ปัจจัยการบริหารทรัพยากรสาธารณสุขที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดบริการด้านสาธารณสุขให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 6

Health Resource Management Factors Affecting Effectiveness of Public Health Services for Dependent Elderly in the Community of Subdistrict Health Promotion Hospital in Health Region 6

Authors

  • เตือนใจ ลีลาชัย
  • วสุธร ตันวัฒนกุล
  • พัชนา เฮ้งบริบูรณ์พงศ์ ใจดี

Keywords:

ประสิทธิผลการจัดบริการด้านสาธารณสุข, ปัจจัยการบริหาร, ทรัพยากรสาธารณสุข, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพึง, เขตสุขภาพที่ 6, effectiveness of healthcare service, health resource management factor, health resources, dependent elderly, health region 6

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารทรัพยากรสาธารณสุขที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดบริการด้านสาธารณสุขให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากตัวแทนผู้จัดบริการด้านสาธารณสุขให้กับผู้สูงอายุที่ทำงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตสุขภาพที่ 6 จำนวน 252 คน ระหว่างสิงหาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติไคว์สแควร์ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิผลการจัดบริการด้านสาธารณสุขอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.96±0.54) ส่วนปัจจัยการบริหารทรัพยากรสาธารณสุข ได้แก่ ปัจจัยด้านกระบวนการบริหาร (ค่าเฉลี่ย = 3.64±0.57) และปัจจัยด้านทรัพยากรสาธารณสุขอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.42±0.61) โดยปัจจัยด้านกระบวนการบริหาร (r = 0.702, p<0.001) และปัจจัยด้านทรัพยากรสาธารณสุข (0.597, p<0.001) มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการจัดบริการด้านสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งปัจจัยด้านกระบวนการบริหาร ได้แก่ ด้านการวางแผน มีอิทธิพลมากที่สุดเท่ากับ 0.378 และปัจจัยด้านกระบวนการบริหารทั้งด้านการวางแผนและด้านการอำนวยการ และปัจจัยด้านทรัพยากรสาธารณสุขในด้านบุคลากร ร่วมกันทำนายประสิทธิผลการจัดบริการได้ร้อยละ 54.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเขตสุขภาพที่ 6 ควรพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในด้านการวางแผนเชิงระบบ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาบริการด้านสาธารณสุขผ่านเครือข่ายสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อมุ่งไปสู่การจัดบริการสาธารณสุขที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต  The objective of this research was to examine the factors influencing the effectiveness of healthcare services provided to the dependent elderly in the community. Data was collected through a mailed questionnaire from the representative sample of healthcare service providers who working at the Subdistrict health promotion hospital in health region 6 from August to September 2020. The sample consisted of 252 health providers by using the multi-stage random sampling. Data was analyzed using descriptive and inferential statistics, including Chi-square analysis, Pearson correlation analysis, and Stepwise multiple regression analysis. The research findings revealed that the effectiveness of healthcare services was high level (average = 3.96±0.54). Health resource management factors by the administrative factors (average = 3.64±0.57) and the health resources factors (average = 3.42± 0.61) were at the moderate level. Both the administrative factors (r = 0.702, p<0.001) and the health resources factors (0.597, p<0.001) were significantly correlated with the effectiveness of healthcare services. Furthermore, the most influence was the administrative factors as planning dimension was the most effect size at 0.378and factors as administrative factors (planning, director) and health resources factors as personnel were predicting the effectiveness of healthcare services about 54.10% at the statistically significant level of 0.01. Therefore, our suggestions that the relevant organizations, particularly in Health region 6, should enhance the capabilities of their personnel in systemic planning to support the advancement of healthcare services for the dependent elderly through health network management. This aims to achieve healthcare services that align and support with current and future needs.

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการขับเคลื่อนระบบสุขภาพเพื่อรองรับสังคมสูงอายุ ภายใต้แนวคิด “สุขเพียงพอ ชะลอชรา ชีวายืนยาว” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน): 2563.

จีราพร ทองดี และวราภรณ์ บุญเชียง. ระบบการบริการสุขภาพผู้สูงอายุกับ “โมเดลประเทศไทย 4.0”. พยาบาลสาร 2560; 44 (ฉบับที่พิเศษ 1): 138-150.

World Health Organization. Integrated care for older people: Realigning primary health care to respond to population ageing. [อินเทอร์เน็ต]. 2018 [เข้าถึงเมื่อ 7 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก : https://apps.who.int/iris/bitstream/handle /10665/326295/WHO-HIS-SDS-2018.44-eng.pdf

พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 [สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2566]. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 56ก (ลงวันที่ 30 เมษายน 2562).

เจริญรัตน์ บุญที, ประจักร บัวผัน และนพรัตน์ เสนาฮาด. ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2566; 23(2): 159-171.

Kabene SM, Orchard C, Howard JM, Soriano MA, and Leduc R. The importance of human resources management in health care: a global context. Human Resources for Health 2006; 4:20 doi: 10.1186/1478-4491-4-20

จันทณา วังคะออม. การสังเคราะห์การจัดระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุของคลินิกหมอครอบครัวในเขตสุขภาพที่ 6. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2565; 17(2): 56-66.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพ. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2561. [อินเทอร์เน็ต]. 2061 [เข้าถึงเมื่อ 7 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/storage/ownloads/main/ 113/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0% B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A861-re.pdf

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ และเครทซีขมอร์แกน. วารสารสหวิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา 2562; 8(1): 11-28.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น; 2560.

Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice hall. 1977.

AI-Hawary SIS. Human Resource Management Practices as a Success Factor of Knowledge Management Implementation at Health Care Sector in Jordan. International Journal of Business and Social Science 2015; 6(11): 83-98.

พนมวัลณ์ แก้วหีด, ศศิธร ธนะภพ และยุทธนา สุทธิธนากร. การบริหารโครงการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ตำบลท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2559; 11(2): 1-11.

Downloads

Published

2023-12-27