ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการประสบอันตรายจากการทำงาน ของแรงงานประมงไทยและต่างด้าว ตำบลเกาะเปริด อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

Factors Influencing Occupational Risk Behaviors among Thai and Migrant Fishery Workers in Kohperit, Leamsing, Chanthaburi Province

Authors

  • ณัฐกานต์ เล็กเจริญ
  • อนามัย เทศกะทึก
  • กุหลาบ รัตนสัจธรรม

Keywords:

แรงงานประมง, แรงงานต่างด้าว, พฤติกรรมเสี่ยงต่อการประสบอันตรายจากการทํางาน, Fishery worker, Migrant worker, Occupational risk behavior

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการประสบอันตรายจากการทำงานของแรงงานประมงไทยและต่างด้าวที่มีอายุ 15-59 ปี ตำบลเกาะเปริด อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ เป็นแรงงานประมงไทย 103 คน และแรงงานต่างด้าว 68 คน ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการประสบอันตรายจากการทำงาน ถูกเก็บรวบรวม ข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์หาปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการประสบอันตรายจากการทำงาน ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุแบบ Forward selection ได้สมการถดถอยที่มีอำนาจในการทดสอบ 52.26% ผลการศึกษาพบว่า แรงงานประมงมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการประสบอันตรายจากการทำงานสูง แรงงานประมงต่างด้าวมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการทํางานโดยรวมมากกว่าแรงงานประมงไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) โดยพบว่าการมีสัญชาติต่างด้าวจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการประสบอันตรายจากการทำงานมากที่สุด (β = -11.58; 95%CI = -17.81, -5.85) รองลงมา ได้แก่ การทำงานที่มากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน (β = 5.49, 95%CI = 3.00, 7.98) ระดับการศึกษาที่ต่ำกว่า ประถมศึกษา (β = -4.94; 95%CI = -9.03, -0.85) ดังนั้นจึงควรมีการสร้างความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการประสบอันตรายจากการทำงาน โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ระดับการศึกษาที่ต่ำกว่าประถมศึกษาและการทำงานที่มากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน  The research aims to study factors that influence risk behavior at work among Thai and migrant fishery workers aged 15 59 years old at Kohpert, Leamsing district, Chanthaburi Province. A sample of 103 Thai and 68 migrant fishery workers was randomly selected using systematic sampling technique. Data were collected with the questionnaire developed by the researchers, comprising personal factors, predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors and occupational risk behavior. Analysis of the factors that influenced occupational risk behavior was conducted by multiple linear regression using forward selection. The resulting model showed a predictive power of 52.26%. The main results of this study were as follows; fishery workers' occupational risk behavior was high. Migrant fishery workers had higher risk behaviors from all hazards than Thai fishery workers (p-value<0.001). Migrant's nationality had the strongest association with occupational risk behavior (β = -11.58; 95% CI = -17.31 - 5.85). In addition, work-hour more than 8 hours/day was significantly influenced occupational risk behavior (β 5.49; 95% CI= 3.00, 7.98), and education lower than elementary school was associated with occupational risk behavior (β = -4.94; 95% CI= -9.03, -0.85). Therefore, safety at work should be created to reduce risk behaviors. Factors such as being migrant workers, education level lower than elementary school, and daily work-hour more than 8 hours/day should be taken into consideration. 

Downloads

Published

2023-12-19