การปวดหลังจากการทํางาน : เครื่องมือประเมินของ NIOSH เพื่อการป้องกัน

Occupational Back Pain: NIOSH Assessment Tool for Prevention

Authors

  • ศักดิ์สิทธิ์ กุลวงษ์

Keywords:

อาชีวอนามัย , การประเมินความเสี่ยง, การปวดหลัง, การยศาสตร์, สมการการยก, Occupational health, Risk assessment, Back pain, Ergonomics, Lifting equation

Abstract

การปวดหลังส่วนล่างจากการทำงาน (Occupational low-back pain) เป็นปัญหาที่พบบ่อยซึ่งเกิดขึ้น กับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมและผู้ปฏิบัติงานทั่วไปในประเทศอุตสาหกรรมพบว่ามีความชุกสูงถึง ร้อยละ 70 ของจำนวนประชากรวัยทำงาน โรคดังกล่าวเกิดจากพยาธิสภาพที่กล้ามเนื้อหลัง เอ็น ข้อ หมอนรองกระดูกสันหลัง เส้นประสาทและโครงสร้างโดยรอบ ก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรง การไร้ความรู้สึก ซึ่งส่งผลไปถึงการหยุดงาน สูญเสียรายได้ ผลผลิตลดลง ทั้งยังสูญเสียค่ารักษาพยาบาลและค่าทดแทนจำนวนมหาศาล วัตถุประสงค์ของบทความนี้ เพื่อทบทวนความรู้เกี่ยวกับลักษณะปัญหา สาเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศึกษา ถึงการนำวิธีมาตรฐานของ NIOSH มาใช้ประเมินความเสี่ยงเพื่อหาแนวทางป้องกันการเกิดโรคปวดหลังจากการทำงานในการยกและเคลื่อนย้ายวัตถุ วิธีประเมินตามมาตรฐานของ NIOSH เริ่มตั้งแต่การเลือกงานที่จะนำมาทำการวิเคราะห์ จากนั้นเก็บรวบรวมข้อมูลค่าตัวแปรที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่จะเป็นตัวกำหนดค่าขีดจำกัดของน้ำหนักที่ยอมให้ยกได้ (Recommended Weight Limit: RwL) ตามสภาพงานนั้นๆ ค่า RML จะถูกนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่าน้ำหนักจริงที่ผู้ปฏิบัติงานต้องยกและเคลื่อนย้ายในรูปของค่าดัชนีการยก (Lifting Index : LI) จากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาพิจารณาเพื่อคาดประมาณระดับความเสี่ยงและพิจารณาหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขทางการยศาสตร์ต่อไปในกรณีที่ผลการประเมินอยู่ในระดับที่เกินค่าแนะนำ (LI> 1.0) เครื่องมือประเมินดังกล่าวแม้จะมีข้อจำกัดบางประการในการนำไปประยุกต์ใช้ แต่ยังถือว่าเป็นเครื่องมือ ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการป้องกันอันตรายอันจะส่งผลไปสู่การควบคุมการสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการปวดหลังจากการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป  Occupational low-back pain is a common occurrence in industrial employees. The lifetime prevalence is up to 70% of working populations in industrial countries. Pathology of occupational low-back pain commonly involves the back muscles, tendons, joints, vertebral discs, nerves and supporting structures. This can result in severe debilitating pain and numbness that result in lost work time and personal incomes, as well as less productivity plus medical treatment and compensation costs for employers. The goal of this article is to review the knowledge of the physiological natures and causes of problems, and then focus on the NIOSH preventive assessment method, which compares the physical demands of certain manual lifting tasks. In preparing for assessment procedures, the analyst must decide which part of the lifting job should be analyzed, and then carefully collect data from the relevant task variables. The following computations are required. A Recommended Weight Limit (RWL) should be determined in order to identify the stressful lifts. The assessment is completed on a worksheet by determining the lifting index (LI) for the task of interest. This is accomplished by comparing the actual weight of the load (L) lifted with the RWL value obtained from the lifting equation. Finally, use the RWL and LI to guide the ergonomics design or redesign in case of the jobs with lifting indices above 1.0 or higher. The NIOSH lifting equation provides some assessment utility, although it is limited in some conditions. It can certainly be used to identify specific job-related problems which are a step toward effectively controlling the hazards of low-back injury from manual lifting while at work.

Downloads

Published

2023-12-21