พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคมาลาเรียของแรงงานต่างด้าวในเขตชายแดนไทย – พม่า

Personal Behaviors of Malaria Prevention among Foreign Migrants along Thai-Myanmar Border

Authors

  • พัชนา เฮ้งบริบูรณ์พงศ์
  • ณรงศักดิ์ หนูสอน
  • ชัชวาล จันทรวิจิตร
  • ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์
  • ไพจิตร ปวะบุตร
  • อรพิน กฤษณเกรียงไกร

Keywords:

พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคมาลาเรีย, แรงงานต่างด้าว, คนงานพม่า, รูปแบบจำลอง PRE- CEDE, labor migrant, PRECEDE Model

Abstract

โรคมาลาเรียเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พื้นที่ชายแดนไทย - พม่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการแพร่ระบาดของโรคคือ การเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของประชากร การศึกษานี้มีวัตถุ ประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคมาลาเรีย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเอง โดยการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากกลุ่มแรงงานต่างด้าวในจังหวัดตาก จำนวน ๗๗๐ คน ในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๐ แล้ววิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคมาลาเรียตามแนวคิดรูปแบบจำลอง PRECEDE ด้วยสถิติไฆ-สแควร์ และสถิติสหสัมพันธ์แบบ Pearson's Product Moment Correlation. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุช่วง ๑๔-๓๐ ปี และไม่ได้รับการศึกษา ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารคือภาษาพม่าแรงงานส่วนใหญ่มีการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคมาลาเรียอยู่ในระดับสูงเพียง ร้อยละ ๒๙.๖. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคมาลาเรีย พบว่าการได้รับข้อมูลข่าวสาร, ทัศนคติเรื่องการป้องกันตนเองจากโรคมาลาเรีย, การสนับสนุนทรัพยากรในการป้องกันโรคมาลาเรียและความรู้เรื่องโรคมาลาเรียมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคมาลาเรีย (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r)= ๐.๔๙๓, ๐.๔๔๒, ๐.๔๓๒ และ ๐.๓๒๔ ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๕ ส่วนการเข้าถึงบริการสาธารณสุขมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคมาลาเรีย (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = ๐.๑๑๔) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ผู้วิจัยแนะว่าสำหรับการเพิ่มพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคมาลาเรีย ควรเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและจัดโปรแกรมสุขศึกษาในการให้ความรู้ และเพิ่มช่องทางในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคมาลาเรียให้แก่แรงงานต่างด้าวในระยะยาว  Malaria is the world's most prevalent vector-borne disease. In Thailand, one of the factors contributing to the reemergence and drug resistance of malaria is the migration of peoples from neighboring countries. Migrants have experienced life a in a high-risk area, poor socioeconomic status, and poor hygienic practices.  The purpose of this research was to study the malaria-protection behaviors and the factors influencing upon these behaviors among migrants. A total of 770 Burmese migrants who Live in Tak Province, Thailand were taken for this study. Questionnaires developed from the PRECEDE model were used; they had been tested for validity and reliability. Factors evaluated include demographics, attitude and knowledge pertaining to malaria prevention, accessibility of information and the health care systems. Personal protective behaviors measured include using bed net; using repellent and wearing proper clothing. Data obtained were analyzed focusing on the relation between predisposing factors, enabling factors and reinforcing factors, using Chi-square and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient.  The results revealed that many of the subjects had moderate or low malaria personal levels of protective behaviors. It was found that accessibility to information, attitudes, equipment support and knowledge about malaria were significant for persons protective behaviors in the moderate positive level (r = 0.493, 0.442, 0.432 and 0.324, p<0.05). Accessibility to health care service was significantly related to malaria personal protective behaviors in the low positive level (r = 0.114, p<0.05). Accessibility to health care service and educational programs to promote personal protective behaviors should be conducted for the migrants in order to control malaria for the long term.

Downloads

Published

2023-12-26