ประสิทธิผลโปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำต่อการรับรู้และการปฏิบัติตนตามสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองของผู้มีความดันโลหิตสูงในจังหวัดนครนายก

The Effectiveness of Learning by Doing in Perception and Practice of Stroke Warning Signsamong Hypertensive People in Nakhon Nayok Province

Authors

  • สุเพ็ญลักษณ์ พวยอ้วน

Keywords:

ประสิทธิผล, โปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำ, การรับรู้และการปฏิบัติตนตามสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้มีความดันโลหิตสูง, The Effectiveness, Learning by Doing program, Perception and Practice of Stroke Warning Signs, Hypertensive people

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental design research) ชนิด 2กลุ่ม (two group pre - post test design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำ (Learning by doing) ที่ทำให้เกิดการรับรู้ต่อสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองที่ดีและถูกต้องส่งผลให้ผู้มีความดันโลหิตสูงสามารถปฏิบัติตนตามสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีความดันโลหิตสูง จำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 50 คนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำ 4 ขั้นตอน คือ 1) ประเมินผู้เรียน 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) ตั้งเป้าหมายและวางแผน การปฏิบัติตนด้วยเทคนิค AIC 4) ฝึกปฏิบัติจริงจนเป็นทักษะ กลุ่มควบคุมได้รับบริการและสื่อต่าง ๆ จากสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขตามปกติ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน pair t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ต่อสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองทั้ง 5 อาการ คือ 1) อาการชาหรืออ่อนแรงของใบหน้าแขนขา 2) อาการสับสน พูดไม่ชัด 3) อาการมองไม่ชัด ตามัว 4) อาการมึนงง เวียนศีรษะ เดินเซ 5) อาการปวดศีรษะรุนแรง  อยู่ในระดับมากที่สุดเพิ่มขึ้น จาก 3.60 เป็น 4.73 และเพิ่มมากขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม ส่งผลให้กลุ่มทดลองสามารถปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการตามสัญญาณเตือนฯ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีค่าคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตนตามสัญญาณเตือนฯ เพิ่มมากขึ้นจาก 12.08 เป็น 22.50 และเพิ่มมากกว่ากลุ่มควบคุม และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< 0.05) สรุปได้ว่าโปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำเป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิผลเพราะทำให้ผู้มีความดันโลหิตสูงเกิดการรับรู้ที่ดีและส่งผลให้เกิดการปฏิบัติตนตามสัญญาณเตือนฯ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมจึงควรนำโปรแกรมการเรียนรู้โดยการกระทำนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  This quasi-experimental design research (two group pre-post test design) aimed to study the effectiveness of learning by doing program that caused good and accurate awareness of stroke warning signs and enable people with high-risk hypertension to properly follow the stroke warning signs. The sample consisted of 100 hypertensive people, 50 person for the experimental group and 50 person for the control group. The experimental group received a 4-step action based a learning by doing program: 1) assessing the learners, 2) conducting workshops, 3) setting goals and planning actions using AIC techniques, and 4) practicing hands-on skills. The control group received services and media from medical and public health facilities as usual. The data were analyzed by among Percentage, Average, Standard Deviation, Pair T-test, and T-test. The results of the research showed that after the experiment, hypertension people in the experimental group had an average score towards the perception on all 5 stroke warning signs (1. numbness or weakness of the face or limbs, 2. confusion or slurred speech, 3. blurry vision, 4. dizziness or staggered walking, and 5. severe headache) at a higher level from 3.60 to 4.73 and also increased more than the control group, resulting in the experimental group being able to behave properly when following the stroke warning signs and the average score increased from 12.08 to 22.50 and was more than the control group with a statistically significant of p < 0.05. It can be concluded that the learning by doing program was effective because it provided a good learning and an accurate following of stroke warning signs.  Therefore, a learning by doing program should be applied into health promotion activities and diseases prevention of various public health agencies, especially the Subdistrict health promoting hospital.

References

นิพนธ์ พวงวรินทร์. (2544). โรคหลอดเลือดสมอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองโลก หรือวันอัมพาตโลก 2565 เน้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองให้กับประชาชน. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 เข้าถึงได้จาก https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/02/180623 (วันที่ค้นข้อมูล 28 สิงหาคม 2565)

พรชัย จูลเมตต์. (2565). การพยาบาลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

รพีภัทร ชำนาญเพาะ, หทัยรัตน์ แสงจันทร์ และ ทิพมาส ชิณวงศ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การมีอาการ การจัดการอาการ และความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 40(1), 140-153.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2552). แนวปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการจัดบริการ คัดกรองและเสริมทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสียงลดโรคไม่ติดต่อในสถานบริการและในชุมชน, กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ด้านสาธารณสุข จังหวัดนครนายก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2579 (ทบทวนปี 2565) และแผนปฏิบัติการด้านสุขภาพประจำปี 2565. วันที่ค้นข้อมูล 20 สิงหาคม 2565, เข้าถึงได้จาก ttps://nayok.moph.go.th › law › uploads › 2022/08

Puayun S, Jiraro P and Phusaphakdeepop J. (2022). Perception of stroke warning sign among hypertensive patients in Khao Pra Subdistrict, Mueang District, Nakhon Nakok Province.Int. j.adv.multidisc.res.stud.2022; 2(2):62-68.

Dewey J. (1960). John Dewey's Theories of Education. International Socialist Review, VOL.21, No.1.

พงศ์เทพ จิระโร. (2564). วิจัยทางสุขภาพ. ชลบุรี: บัณฑิตเอกสาร.

สมชาย หิรัญกิตติ. (2560). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

Downloads

Published

2023-12-27