พฤติกรรมเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายทางกายภาพและเคมีของพนักงานโรงงานหลอมโลหะ จังหวัดชลบุรี

Behaviors at Risk of Causing Accidents and Hazards in a Smelting Industry

Authors

  • นันทพร ภัทรพุทธ
  • เสรี สุวรรณรัตน์

Keywords:

พฤติกรรมเสี่ยง, โรงงานหลอมโลหะ, อุบัติเหตุจากการทำงาน, อันตรายทางกายภาพและเคมี, risk behavior, smelting industry, accidents, physical and chemical hazards

Abstract

การศึกษารูปแบบพฤติกรรมเสี่ยง และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายต่อพนักงานโรงงานหลอมโลหะ ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณโดยการเก็บข้อมูลด้วยเทคนิคการสังเกตพฤติกรรมการทำงานและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกทั้งรายบุคคลและกลุ่มย่อยของผู้ให้ข้อมูลสำคัญชายและหญิงรวม ๕๖ คนจากฝ่ายผลิตของโรงงานหลอมโลหะ ๒ แห่งที่มีบริบททางสังคมและวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกันผลการวิจัยแสดงว่าโรงงานนอกนิคมอุตสาหกรรมฯ มีการบริหารงานเชิงอำนาจที่มีการประนีประนอมความพันธ์ระหว่างนายจ้าง - ลูกจ้างเป็นแบบอุปถัมภ์, กรอบนโยบายการบริหารความปลอดภัยดำเนินการโดยผู้บริหารโรงงาน, การสร้างระบบความปลอดภัยในโรงงานเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป. ส่วนโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมฯ มีวัฒนธรรมการบริหารองค์กรอิงวัฒนธรรมญี่ปุ่นผสมตะวันตก ที่ใช้กฎระเบียบเป็นหลักการบริหาร,ลักษณะความสัมพันธ์ในที่ทำงานเป็นแบบลูกพี่-ลูกน้อง หรือผู้ใหญ่-ผู้น้อย, กรอบนโยบายความปลอดภัยหลักถูกกำหนดจากบริษัทแม่ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติ, การดำเนินงานด้านความปลอดภัยมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) เป็นแกนนำ; อุบัติเหตุจากการทำงานส่วนใหญ่เกิดจากเศษเหล็กเข้าตา ร้อยละ ๓๔, รองลงมา วัตถุชนกระแทก ร้อยละ ๑๘, และของมีคมบาด ร้อยละ ๑๔ ตามลำดับ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดอุบัติเหตุและการรับสัมผัสอันตรายทั้งเชิงกายภาพและเคมื คือ พฤติกรรมการทำงานและสุขอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่ การนอนหรือนั่งงีบในที่ทำงาน ร้อยละ ๗๓ ซึ่งพบบ่อยที่สุด, รองลงมา ได้แก่ การพูดคุย หยอกล้อกับเพื่อนร่วมงานในขณะทำงาน ร้อยละ ๓๖, การบริโภคอาหาร / ขนม หรือน้ำดื่มในบริเวณโรงงาน ร้อยละ ๒๕, ฟังวิทยุในขณะทำงาน ร้อยละ ๒๓, สูบบุหรี่ในที่ทำงาน ร้อยละ ๒๐, และการทำงานขณะที่ยังไม่สร่างเมาหรือง่วงนอน ร้อยละ ๑๑ ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงในที่ทำงาน ได้แก่ ความร้อนจากการหลอม, เสียงดัง, และลักษณะงานที่ต้องยืนและยกของหนัก, การทำงานล่วงเวลาที่ยาวนานเป็นปัจจัยเอื้อการเกิดอุบัติเหตุและรับสัมผัสอันตรายได้มากขึ้น, ความเคยชินต่อความร้อน, เสียงดัง, ฝุ่นและฟูมของสารเคมี และ/หรือระยะเวลาการก่อโรคที่ยาวนานก่อนแสดงอาการอันเนื่องจากการรับสัมผัสฝุ่น/สารเคมี รวมถึงอาการแพ้ฝุ่น/ไอระเหยที่เกิดขึ้นในระยะแรกแล้วหายไป เป็นปรากฏการณ์การปรับตัวต่อสิ่งอันตรายในที่ทำงานของพนักงาน อุปสรรคที่สำคัญสำหรับการป้องกันอุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน คือ การไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตราย, การรู้แต่ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติแต่ไม่สม่ำเสมอ อันเนื่องมาจากนิสัยและความเคยชิน, รวมถึงการที่ผู้บริหารสูงสุดของโรงงานไม่ให้ความสำคัญกับงานด้านความปลอดภัยมากเท่าที่ควร  ลักษณะองค์กรของพนักงานในโรงงานหลอมโลหะ เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนทำงาน แต่ละวัยแต่ละบุคคลต่างมีความคิด ความเชื่อที่แตกต่างกันออกไป ความสนใจและใส่ใจด้านสุขภาพและความปลอดภัยจึงเป็นความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล ดังนั้นการลดพฤติกรรมเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุและการรับสัมผัสอันตรายของพนักงาน และเพื่อส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยในที่ทำงาน จึงจำเป็นต้องพัฒนาโปรแกรมการสร้างความเข้าใจด้านสุขภาพและความปลอดภัย