ความเชื่อ แบบแผนการดื่มและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะต่าง ๆ ของเยาวชนไทยในเขตภาคตะวันออก

Beliefs, Patterns, and Factors Related to Alcohol Drinking Stages Among Thai Youths In Eastern Region

Authors

  • พรนภา หอมสินธุ์
  • รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์

Keywords:

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ , ระยะการดื่ม , เยาวชน, ความเชื่อ , แบบแผนการดื่ม, alcohol drinking, alcohol drinking stages, youth, beliefs, patterns of drinking

Abstract

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในสังคมไทยที่ก่อให้เกิดผลเสียทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยาวชน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะต่างๆ รวมทั้งบรรยายลักษณะแบบแผนการดื่มและความคิดความเชื่อเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทย กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และนักเรียนอาชีวศึกษา (ปวช.) ทั้งในสังกัดรัฐบาลและเอกชนในเขตภาคตะวันออก จำนวนทั้งสิ้น 887 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเองและการสัมภาษณ์เจาะลึกเยาวชนที่มีประสบการณ์การดื่มจำนวน 30 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติ multinomial logistic regression และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่าเยาวชนไทยในเขตภาคตะวันออกมีพฤติกรรมการดื่มแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะได้แก่ (1) ระยะมั่นใจที่จะไม่ดื่ม (2) ระยะลังเลใจที่จะดื่ม (3) ระยะทดลองดื่ม และ(4) ระยะดื่มตามโอกาส และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะต่าง ๆ ดังกล่าวไม่แตกต่างกันมากนัก โดยทัศนคติต่อการดื่ม การถูกชักชวนให้ดื่ม และการยอมรับของพ่อแม่ต่อการดื่ม เป็นปัจจัยสำคัญที่พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการดื่มในทุกระยะ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะลังเลใจที่จะดื่มได้แก่ ทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (OR=1.09, 95% CI=1.05-1.13) การถูกชักชวนให้ดื่ม (OR =3.27, 95%CI=1.68-6.38) และการยอมรับของพ่อแม่ต่อการดื่ม (OR=1.74, 95%CI=1.01 – 3.01) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะทดลองดื่มได้แก่ เพศ (OR =0.56, 95%CI= 0.33-0.98) ทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (OR 1.08, 95% CI= 1.05-1.12) การถูกชักชวนให้ดื่ม (OR = 5.85, 95%CI=3.17-10.82) และการยอมรับของพ่อแม่ต่อการดื่ม (OR =2.11, 95%CI=1.27-3.49) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะดื่มตามโอกาสได้แก่ ทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (OR=1.16, 95 %CI=1.12-1.20) การดื่มของเพื่อนสนิท (OR=1.89, 95%CI=1.07-3.35) การถูกชักชวนให้ดื่ม (OR =8.47, 95%CI-4.64-15.47) การคาดการณ์การดื่ม(OR =2.13, 95%CI=1.21 -3.74) และการยอมรับของพ่อแม่ต่อการดื่ม (OR =3.02, 95% CI=1.82-5.03) สำหรับแบบแผนการดื่มและความคิดความเชื่อเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ส่วนใหญ่นิยมดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่สูง โดยมักได้เครื่องดื่มมาจากการหาซื้อตามร้านค้า และดื่มปริมาณไม่มาก เพศชายมีการดื่มในปริมาณและความถี่มากกว่าเพศหญิง เนื่องจากเพศชายได้รับการยอมรับและเปิดโอกาสให้ดื่มมากกว่าทั้งจากสังคมและครอบครัว ส่วนใหญ่ดื่มภายในที่พักอาศัย เนื่องจากเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าที่อื่นๆ ส่วนใหญ่มีเพื่อนเป็นผู้ที่ร่วมดื่ม ด้วยเหตุผลสำคัญที่ทําให้ดื่มคือความสนุกสนานจากการเข้าสังคมและกลัวเพื่อนโกรธ ส่วนใหญ่ดื่มช่วงเวลาเย็นหรือกลางคืนโดยเฉพาะวันหยุดต่างๆ ผลการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเริ่มต้นดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชนต่อไป  Alcohol drinking remains a major public health problem that leads to several negative impacts including physical, mental social and economic in Thai society, especially among youths. The purposes of this study were to examine the factors related to alcohol drinking and to describe patterns and beliefs of alcohol drinking among Thai youths. The study participants were 887 higher secondary school, and vocational college students (vocational certificate) from both public and private institutions in Eastern Thailand. Data were collected from self-administered questionnaires. In addition, in-depth interview was conducted with 30 students experienced in alcohol drinking. Statistical analyses included means, percentages, Standard deviations, and multinomial logistic regression. Content analysis technique was also used. The findings of the study demonstrated that youths in Eastern Thailand were categorized into four alcohol drinking stages: (1) the nonsusceptible precontemplation, (2) the susceptible precontemplation, (3) the tried, and (4) the experimentation. The significantly related factors were not much different at various alcohol drinking stages. Attitudes towards alcohol drinking. persuasion to drink, and parental approval of alcohol drinking were significantly associated with all stages of alcohol drinking. At the susceptible precontemplation stage, related factors were attitudes towards alcohol drinking (OR=1.09, 95%CI=1.05-1.13). persuasion to drink (OR=3.27, 95%CI=1.68-6.38), and parental approval of drinking (OR=1.74, 95%CI=1.01-3.01). At the tried stage, related actors were gender (OR=0.56, 95%CI=0.33-0.98), attitudes towards alcohol drinking (OR=1.08, 95%CI=1.05-1.12), persuasion to drink (OR=5.85, 95%CI=3.17-10.82), and parental approval of drinking (OR=2.11, 95%CI=1.27-3.49). At the experimentation stage, related factors were attitude towards alcohol drinking (OR=1.16. 95%CI=1.12-1.20), peer drinking (OR=1.89, 95%C1=1.07-3.35), persuasion to drink (OR=8.47, 95%CI=4.64-15.47), prevalence estimate (OR=2.13, 95%CI=1.21-3.74), and parental approval of drinking (OR=3.02, 95%CI=1.82-5.03). For the patterns and beliefs of alcohol drinking, most informants drank mild ones. Alcoholic beverages were accessible at convenient stores. Most did not drink too much. Nevertheless, men drank more in quantity and more frequently than women. This was because male drinkers were more accepted by both society and family. Most drank at home, since it was believed that it was safe and economy. Most dinking companions were friends. Social gathering and having fun were important reasons for drinking. Some informants drank for fear of their friends getting angry if they did not. Most drinking time was in the evening or at night. especially during holidays. The study outcome could be used to develop an efficient program, so as to prevent youths from beginning to drink alcohol.

Downloads

Published

2023-12-19