ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 อำเภอหนองใหญ่จังหวัดชลบุรี
Effect of Health Promotion Program on Smoking Behavior Among the Mattayomsuksa 1 Students Amphoe Nongyai, Chon Buri Province
Keywords:
การส่งเสริมสุขภาพ , การเสริมสร้างพลังอำนาจ , แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ , พฤติกรรมการสูบบุหรี่, วัยรุ่น, Health Promotion, Empowerment, Health Belief Model, Smoking Behavior, AdolescentsAbstract
ปัญหาการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นที่มีอายุ 13-17 ปี ทั้งชายและหญิงมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้พฤติกรรม การสูบบุหรี่เป็นพื้นฐานและเป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปสู่การติดยาเสพติดชนิดอื่น ๆ การจัดโปรแกรมสร้างเสริม สุขภาพที่เหมาะสมจะสามารถช่วยให้เกิดการรับรู้พลังอำนาจ เปลี่ยนแปลงความเชื่อและพฤติกรรมการสูบบุหรี่ได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี โดยประยุกต์การเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 66 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 33 คน จากโรงเรียนชุมชนบ้านคลองพลู และกลุ่มควบคุม 33 คน จากโรงเรียนบ้านเขาซก โดยกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเวลา 5 สัปดาห์ วัดผลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว การรับรู้พลังอำนาจของตนเองในการป้องกันการสูบบุหรี่แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้น โดยศึกษาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2553 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ Independent Sample t-test ผลการวิจัยโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพมีผลทำให้กลุ่มทดลองมีการ รับรู้พลังอำนาจ มีความเชื่อด้านสุขภาพในด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์และ อุปสรรคเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่ากลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการสูบ บุหรี่ลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ในการดำเนินการที่มีการประยุกต์ใช้การเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ทำให้กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดลง ควรนำไปประยุกต์ใช้กับนักเรียนกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป An increase in the number of smoking adolescents aged 13-17 years old is at an alarming rate. Smoking is a stepping stone to other drug abuse. Health promotion program may assist adolescents in terms of empowerment, health belief and behavior modifications. The purpose of this quasi-experimental research was to describe the effect of health promotion program on smoking behavior among the junior high school students, Amphoe Nongyai, Chon Buri Province. The researcher developed a health promotion program based on Empowerment and Health Belief Models. The study samples were 66 students from two schools of which 33 students from Klongploo School were assigned as the experimental group while 33 students from Khaosok School were assigned as the control group. The experimental group participated in a five weeks health promotion program from February 2010 till March 2010. Pre and post tests were administered to the participants. Data collected included demographic data, perceived empowerment data, perceived health belief data, and smoking behavior data. Data were analyzed using descriptive statistics (frequency, percentage, mean, and standard deviation), paired sample t-test, and independent t-test. The results of study showed that perceived empowerment, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, and perceived barriers of the experimental group were better than the control group (p<0.05). Smoking behavior of the experimental group was lower than the control group (p<0.05). It is suggested that health promotion program based on Empowerment and Health Belief Models decreased smoking behavior of the experimental group. This program should be promoted to all other groups of student.Downloads
Published
2023-12-20
Issue
Section
Articles