ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อทัศนคติในการออกหน่วยบริการทันตกรรม ในศูนย์สุขภาพชุมชนของทันตแพทย์โรงพยาบาลชุมชนเขตภาคกลาง

Managerial Factors Affecting Attitude of Dentists towards Working in Dental Mobile Clinics in the Primary Care Unit of Community Hospitals in Central Thailand

Authors

  • ดลกร พูลสวัสดิ์
  • กุหลาบ รัตนสัจธรรม
  • บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์

Keywords:

ปัจจัยทางการบริหาร , การให้บริการทันตกรรม , ศูนย์สุขภาพชุมชน , ทันตแพทย์โรงพยาบาลชุมชน, Managerial factors, Dental care, Primary care unit, Community hospital dentists

Abstract

งานวิจัยเชิงทำนายภาคตัดขวางนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อทัศนคติในการออกหน่วยบริการทันตกรรมในศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลชุมชนโดยศึกษาจากทันตแพทย์โรงพยาบาลชุมชนเซตภาคกลาง โดยการสุ่มตัวอย่างเป็นแบบหลายขั้นตอน จำนวน 216 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.76 - 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป นำเสนอค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าอัตราส่วน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าทันตแพทย์ส่วนใหญ่มีทัศนคติในการออกหน่วยบริการทันตกรรมทางบวกปานกลาง ตัวแปรปัจจัยทางการบริหารที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทัศนคติโดยรวมและรายด้านทุกตัวคือ นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด(ก) งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร(ข) โครงสร้างหน่วยทันตกรรมที่มีรูปแบบการออกหน่วยเป็นทีม(ค) การเรียนรู้เทคโนโลยี(ง) สัดส่วนครั้งที่ออกหน่วยต่อเดือนต่อทันตแพทย์(จ) การตัดสินใจตามสถานการณ์ (ฉ) มีผลกับทัศนคติรายด้านและโดยรวมได้ร้อยละ 30.5-34.8 โดยพบว่า(ก), (ข), (ฉ) สามารถทำนายทัศนคติปัจจัยนำเข้าได้ร้อยละ 30.5; (ก), (ข), (ค), (ง), (ฉ) สามารถทำนายทัศนคติการดำเนินการเข้าได้ร้อยละ 32.0, (ก), (ข), (ค), (จ) สามารถทำนายทัศนคติผลการดำเนินการเข้าได้ร้อยละ 32.1; (ก), (ข), (ค) สามารถทำนายทัศนคติโดยรวมได้ร้อยละ 34.8 ดังนั้นในการสร้างเสริมให้ทันตแพทย์มีทัศนคติทางบวกในการออกให้บริการทันตกรรมในศูนย์สุขภาพชุมชน ควรให้ความสำคัญกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด งบประมาณที่ได้รับ การจัดสรร โครงสร้างของหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ ทั้งในเรื่องรูปแบบการจัดบุคลากรออกหน่วยบริการและสัดส่วน ครั้งที่ออกหน่วยต่อเดือนต่อจำนวนทันตแพทย์ การตัดสินใจและการเรียนรู้เทคโนโลยี  This cross-sectional predictive research aimed to identity managerial factors affecting dentists' attitude towards working in dental mobile clinics in the primary care unit of community hospitals in central Thailand. This research used a stratified sampling technique. The required sample of this research was 216 subjects. This research used a questionnaire as the instrument for collecting data The reliability was 0.76 -0.93. Data analysis was done by using SPSS for windows by presenting frequency, percentage, mean, standard deviation, chi-square, Pearson correlation coefficients and the stepwise multiple regression analysis The results revealed that attitude of dentists towards dental mobile clinic were fairly positive. Aspect of concern were: hospital's policy for dental mobile clinic (A), allocation budget (B), structure of dental mobile clinic (C), learning of technology (D), proportion of work load in dental mobile clinic per month (E) and decision making (F). All of these could significantly predict attitude towards working in dental mobile clinic in primary care unit (r = 30.5-34.8%). (A), (B) and (F) can predict attitude input factor with r = 30.5%. (A), (B), (C), (D), and (F) can predict attitude process factor with r = 32.0%. (A), (B), (C), and (E) can predict attitude result factor with r = 32.1% and (A), (B), (C), can predict attitude whole factor with r= 34.8%. Therefore, motivating for dentists’ positive attitude towards working in dental mobile clinic in primary care unit should consider hospital's policy for dental mobile clinics, allocation budget, Structure of dental mobile clinic, proportion of work loud in dental mobile clinic per month, decision making, and learning of technology.

Downloads

Published

2023-12-20