โปรแกรมการสร้างพลังแกนนำชุมชนเพื่อป้องกันไข้หวัดนก บ้านหนองหัวช้าง หมู่ที่ 3 ตำบลหนองผักแว่น อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี

Study of Empowerment Program for Community Leaders in Prevention of Avian Influenza, Nonghuochang Village, Moo 3, Nongphugwan Subdistrict, Taluang District, Lopburi Province

Authors

  • ทิพย์เนตร รวยนิรัตน์
  • มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์
  • นิรัตน์ อิมามี
  • สุภาวดี บุญชื่น

Keywords:

การให้อำนาจ, การให้ความสามารถ, การป้องกันและควบคุมโรค, empowerment, disease prevention and control

Abstract

โรคไข้หวัดนกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยซึ่งการป้องกันและควบคุมโรค ในระดับชุมชนที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดแนวทางการป้องกันควบคุมโรค การที่จะให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคได้นั้น จำเป็นต้องสร้างพลังของชุมชนให้มีศักยภาพเพียงพอโดยเฉพาะ การสร้างความรู้ การรับรู้เกี่ยวกับโรค การรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันควบคุมโรค และการพัฒนาทักษะผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยการวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างพลังแกนนำชุมชนเพื่อป้องกันไข้หวัดนกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เนื้อหาของโปรแกรมเน้นสร้างการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ การสร้างพลังชุมชน และการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคไข้หวัดนก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ แกนนำชุมชนจำนวน 21 คน และตัวแทนครัวเรือน 70 คน ของหมู่ที่ 3 ตำบลหนองผักแว่น อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ทำการเลือกตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด แกนนำชุมชนได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพในการป้องกันโรคไข้หวัดนกแบบมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการกลุ่มการระดมความคิดหาแนวทางป้องกันโรคไข้หวัดนกร่วมกับตัวแทนครัวเรือน ระยะเวลาจัดกิจกรรมตามโปรแกรม 10 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า โปรแกรมการสร้างพลังแกนนำชุมชนเพื่อป้องกันไข้หวัดนก มีผลทำให้แกนนำชุมชนป้องกันไข้หวัดนก และตัวแทนครัวเรือนมีความรู้เรื่องไข้หวัดนก การรับรู้โอกาสเสี่ยง และความรุนแรงต่อไข้หวัดนก การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันไข้หวัดนก การรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันไข้หวัดนกและพฤติกรรมป้องกันไข้หวัดนกเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ  Avian influenza is one of the important public health problems of Thailand. Effective and efficient prevention and control program in the community depends largely on the participation of the community in determining the prevention and control strategies. In order to get the community to participate in the prevention and control program it is necessary to empower the community to have adequate capacity, especially the development of knowledge, perception about the disease, perceived self-efficacy to prevent and control the disease, and skills development, through participatory learning activities. This quasi-experimental research was aimed to study the effects of a community leaders empowerment program on avian influenza prevention through community participation. The contents of this program emphasized the development of perception by applying the concepts of Health Belief Model, community empowerment, and community participation, with the aim to develop avian influenza prevention behavior. The samples were composed of 21 community leaders and 70 household representatives of Village 3, Nongphugwan Subdistrict, Taluang District, Lopburi Province. The samples were selected in accordance with set criteria. The sampled community leaders had participated in the capacity development training program on avian influenza prevention, emphasizing participation through group process, brainstorming to find avian influenza prevention measures in the community, dissemination of knowledge, and organizing avian influenza prevention activities with the household representatives. The program lasted for 10 weeks and the data collection was done before and after the experimentation by the interview. The research findings showed that the community leaders empowerment program for avian influenza prevention was effective in making the community leaders and household representatives gained significantly higher levels of knowledge about avian influenza, perceived susceptibility and severity of the disease, perceived benefits and obstacles, and perceived self-efficacy in performing avian influenza prevention behaviors, compared to before the experiment.

Downloads

Published

2023-12-21