มือที่สามของนักศิลปกรรมบำบัด การสะท้อนให้เห็นถึงศิลปะ ศิลปกรรมบำบัด และสังคมทั่วไป

The Art Therapist's Third Hand: Reflection on Art, Art Therapy and Society at Large

Authors

  • นันทรัตน์ เจริญกุล
  • เลิศศิริร์ บวรกิตติ

Keywords:

ศิลปะบำบัด, ศิลปะ, art, art therapy, society, alienation, art therapist's third hand

Abstract

ในบทนี้ข้าพเจ้าจะกล่าวเกี่ยวกับรายละเอียดของประเด็นและเรื่องราวด้านศิลปะและศิลปกรรมบำบัด ที่ข้าพเจ้าสนใจตลอดมา นั่นก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะ ศิลปกรรมบำบัด และสังคมโดยทั่วไป ซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกกล่าวถึง “มือที่ ๓”; ส่วนที่ ๒ “การทำให้ห่างเห็น หรือความแปลกแยกแตกต่างและศิลปกรรมบำบัด”; ส่วนที่ ๓ ได้แก่ “การสื่อสารเชิงภาพกับการทรยศตัวเอง” บทนี้แบ่งออกเป็น ๓ ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกกล่าวถึง "มือที่สาม" ซึ่งเป็นคำอุปมาที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่ออธิบาย  ขอบเขตการทำงานของนักศิลปกรรมบำบัด ผู้ซึ่งใช้ความรู้ความสามารถและจินตนาการในการให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจ และในการเข้าถึงจิตใจผู้อื่น ข้าพเจ้าได้นำตัวอย่างของความสำเร็จและความล้มเหลวของการใช้มือที่สามในห้องปฏิบัติการมาเสนอ  การพิจารณาอุปสรรคที่ขัดขวางความพยายามช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความช่ำชองและความเข้าใจเห็นอกเห็นใจผู้อื่นนำไปสู่เรื่องราวต่าง ๆ ที่กล่าวถึงในส่วนที่ ๒ ซึ่งมีหัวข้อว่า "การทำให้ห่างเหินและศิลปกรรมบำบัด (Alienation and art therapy)" การค้นคว้าวิจัยของข้าพเจ้ามุ่งที่ความเป็นอุตสาหกรรมที่ฝังลึกในสังคมของพวกเรา ที่ส่งผลกระทบศิลปิน นักบำบัด และผู้ป่วยในลักษณะเดียวกัน ซึ่งบั่นทอนโอกาสของมนุษย์ในการทำกิจกรรมเชิงก่อ ที่ยืนยันความรู้สึกเป็นอิสรภาพและความเป็นตัวของตัวเองของพวกเขา สภาพเหล่านี้ก่อให้เกิดความรู้สึกที่แผ่ซ่านไปทั่วว่าไม่เป็นตัวของตัวเอง และห่างเหินจากตัวตนที่แท้จริงในระดับหนึ่ง นอกเหนือจากการแต้มเติมสีสันให้กับลักษณะของการรบกวนหรือการรบเร้าทางจิตวิญญาณซึ่งแพร่ขยายไปทั่วสังคมอุตสาหกรรมตะวันตกแล้ว การทำให้ห่างเหินหรือผิดแผกไปจากตัวตนที่แท้จริงก็ยังมีอิทธิพลต่อลักษณะของศิลปะร่วมสมัยด้วย ในการนี้ ข้าพเจ้าจะอภิปรายถึงผลของการห่างเหินของโลกยุคใหม่ที่ แทรกแซงความสามารถของนักศิลปกรรมบำบัดที่ สื่อสารด้วยภาพแสดงความเข้าใจเห็นอกเห็นใจกัน  การสืบสาวถึงอิทธิพลของสภาพทางสังคมที่มีต่อการประกอบวิชาชีพของนักศิลปกรรมบำบัดนำไปสู่ส่วนที่ ๓ อันได้แก่ "การสื่อสารเชิงภาพกับการทรยศตัวเอง" ในส่วนนี้มีกรวิพากษ์ภาพลักษณ์บางอย่างซึ่งมุ่งเสริมเติมแต่งการสื่อสารในวิชาชีพศิลปกรรมบำบัดที่ออกสู่สายตาของสาธารณชนทั่วไป ดังตัวอย่างที่นำมาจากภาพวาดสะสมที่มีอยู่เกลื่อนตาซึ่งแสดงถึงการทรยศตัวเอง เพื่อแสดงถึงอิทธิพลการห่างเหินของสังคมต่อนักศิลปกรรมบำบัด  ข้าพเจ้าได้สรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีและแนวทางในการฝึกฝนมือที่สาม และแนะนำว่าการฝึกจำต้องมีการปลูกฝังให้เกิดความตระหนักถึงพลังสังคมที่ทั้งสร้างสรรค์และบิดเบือนภาษาที่สื่อด้วยภาพของพวกเรา  This paper was translated and edited from the article chapter 7 in the book entitled “Art as Therapy" by Edith Kramer. The paper theoretically encompasses issues and contexts with regard to evolving art and art therapy practices in relation to society, and describes limitation and imaginations circumventing the art therapist. Respectively, the 'Third Hand' is coiled as a metaphor to describe an area of the art therapist's functioning wherein artistic competence and imagination are employed in the art therapy service of others; Alienation and art therapy' is also discussed based on the social conditions that affect artist, art therapist and patients, while the last part "Pictorial communications and self-betrayal' is a critical view toward the images of the profession of art therapy communications to the public at large.

Downloads

Published

2023-12-26