ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการจัดอาหารแก่เด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
Factors related to food handling practices of the parents to the preschool children at the children development centers in a administrative organization, Kabin buri district, Prachinburi province
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมกับการปฏิบัติในการจัดอาหารให้กับเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ที่อยู่ในความดูแลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกับเด็ก และมีหน้าที่ในการจัดอาหารแก่เด็กรับประทานที่บ้าน จำนวน 236 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยประยุกต์ตามกรอบ PRECEDE Model ของ กรีนและกรูเตอร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และไคสแควร์ ผลการวิจัยพบกลุ่มตัวอย่างเป็นแม่ของเด็ก ร้อยละ 50.42 เป็นย่าและยาย ร้อยละ 32.63 มีค่าคะแนนเฉลี่ยปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้ อยู่ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ย = 7.03) ความเชื่ออยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.60) ทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.16) ค่านิยมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย= 3.16) ส่วนปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.68) และปัจจัยเสริม อยู่ในระดับ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.89) ด้านการปฏิบัติในการจัดอาหารให้กับเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.12) เมื่อนำมาหาความสัมพันธ์พบปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความเกี่ยวพันกับเด็ก อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและครัวเรือน ปัจจัยนำด้านความรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการจัดอาหารให้กับเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.01 ข้อมูลความสัมพันธ์นี้สามารถนำเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาพฤติกรรมการปฏิบัติในการจัดอาหารให้กับเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองได้อย่างมีประสิทธิผล เพราะเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุที่ครอบคลุมทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคล This cross-sectional survey research aimed to study the relationship between Personal factors, Predisposing factors, Enabling factors, and Reinforcing factors towards food handling practices of the parents to the preschool children under the care of the Child Development Centers in a Sub-district Administrative Organization. The samples were 236 parents who lived in the same house as the children and were responsible for handling food to the children at home. The research instrument was a questionnaire created by the researcher based on the theoretical framework of PRECEDE Model of Green and Krueter. The applied statistics were frequency distributions, percentages, means, standard deviations, Pearson correlation coefficient, and Chi-square. The results showed that the samples who were mothers of the children (50.42%), paternal grandmothers and maternal grandmothers (32.63%) had Predisposing factors in terms of knowledge at a low level (average = 7.03), beliefs at a high level (average = 3.60), attitudes at a moderate level (average = 3.16) as well as values at a moderate level (average = .16). Enabling factors were at a high level (average = 3.68) and Reinforcing factors were at a moderate level (average = 2.89). The level of food handling practices of the parents to the preschool children was moderate (average = 3.12). When considering the relationship, it found that Personal factors included affiliation with children, age, education level, occupation, average monthly income and household and Predisposing factors included knowledge, beliefs, attitudes, and values had a relationship with food handling practices of the parents to the preschool children at the confidence level of 0.01. This correlation data can be used as a database to develop parents' behavior in food handling practices to the preschool children effectively because this research analyzed both internal and external causes.References
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. กลยุทธ์เสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2561.
กุลนิดา เต็มชวาลา. (อินเตอร์เน็ต). พัฒนาการของเด็กวัยอนุบาล ที่พ่อแม่ควรทำความเข้าใจ. (เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565) เข้าถึงได้จาก: https://www.nakornthon.com/article/getpagepdf/326
จิรภาภรณ์ ปัญญารัตนโชติ, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และสมสมัย รัตนกรีฑากุล. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560);25(2):43-56
จิราภา สุวรรณกิจ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหก. 2565;31(2):81-94
จิรารัตน์ พร้อมมูล, ตรีทิพย์ เครือหลี, ชุติมา เพิงใหญ่ และ วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ. ศึกษาสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน โดยมีครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561;5(3):169-185.
จุไรรัตน์ วัชรอาสน์. (อินเตอร์เน็ต). โภชนาการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน. (เข้าถึงเมื่อ 13 กรกฎาคม 2565) เข้าถึงได้จาก:จาก http://164.115.41.60/excellencecenter/?p=166
ชัญญานุช ไพรวงษ์, ศุภรดา โมขุนทด, พรทิพย์ แก้วชิณ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรที่มีภาวะโภชนาการเกินในตำบลโนนตูม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 2565;14(2):90-20.
ณรงค์ชัย หัตถี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นตอนต้น อำเภอสอยดาวจังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553
ณัฐธวัลย์ เพ็งแจ่ม, ศุภรดา โมขุนทด, วันฉัตร โสฬส, วัลญา ขันพลกรัง, ดิเรก กลุ่มค้างพลู, ชลนิชา หอมสุวรรณ, ศันสนีย์ อินทะเสน, สัมฤทธิ์ หรั่งมา, พิชญานนท์ เผือกมะหิงษ์, บัณฑิตา ขุนภักนา และภารวี ตรีรัตนกุลพร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6. 2562;941-949.
นรลักขณ์ เอื้อกิจ, ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODELในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2562;12(1):38-48.
ประไพพิศ สิงหเสม, ศักรินทร์ สุรรณเวหา, อติญาณ์ ศรเกษตริน. การส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4(3):226-235.
วิจิตรา อิ่มอุระ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. ปัจจัยทำนายภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2562;27(1):1-12.
วีรวัลย์ ศิรินาม. ปัจจัยทมี่ผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด เทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2561.
สมสิริ รุ่งอมรรัตน์, อาภาวรรณ หนูคง, ณัฐธิรา ไกรมงคล, รุ่งรดี พุฒิเสถียร. การนำแนวทางการส่งเสริมโภชนาการไปใช้ในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารสภาการพยาบาล. 2560;32(4):108-120.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในคลินิกสุขภาพเด็กดี สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2558.
สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. (อินเตอร์เน็ต). PRECEDE - PROCEED Model. (เข้าถึงเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565) เข้าถึงได้จาก: http://hepa.or.th/assets/ file/conference/...pdf
Green, L.W., Krueter, M.W. Health Promotion Planning An Education and Ecological Approach. 4th ed. Toronto: Mayfield Publishing Company; 2005.
Hamzavi Zarghani N, Ghofranipour F, Mohammadi E, Cardon G. (Internet). Understanding the perceptions of parents and preschool principals on the determinants of weight management among Iranian preschoolers. A directed qualitative content analysis. Butler É, editor. PLOS ONE. 17(6):e0270244. (Cited 13 July 2022) Available from: http://dx.doi.org/ 10.1371/journal.pone. 0270244