การบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในชุมชนแออัดเขตเทศบาลนครขอนแก่น

Dietary Intake of Elderly in the Slum Areas of Khon Kaen Metropolitan District

Authors

  • จินตนา สุวิทวัส
  • ภัทระ แสนไชยสุริยา
  • เกียรติรัตน์ คุณารัตนพฤกษ์

Keywords:

ผู้สูงอายุ, ชุมชนแออัด , การบริโภคอาหาร , โรคประจำตัว , Elderly, Slum, Dietary intake, Chronic illness

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่ออธิบายการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในชุมชนแออัดเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 78 คน เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์การบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง และแบบสัมภาษณ์ความถี่ของการบริโภคอาหารใน 1 สัปดาห์ และแนวคำถาม สัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ปริมาณพลังงานและสารอาหารโดยใช้โปรแกรม INMUCAl วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารโดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่บริโภคข้าวเหนียวและข้าวเจ้า เนื้อปลา ผัก ผลไม้ กาแฟ และเครื่องปรุงรส ผงชูรสทุกวัน ร้อยละ 100, 57.7, 70.5, 46.2, 37.2 และ 98.7 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือการมีโรคประจำตัวของผู้สูงอายุ  A cross-sectional study was conducted to describe dietary intake of elderly in the slum areas of Khon Kaen Metropolitan district. The subjects were 78 elderly people. The data were collected by using 24-hours dietary recall, frequency of food intake, and in-depth interview. INMUCAL program was used for calculating nutrient intake. The quantitative data were presented by descriptive statistics. The association between related factors and dietary intake was determined using Chi-square test. Qualitative data analyses were performed using content analysis. The results revealed that the majority consumed sticky rice, while rice, fish, vegetable. fruit, coffee, food seasoning, and MSG by 100%, 57.7%. 70.5%. 46.2%, 37.2%, and 98.7% respectively, Chronic illness was significantly related to nutritional intake.

Downloads

Published

2023-12-20