ความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็ก

Health Risk from Fine Particulate Matter Exposure

Authors

  • นันทพร ภัทรพุทธ

Keywords:

ความเสี่ยงต่อสุขภาพ , ฝุ่นละอองขนาดเล็ก , มลพิษทางอากาศ, health risk, fine particulate matter, air pollution

Abstract

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก มักพบในปริมาณมากในบรรยากาศในเขตเมืองโดยมีแหล่งกำเนิดที่สำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะ ฝุ่นจากการก่อสร้าง และอุตสาหกรรม ส่วนประกอบของฝุ่นละอองขนาดเล็กในบรรยากาศประกอบไปด้วยซัลเฟต ไนเตรท คลอไรด์ แอมโมเนียม สารประกอบคาร์บอนและโลหะ การเพิ่มขึ้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กในบรรยากาศมีความสัมพันธ์กับผลอันไม่พึงประสงค์ต่อสุขภาพ โดยผลต่อสุขภาพแบบเฉียบพลันของฝุ่นละอองขนาดเล็กพบได้ในกลุ่มคนไวรับ เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มี โรคประจำตัว แต่ไม่พบในกลุ่มคนทั่วไปที่มีสุขภาพดี ยกเว้นแต่รับสัมผัสที่ปริมาณความเข้มข้นที่สูง ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดผลต่อสุขภาพแบบเรื้อรัง อันเนื่องจากความเป็นพิษอันเนื่องจากองค์ประกอบทางกายภาพและเคมีของฝุ่น การรบกวนระบบทางเดินหายใจและการที่ฝุ่นเป็นตัวพาหรือสูดซับสารมลพิษ และพาเข้าสู่ร่างกาย อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กขึ้นอยู่กับปริมาณ และชนิดของฝุ่นที่ได้รับจากการสูดดมหรือหายใจเข้าไป กรมควบคุมมลพิษ ได้กำหนดมาตรฐาน ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน โดยกำหนดค่ามาตรฐานฝุ่นขนาด ≤2.5 ไมครอน เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เท่ากับ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และเฉลี่ย 1 ปี เท่ากับ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร  Fine particulate matter has been found in urban area in large quantities. The main sources are from traffic emissions, constructions and industries. Fine particulate matter is made up of a number of components, including nitrate, sulfate, chloride, ammonium, organic carbon and metals. Increase in fine particulate matter has associated with adverse health effects in respiratory system. Particulate matter has been linked to acute respiratory effect in susceptibility person but not found in healthy people, accepted for high exposure level. Exposures to particulate matter may result in chronic respiratory effect as a result of chemical or physical components of dust, respiratory disturbance and adsorption to particulate matter. However, adverse effects depend on Concentration and types of fine particulate mattes. Recognizing health risk from small particulate exposure, Thailand's Pollution Control Department (PCD) proposed a new standard for PM 2.5 to be not more than 50 g/m3 (24 hr. average) and not more than 25 g/m3 for 1 year average.

Downloads

Published

2023-12-19