ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ตามหลัก 3อ.2ส. ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

Factors related to hypertension preventive behaviors according to 3E.2S. of the risk group, in a Sub-District, Kabinburi District, Prachinburi Province

Authors

  • อติวิชญ์ เข็มทอง

Keywords:

พฤติกรรมการป้องกันโรค, ความดันโลหิตสูง, 3อ.2ส., กลุ่มเสี่ยง, Preventive Behavior, Hypertension, 3E.2S., Risk Group

Abstract

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงตามหลัก 3อ.2ส. กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่มีอายุ 35-59 ปี มีความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 120/80–139/89 mmHg. เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ปฏิบัติถูกต้อง 4-5 ครั้ง/สัปดาห์) แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติเป็นประจำ และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัย พบปัจจัยนำส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. (X2= 9.10, 34.46) ตามลำดับ ปัจจัยนำตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ 4 ประการ ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ในระดับน้อยมาก (r=0.14) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของความรุนแรงโรคมีความสัมพันธ์ในระดับน้อยมาก (r=0.14) การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตนตามพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีความสัมพันธ์ในระดับน้อย (r=0.38, 0.22) ตามลำดับ และปัจจัยเอื้อมีความสัมพันธ์ในระดับน้อย (r=0.28) ส่วนปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r=0.59) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยข้างต้นแสดงให้เห็นว่าประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ที่ยังต้องมีการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้องเป็นประจำ ในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น และทีมบริการสุขภาพสามารถพิจารณาเลือกปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพในแต่ละระดับ ไปปรับใช้สำหรับการจัดโครงการ หรือพัฒนาระบบสุขภาพในประเด็นที่เกี่ยวข้องได้  This cross-sectional descriptive research aimed to study the relationship of predisposing, enabling, and reinforcing factors influencing the hypertension preventive behaviors according to 3E.2S. The samples consisted of people aged 35-59 years old with their blood pressure of 120/80-139/89 mmHg. The research tool was a questionnaire. Data were analyzed by using Average, Chi-square, and Pearson Product Moment Correlation. The results showed that the overall practice of health behaviors according to 3E.2S. was at the high level (practiced correctly 4-5 times/week), but not practiced regularly. When studying the relationship of factors, the predisposing factor, the health behaviors under 3E.2S. principle (X 2= 9.10, 34.46) respectively. The predisposing factor in terms of health belief model showed the Perceived Severity and the Perceived Susceptibility of hypertension were correlated at a low level (r=0.14). the Perceived Benefits and Barriers of the proper practice of health behaviors under the 3E.2S. principle were correlated at a low level (r=0.38, 0.22) respectively. The enabling factor was correlated at a low level (r=0.28). The reinforcing factor was correlated at a moderate level (r=0.59). Basing on the above findings, the risk group had the health behaviors under the 3E.2S. principle that still need to be promoted on a regular basis during the Coronavirus 2019 pandemic moving to endemic approach.  In addition, the health service team can select factors that correlated with health behaviors at each level to be applied for project management or health system development on relevant issues.

References

กรมควบคุมโรค. รูปแบบการบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสุขศึกษา. [อินเตอร์เน็ท]. 3อ.2ส.เคล็ดลับสุขภาพดีของวัยทำงาน. [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/information/211

กรมอนามัย. [อินเตอร์เน็ท]. กลุ่ม 608 คือกลุ่มคนที่ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโควิด - 19 มากที่สุด. [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph.go.th/anamai-toons/covid-vaccine-4/

จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์. โรคความดันโลหิตสูง. ใน วิทยา ศรีมาดา (บ.ก.), ตำราอายุรศาสตร์ 4 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์, พัชรี ศรีกุตา, ขวัญภิรมย์ ชัยสงค์, พรธีรา สังคะลุน, วัชราพร แกล้วกล้า, สมพร กลางนอก, สุจิตรา ละครชัย. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงตำบลหนองไข่น้ำอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการการงานวิจัยใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน 2559; 3(3), 378.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2538.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2545.

ยุพาวดี แซ่เตีย. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา; 2564.

วรรณกร พลพิชัย, และจันทรา พลพิชัย. คุณภาพชีวิต แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของชาวประมงในจังหวัดตรัง(รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย; 2561.

วานิช สุขสถาน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรค ความดันโลหิตสูงภายใต้นโยบาย หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2561; 4(3), 1.

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี. [อินเตอร์เน็ท]. รายงานการคัดกรองและเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง. [เข้าถึงเมื่อ 8 กรกฎาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: http://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี. [อินเตอร์เน็ท]. รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอก เมษายน 2564 จังหวัดปราจีนบุรี. [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://pri.moph.go.th/news/98-covid-19/771

อมรรัตน์ ลือนาม. ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่และสถานภาพเศรษฐกิจและสังคมที่มีความ สัมพันธ์ต่อการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2565.

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ, จิดาภา ศรีอรุณ, นามิต้า ฉาดหลี, ฐิติพร จันทร์พร, อนงค์ จันทร์เพิ่ม, ชุลีพร ไชยสุนันท์ และสมฤดี พุ่มโพธิ์ทอง. แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางสมัคร อำเภอบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. บทความวิจัยสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย; 2561.

อังคณา กันใจแก้ว. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของประชาชนที่มาออกกำลังกายสวนสาธารณะหนองบวกหาด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2562.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น และ ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานา วิทยา; 2554.

Chen, N. S., Zhou, M., Dong, X., Qu, J. M., Gong, F. Y., Han, Y., Qiu, Y., Wang, J. G., Liu, Y., Wei, Y., Xia, J. A., Yu, T., Zhang, X. X.,. .Zhang, L. [Internet]. Epidemiological and clinical characteristics of 99 cases of 2019 novel coronavirus pneumonia in Wuhan, China: a descriptive study. 2020 [Cited 13 July 2022] Available from: https://www.thelancet.com/action/showPdf?pii=S0140-6736%2820%2930211-7

Little, R. J. A., & Rubin, D. B. Statistical analysis with missing data (2nd ed.). New York: John Wiley & Sons; 2002.

Ministry of Public Health2. [Internet]. Prevention COVID-19: Omicron Update6.2021 [Cited 10 July 2022] Available from: https://moph.go.th (in Thai).

Pender J. Health promotion in nursing practice. Norwalk: Appleton & Lange; 1996.

Prasanna Mithra Parthaje. [Internet]. Prevalence and correlates of prehypertension among adults in urban south india. 2019 [Cited 21 December 2022] Available from: https://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/1010539515616453

Wexler, R., & Aukerman. Non-pharmacologic strategies for managing hypertension. American Family Physician; 2561, 73, 1953-1956.

World Health Organization. [Internet]. A global brief on hypertension Silent killer, global public health crisis. 2013 [Cited 21 July 2022] Available from: http://www.who.int/cardiovascular_diseases/publications/global_briefhypertension/en/

World Health Organization. [Internet]. Cardiovascular diseases (CVDs). 2021 [Cited 21 July 2022] Available from: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds)

Downloads

Published

2023-12-27