ผลของตำรับยาสมุนไพรหลังคลอด ของโรงพยาบาลกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

Effect of Postpartum Herbal Formulas used at KabChoeng Hospital, Surin Province

Authors

  • ขนิษฐา มีประดิษฐ์
  • สินธพ โฉมยา
  • ศตวรรษ สินประสิทธิ์กุล
  • เพียงฤทัย ริรัตนพงษ์
  • ธนินทร อุดมสินานนท์
  • มยุรี เรืองเพ็ญ
  • ไพวัลย์ โคศรีสุทธิ์
  • วรวีย์ ดาวนพเก้าอนันต์

Keywords:

ตำรับยาสมุนไพร, การดูแลหญิงหลังคลอด, herbal formulas, postpartum care

Abstract

การศึกษาผลของตำรับยาสมุนไพรหลังคลอดที่ใช้ในโรงพยาบาลกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ที่มีต่อหญิงหลังคลอด โดยเปรียบเทียบกับของโรงพยาบาลพานทอง จังหวัดชลบุรี ที่ไม่ได้มีการให้ยาสมุนไพรหลังคลอด โดยประชากรที่ศึกษาเป็นหญิงหลังคลอดอายุระหว่าง 18 ถึง 35 ปี ที่มารับบริการในโรงพยาบาลทั้งสองแห่ง ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2554 โรงพยาบาลละ 30 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบการหดตัวของมดลูก (มดลูกเข้าอู่) วันที่น้ำคาวปลาหมด โดยสังเกตจากสีและกลิ่นของน้ำคาวปลาในวันที่น้ำคาวปลาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนขาวและหมดกลิ่น และประเมินสุขภาพทั่วไปของหญิงหลังคลอด ผลการศึกษาพบว่า การหดตัวของมดลูกโดยการวัดระดับยอดมดลูกในกลุ่มที่ได้รับยามีการลดลงมากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเห็นผลชัดตั้งแต่วันที่ 5 หลังคลอด โดยกลุ่มใช้ยาจะมีค่าระดับยอดมดลูกลดลงเฉลี่ย 6.11 ซ.ม. (ลดลง 36.32 %) ในขณะที่กลุ่มไม่ใช้ยาลดลง 3.71 ซ.ม. (ลดลง 23.76%) และมีความแตกต่างมากขึ้นในวันที่ 7 หลังคลอด ในด้านวันที่น้ำคาวปลาหมดพบว่า กลุ่มที่ใช้ยาจะมีการหมดของน้ำคาวปลาเร็วกว่า กลุ่มไม่ใช้ยาโดยกลุ่มใช้ยามีจำนวน 14 คน (46.7 %) น้ำคาวกลายเป็นสีเหลืองปนขาวและหมดกลิ่นในที่ 6 หลังคลอด แต่กลุ่มไม่ใช้ยามีเพียง 9 คน (30 %) ส่วนในด้านสุขภาพโดยรวมประเมินผลจากแบบสอบถามในวันที่ 7 หลังคลอดพบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ได้รับยาและไม่ได้รับยามากนัก ยกเว้นในเรื่องปริมาณน้ำนม (p-value 0.016) ระบบการขับถ่ายอุจจาระ (p-value 0.031) และการรับประทานอาหาร (p-value 0.021) ที่กลุ่มใช้ยามีความพึงพอใจมากกว่า กลุ่มไม่ใช้ยาอย่างชัดเจน ซึ่งผลการจากวิจัยนี้ยืนยันได้ว่าตำรับยาสมุนไพรหลังคลอดของโรงพยาบาล กาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ มีประโยชน์ต่อหญิงในระยะหลังคลอดและหากมีการศึกษาเรื่องความปลอดภัยในการใช้ก็น่าจะมีการส่งเสริมนำมาให้ใช้ในการดูแลหญิง ระยะหลังคลอดต่อไป  The effects of herbal formulas used on postpartum patients in KapChoeng hospital of Surin Province were determined by comparing with the control group in Panthong hospital, Chonburi province. The study population was postpartum women, aged 18 to 35 years old admitted in both hospitals during May to June 2011. The study samples consisted of 30 postpartum patients from each hospital and the data were analyzed by comparing the percentage reduction of high fundus and the last day of lochia by observing the color changed to yellow and termination of smell. The results revealed that the percent reduction of high fundus was significantly greater among those who used the herbal formulas. The effect was explicit after the 5 day of the regimen. The average fundal height decreased by 6.11 cm. (36.82% of the subjects) among the study group, whereas it was 3.71 cm. (23.76% of the subjects) among the control group. Fundal height decreased most substantially after the 7th day postpartum. The last day of lochia was found mostly at the 6th day of the regimen in both groups which was accounted 14 cases (46.7%) among the study group V.S 6 cases (30%) among the control group. The overall health status determined by the questionnaire at day 7 was not different between the 2 groups, except the amount of milk produced (p-value 0.016), defecation (p-value 0.031), and appetite (p-value 0.021) which were higher among the treatment group. The results confirmed that herbal formulas used in postpartum care at Kap Choeng hospital of Surin province provided some therapeutic benefit to women during postpartum period. Once the formulas have been further tested in term of safety, they should be promoted and used in the care of women after giving birth. 

Downloads

Published

2023-12-19