อันเป็นการปรับโครงสร้างวัฒนธรรมและสังคมขององค์กรที่เอื้อให้พนักงานมีส่วนร่วมในการสร้างให้เกิดความปลอดภัยในองค์กร โดยมีหน่วยงานจากภาครัฐและนายจ้างให้การสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนา Patterns of risk behavior and factors favoring accidents and hazards were studied among 56 workers involved in a smelting industry. Qualitative and quantitative approaches were used as the methods of study. Data were collected through observation and in-depth interviews, with individuals and groups of administrators, safety personnel and workers as key informants according to the sex respondents and their work section in the production division of the two factories, which were socially and culturally different. The study revealed that the factory located outside an industrial estate had a supportive relationship between administrators and workers. Management of the organization was the compromising executive power. Safety policy was created only by administrators and the safety system was implemented slowly. While the industrial estate factory had a Japanese and Western-style administrative culture, which used rules and regulations for management, the relationships in the workplace were based on seniority and position. The main safety policy had been influenced by the mother-company, an international company; safety procedures were governed by the safety officer as leader.  Major accidents in the workplace were caused by iron scrap flying into the eyes (34%), crashing (18%) and cutting/slashing (14%), respectively. The main risk factors for accidents and hazardous exposure, both physical and chemical, were working behavior and personal hygiene.  The frequency of various behaviors were as follows: resting (sleeping or napping) in the workplace, 73 per cent; kidding among colleaques while working, 36 per cent; eating in the workplace, 25 per cent; listening to the radio or other audio sources, 23 per cent; smoking in the workplace, 20 per cent; and experiencing a hang-over or being sleepy while working, 11 per cent. Factors affecting risk behavior in the workplace were heat, noise and work type/pattern (standing for the entire time of working, heavy lifting, and shortage of time). Work duration was also a risk factor that increased the chances of an accident or hazardous exposure. There appeared to be adaptation to hazards in the workplace, as workers became familiar with heat, noise, dust and chemical fumes, or chemical exposure; these did not produce adverse acute effects.  Major aspects in the prevention of accidents and hazards included (1) the non-use of the provided personal protective devices, (2) irregular safety behavior despite general knowledge of danger, and (3) the lack of significant contributions from and concern for safety among the upper-level administrators.  Within the organization of factories, there are individuals with different notions, beliefs, and thus attention to, or interest in, the health and safety of workers.  On reducing risk behaviors for accidents and hazard exposure among workers and to promote a safety culture in the workplace, a program is needed to develop and promote understanding of health and safety. Such a program should focus on adapting the social and cultural structure of an organization to give workers a role in creating safety in the workplace. The support of the governments and employers is also needed for maintaining the continuous development of safety.

Downloads

Published

2023-12-26