แบบการเสริมสร้างพลังอำนาจอาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

The Model of Instructors Empowerment at Sirindhorn College of Public Health, Chonburi

Authors

  • เพียงพร กันหารี
  • เรณา พงษ์เรืองพันธุ์
  • ยุวดี รอดจากภัย
  • กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ

Keywords:

การพัฒนา, การเสริมสร้างพลังอํานาจ, อาจารย์, การส่งเสริมสุขภาพ, Development, Empowerment, Instructors, Health promotion

Abstract

การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท และกระบวนการพัฒนาองค์กรที่เป็นวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร โดยใช้แนวคิดการแทรกเสริมพลังอำนาจและกระบวนการการมีส่วนร่วมเพื่อเป็นการเสริมสร้าง และประเมินผลการเเทรกเสริมพลังอำนาจ โดยมีขั้นตอนการวิจัย 5 ขั้นคือ 1) สร้างความตระหนักร่วมกันของผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงและระบุปัญหาของวิทยาลัย 3) พัฒนาแบบการแทรกเสริมพลังเปลี่ยนแปลงเชิงผลลัพธ์ ผลการวิจัยพบว่า การแทรกเสริมพลังอำนาจอาจารย์มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) การปรับโครงสร้างการบริหารที่เน้นการกระจายอำนาจการตัดสินใจให้ภาควิชา 2) การวางระบบการทำงานใหม่ 3) การเพิ่มช่องทางให้อาจารย์มีอำนาจต่อรองในลักษณะเป็นการเสวนา (dialog) จดหมายข่าว วารสาร เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน 4) การสร้างบรรยากาศให้มีการสื่อสารเป็นแบบประชาธิปไตย 5) การพัฒนา ความรู้ และทักษะใหม่ ๆ 6) การสร้างทีมทำงานในระดับภาควิชา และ 7) การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน โดยนำองค์ประกอบทั้งหมดมากำหนดเป็นแบบการแทรกเสริมพลังอำนาจ 6 วิธีการโดยให้มีการฝึกอบรมทักษะการปฏิบัติงาน การให้คำปรึกษาในการทำงานการแทรกเสริมในระดับทีมงาน ใช้วิธีการประชุมทีมวินิจฉัยสภาพการณ์ และการประชุมเพื่อสร้างที่มีไขปัญหา สำหรับการเสริมสร้างในระดับวิทยาลัยใช้วิธีการประชุมแบบปรึกษาหารือ และการระบบควบคุมคุณภาพ ซึ่งผลการประเมินการเปลี่ยนแปลงเชิงผลลัพธ์พบว่าพลังอํานาจอาจารย์เพิ่มขึ้น  This research used a participatory action methodology. The purposes of the research were to examine the context and the process of developing an organization as an institute by using the concept of instructors' empowerment and evaluate the empowerment program. The research was conducted in 5 stages. Stage 1 initiated a common awareness of the researcher and his participants. Stage 2 examined the needs for change, and identified college problems. Stage 3 developed the program for instructors' empowerment to be involved in the intervention process. Stage 4 operated the development of instructors based on the developed program. And stage 5 evaluated the resultant changes. The study results revealed the following. Seven factors of the model for instructors' empowerment were: 1) improvement of the administrative structure with an emphasis on decentralization of decision-making to the learning strands, 2) re-systematization of work, 3) increment of channels for instructors to have bargaining power in a way of dialog to decrease conflicts and to create mutual understanding, 4) creation of climate to provide open and democratic communication between instructors and administrators, 5) development of new knowledge and skills for instructors, 6) building of teamwork to emerge at the level of learning strands, and 7) creation of work motivation. These needs were determined to be the program for instructors' empowerment consisting of 6 interventions. The interventions were divided into the individual level by using techniques of training skills in work performance and process consultant; empowerment at the team level by using the technique of diagnostic meeting, and team-building meeting for problem-solving and at the school level by using techniques of confrontation meeting, and meeting for systematization of institute quality control. For the results of evaluating the resultant changes, it was found that the instructors' empowerment increased in every indicator.

Downloads

Published

2023-12-21