอุตสาหกรรมอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง จังหวัดสงขลาจำนวน 285 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ร่วมกับการสังเกตท่าทางการทำงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยคุกคามสุขภาพที่สำคัญตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง คือ ด้านการยศาสตร์และด้านจิตสังคมส่วนการสังเกตท่าทางการทำงานพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 73.33 มีท่าทางการทำงานที่จำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุงสำหรับภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงในด้านความเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการทำงานที่พบบ่อย คือ ปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ/ไหล่/แขน (ร้อยละ 57.89) และปวดหลัง/เอว (ร้อยละ 47.02) การบาดเจ็บในช่วง 3เดือนที่ผ่านมา พบเพียงร้อยละ 5.96 ส่วนแบบแผนการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพที่ต้องปรับแก้ไข คือ พฤติกรรมการพักผ่อน/การจัดการความเครียด ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าทีมอาชีวอนามัยควรตระหนักถึงความสำคัญในการวางแผนเสริมสร้างความตระหนัก และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านความเสี่ยง ตลอดจนพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงจากการทำงานในแรงงานสูงอายุ  This descriptive study aimed to examine occupational health hazards and health status related to risk among 285 aging workers in the seafood canning industry in Songkhla Province. Data were collected using the interview form and the observation form of working posture. The results showed that the important occupational health hazards perceived by the subjects were ergonomic and psychosocial hazards. Working posture based on observations required an action for improvement (73.33%). Concerning health status related to risk, the most common ailments possibly related to exposure to occupational health hazards included neck/shoulder/forearm pain (57.89%) and back/lumbar pain (47.02%), while work-related injuries during the past three months was 5.96 percent. Health related lifestyle needed to be improved was rest and stress management. These results indicate occupational health team should recognize the importance of establishing a plan to enhance awareness and disseminate health risk information. Health promotion program to reduce occupational health risk among ageing workers should also be formulated.

Downloads

Published

2023-12-18