ผลของโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเกี่ยวกับการมีสุขภาพดี ของนักเรียนหญิงที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ปกติในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
Effects of Exercise Training Program on Health-related Fitness of Overweight Female Students in a High School of Chon Buri Province
Keywords:
การส่งเสริมสุขภาพ , โรคอ้วน , สมรรถภาพทางกายเกี่ยวกับการมีสุขภาพดี , โปรแกรมการฝึกออกกำลังกาย, Health promotion, Overweight, Obesity, Health - related fitness, Exercise training programAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายต่อสมรรถภาพทางกายเกี่ยวกับการมีสุขภาพดีของนักเรียนที่มีน้ำหนักตัวเป็นเกณฑ์ปกติ กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจ โดยเป็นนักเรียนหญิง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 30 คน อายุระหว่าง 12-15 ปี ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ปกติ (≥+3 S.D.) เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ คือ แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายเกี่ยวกับการมีสุขภาพดีของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ 1 ฝึกออกกำลังกาย เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ๆ ละระหว่าง 40-60 นาที และกลุ่มที่ 2 ไม่ฝึกออกกำลังกาย ตัวแปรที่ศึกษาคือ สมรรถภาพทางกายเกี่ยวกับการมีสุขภาพดี ได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและการหายใจ และสัดส่วนของร่างกาย ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์หาค่าความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) นัยสำคัญทางสถิติกำหนดไว้ที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าหลังการฝึกออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ มีสมรรถภาพทางกายเกี่ยวกับการมีสุขภาพดีระหว่างกลุ่มแตกต่างกัน 4 ด้าน ได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว และความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต และการหายใจ ในขณะเดียวกันพบว่า สมรรถภาพทางกายเกี่ยวกับการมีสุขภาพดี ด้านสัดส่วนของร่างกาย มีค่าที่ไม่แตกต่างกัน สามารถสรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกออกกำลังกายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สามารถนำไปใช้ฝึกสำหรับนักเรียนที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ ทำให้เกิดการพัฒนาสมรรถภาพทางกายเกี่ยวกับการมีสุขภาพที่ได้ ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบควรมีการวัดไขมันใต้ผิวหนังพับแทนการหาค่าดัชนีมวลกาย The objective of this study was to determine the effects of an exercise training program on health-related fitness of high school students who are overweight in Chonburi province. Thirty female subjects in a high school, aged between 12-15 years old volunteered to participate in the study. A health-related physical fitness test based upon the growth standard of the Department of Health, Ministry of Public Health, Thailand was used to measure the effectiveness of the exercise training program. The subjects were divided into 2 groups; Group 1, experimental group, underwent the exercise regimen of 40-60 min. a day, 3 days a week for 8 weeks. Group 2 was the control group (no exercise). Health-related fitness parameters which included muscle strength, muscle endurance, flexibility, cardio respiratory endurance and body mass index were measured. Independent t-test was used for data analysis. Results showed that after 8 weeks of exercise training, 4 health related fitness parameters including muscle strength, muscle endurance flexibility and cardio respiratory endurance were statistically different between the two groups, whereas no significant different was found in body mass index parameter. It could be concluded that exercise training program developed in this study improved muscle strength, muscle endurance, flexibility and cardio respiratory endurance of the overweight students. However, body composition parameter should be determined by skin fold thickness rather than body mass index.Downloads
Published
2023-12-20
Issue
Section
Articles