ปัจจัยทำนายการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงในคนงานโรงงานผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ

Predictors of Hearing Protection Device Usage Among Workers in Potato Chips Factory

Authors

  • จันทร์จิรา ยารวง
  • ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์
  • ธานี แก้วธรรมานุกูล

Keywords:

อาชีวอนามัย , อุปกรณ์ป้องกันเสียง , ปัจจัยทำนายการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง, occupational health, hearing protection, predicting factors of hearing protection device use

Abstract

การวิจัยเชิงทำนายเพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรคการรับรู้ สมรรถนะแห่งตนในการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง อิทธิพลระหว่างบุคคลและสถานการณ์เกี่ยวกับการใช้ อุปกรณ์ป้องกันเสียงต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงในคนงานโรงงานผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ แผนกการผลิต จำนวน 347 คน รวบรวมข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์ที่ดัดแปลงมาจากเครื่องมือที่พัฒนาโดย สุริสา ตันชุมพรและคณะ ตามแนวคิดของลัสค์และคณะ ผลการวิจัย พบว่า อิทธิพลระหว่างบุคคลเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง การรับรู้อุปสรรคต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงสามารถร่วมทำนายการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงได้ร้อยละ 30.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า อิทธิพลระหว่างบุคคล โดยเฉพาะจากกลุ่มผู้ร่วมงาน หัวหน้างาน บุคลากรทางด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในสถานประกอบการ ร่วมกับความเชื่อมั่นในการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นแรงเสริมสำคัญต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียง พยาบาลอาชีวอนามัยและทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรตระหนักในความสำคัญดังกล่าว เสนอแนะผู้บริหารสถานประกอบการให้เห็นความสำคัญของการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ปลอดภัย เสริมความตระหนักให้เกิดการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงอย่างต่อเนื่องในกลุ่มคนทำงาน เพื่อลดความเสี่ยง ต่อการสูญเสียการได้ยินจากการทำงาน  This predictive correlational study was designed to examine whether the following factors: perceived benefits of using hearing protection, perceived barriers to using hearing protection, perceived self-efficacy in using hearing protection, interpersonal influences on using hearing protection and situational factors on using hearing protection could predict HPDs use among worker working in a potato chips factory. The study sample, chosen conveniently, was 347 workers working in the production line. Data collection was undertaken using an interview form modified from that developed by Surisa Tonchumporn et al. based on the concept of Lusk et al. The main results revealed that use of hearing protection devices was best predicted by interpersonal influences, perceived barriers, and perceived self-efficacy, which statistically accounted for 30.5 percent (p < .01). The results of the study indicate that interpersonal influences in particular coworkers, supervisors, health personnel, and safety personnel along with self confidence in effectively using hearing protection are significant enforcement of hearing protection use. Occupational health nurses and related health teams should recognize this importance. Provision suggestions for workplace administrators should pay attention to enhancing safe workplace climates. Raising awareness of continuously using hearing protection among workers should also be addressed so as to reduce risk of noise-induced hearing loss.

Downloads

Published

2023-12-19