การทำหน้าที่ของครอบครัวที่มีเด็กวัยก่อนเรียนน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
Family Functions upon Underweight Pre-school Children Families
Keywords:
การทำหน้าที่ของครอบครัว , เด็กวัยก่อนเรียนที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ , การให้บริการสุขภาพ, Family functions, Underweight pre-school children, Health care servicesAbstract
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการทำหน้าที่ของครอบครัวที่มีเด็กวัยก่อนเรียน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนบุคคลในครอบครัวซึ่งดูแลเด็กวัยก่อนเรียนที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จำนวน 86 ครอบครัว จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (cluster random sampling) เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์ผู้ทำหน้าที่ดูแลเด็กตามแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยใช้กรอบแนวคิดการทำหน้าที่ครอบครัวของฟรีดแมน (Friedman, 1998) ตรวจสอบความตรงในเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทดสอบความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การทำหน้าที่ครอบครัวโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวม ทั้ง 5 ด้าน ซึ่ง กำหนดช่วงคะแนนระหว่าง 0-2 เท่ากับ 1.57 (range 1.35-1.73) เมื่อจำแนกหน้าที่เป็นรายต้าน พบว่า ครอบครัว มีการทำหน้าที่อยู่ในระดับมากในทุกด้าน โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย ดังนี้ ด้านการให้ความรักความเอาใจใส่ 1.73 (range 1.20-1.91) ด้านการจัดการสิ่งจำเป็นพื้นฐานทางกายภาพสำหรับสมาชิก 1.64 (range 1.06-1.93) ด้าน การจัดหาทรัพยากรทางเศรษฐกิจ 1.62 (range 1.49-1.78) ต้านการอบรมเลี้ยงดูสมาชิก 1.53 (range 1.03 - 1.74) และด้านการเผชิญปัญหาของครอบครัว 1.35 (range 0.85 -1.64) ผลการวิจัยชี้ว่า พยาบาลและเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข ซึ่งเป็นบุคลากรผู้ให้บริการสุขภาพ ควรมีส่วนสนับสนุน และช่วยให้คำแนะนำการทำหน้าที่ของครอบครัว โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาในการดูแลเด็กวัยก่อนเรียนที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ได้อย่างเหมาะสมต่อไป This cross-sectional descriptive research studied family functions in families of underweight pre-school children. The sample comprised 86 family members of underweight pre-School children, residing in communities of Sating Pra District, Songkhla Province, by using cluster random sampling technique. Data were collected during April - June 2006, through face-to-lace interviews. The questionnaire covered demographic data of family and underweight pre. school children as well as the five dimensions examining family' perceived functions, according to Friedman (1998) conceptual framework, in caring for their underweight children. Open-ended questions regarding obstacles and supporting factors that could help improve family functions were also asked. Content validity was verified by 3 experts. Reliability was tested using Cronbach's alpha coefficient. yielding the value of 0.86. Data were analyzed by using frequency distribution, mean scores, and standard deviation. Findings showed that majority of the study families had an overall famıly function mean cone at a high level, with a mean score of 1.57 (range 1.35-1.73). on the scale of 0-2. Mean scores of family functions in the five dimensions were also reported at a high level: emotional attachment 1.73 (range 1.20-1.91), providing basic physical needs 1.64 (range 1.06-1.93). providing financial support 1.62 (range 1.49-1.78), parental control 1.53 (range 1.03-1.74), and problem-solving 1.35 (range 0.85-1.64). In conclusion, our study revealed that families of underweight pre-school children were concerned about caring properly for their underweight children. Nurses and health care providers should thus be engaged in delivering proper care services, particularly problem-solving strategies, to supporting family functions in this regard.Downloads
Published
2023-12-20
Issue
Section
Articles