ผลของขิงผงแคปซูลที่มีต่ออัตราการเผาผลาญพลังงานขณะพัก ค่าเศษส่วนการหายใจและการใช้ออกซิเจนสูงสุด

Effects of Ginger Powder Capsule on Resting Metabolic Rate, Respiratory Quotient and Maximal Oxygen Consumption

Authors

  • สุกัญญา เจริญวัฒนะ
  • ประทุม ม่วงมี
  • กัลยา กิจบุญชู
  • สุภาภรณ์ ปิติพร

Keywords:

สมุนไพร, แคปซูลขิง, การออกกำลังกาย, Herb, Ginger Powder Capsule, Exercise

Abstract

การศึกษาผลของขิงผงแคปซูลที่มีต่อการเผาผลาญพลังงานขณะพัก (RMR) ค่าเศษส่วนการหายใจ (RQ) และการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2 max) กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชายอายุ 18-22 ปี จำนวน 30 คน จากการสุ่มแบบง่าย 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คนโดยกลุ่มที่ 1, 2 และ 3 ได้รับขิงผงแคปซูล ขนาด 1, 2 และ 4 กรัม ในเวลา 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มที่ 4 เพิ่มขนาดทุก 2 สัปดาห์ในขนาด 1, 2 และ 4 กรัม และกลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับแคปซูลแป้ง วัดค่าตัวแปรโดยเครื่องวิเคราะห์แก็สจากการหายใจ Quark PFT 2003 และจักรยานวัดงานโมนาร์ด 893 E ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับขิงผงแคปซูลเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ย RMR ของกลุ่มที่ 3 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์เริ่มต้นจนถึงสัปดาห์ที่ 6 (1,735, 1,863, 1,863 และ 2,328 กิโลแคลอรีต่อวัน) ในกลุ่มที่ 1 และ 2 มีค่าเพิ่มขึ้นสูงสุดในสัปดาห์ที่ 4 และลดลงในสัปดาห์ที่ 6 ส่วนกลุ่มที่ 4 และ 5 มีค่าเฉลี่ย RMR เพิ่มขึ้นไม่ชัดเจน ค่าเฉลี่ย RQ กลุ่มที่ 2 พบว่า ลดลงตั้งแต่สัปดาห์เริ่มต้นจนสิ้นสุด (0.84, 0.74, 0.71 และ 0.67) ส่วนค่า RQ ในกลุ่มที่ 1 มีค่า ลดลงจากสัปดาห์เริ่มต้นจนถึงสัปดาห์ที่ 4 และกลุ่มที่ 3, 4 และ 5 มีค่าลดลงไม่สม่ำเสมอ ค่าเฉลี่ย VO2 max ในกลุ่มที่ 3 พบว่า เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (49, 51, 55 และ 56 มิลลิลิตร /กิโลกรัม/ นาที ) ส่วนกลุ่มที่ 1,4 และ กลุ่ม 5 มีค่า VO2 max เพิ่มจนถึงสัปดาห์ที่ 4 และกลุ่ม 2 มีการเพิ่มของ VO2 max ไม่ชัดเจน จากผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ก่อนและหลังการทดลองในแต่ละกลุ่มพบว่า ค่า RMR ในกลุ่ม 3 และ 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่า RQ ใน กลุ่ม 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย Vo2 max ไม่แตกต่างกัน (p<0.05) ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนของ RMR, RQ และ VO2 max ในทุกกลุ่มไม่แตกต่างกัน เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม สรุปว่าขิงผงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่า RMR และ RQ แต่ไม่มีผลต่อ VO2 max   This experiment was aimed to determine effects of ginger powder capsule on resting metabolic rate (RMR), respiratory quotient (RQ) and maximal oxygen consumption (VO2 max) during 6 weeks administration of ginger powder capsules. Measurement was done initially and at 2, 4 and 6 weeks. RMR, RQ and VO2 max were measured from expired gas analysis model Quark PFT and Monark 893 E. Thirty young men, aged 18-22 years in good health were randomly selected from Burapha University students. The subjects were divided into 5 groups. Group 1 to 4 received ginger powder capsules of 1 g, 2 g, 4 g, and the alternate doses of 1 g, 2 g, and 4 g (every 2 weeks), respectively. Group 5 received a placebo. Subjects received the capsules after breakfast every day for 6 days. Paired t-test and One-Way ANOVA were used for statistical analysis. The results revealed that RMR of Group 3 increased continuously during the 6 weeks (1,735, 1,863, 1,863 and 2,328 kcal/d) while for Group 1 and 2 increased in week 4 and then decreases in week 6 (Group 1 RMR was 1,804, 2,165, 2,679 and 2,182 kcal/d; Group 2 RMR was 1,799, 2,085, 2472 and 1,837 kcal/d). RQ of Group 1 decreased from week 1 to week 4 and then increased (0.83, 0.73, 0.70 and 0.73). Mean of RQ in group 2 were decreased from start to end (0.84, 0.74, 0.71 and 0.67). Groups 3, 4, and 5 decreased in RQ, but not uniformly. Mean VO2 max Group 3 increased continuously (49, 51, 55 and 56 ml/kg/min-1) Groups 1, 4, and 5 increased VO2 max until week 4 but change in Group 2 was not significant (p<0.05). Paired-t-test revealed that Groups 3 and 4 had significant increase in RMR (p<0.05). RQ of Group 2 were also different (p<0.05). These findings suggest that ginger powder capsule intake affects RMR and RQ but not VO2 max. Further research is needed with more participants, higher doses of ginger and descriptions of aerobic and anaerobic effects.

Downloads

Published

2023-12-21