โรคทางออร์โธปิดิคส์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

Work – related Orthopedic Diseases

Authors

  • วัฒนชัย โรจน์วณิชย์

Keywords:

โรคทางออร์โธปิดิคส์, การทำงาน, orthopedic disease, work, exercises, decompression

Abstract

โรคทางออร์โธปิดิคส์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานมีหลากหลาย ในบทความนี้กล่าวถึงโรคปวดหลังที่พบบ่อย ซึ่งแทบจะกล่าวได้ว่าคนทำงานครึ่งหนึ่งเคยมีอาการปวดหลังอย่างน้อย ๑ ครั้งตลอดช่วงอายุขัย สาเหตุที่เกิดจากภาวะเค้นที่หลัง รักษาได้ด้วยวิธีอนุรักษ์ การตรวจร่างกายอย่างละเอียดยังคงมีบทบาทสำคัญในด้านการวินิจฉัยอาการปวดหลังทั่วไปมักหายได้ภายใน ๑ เดือน ผู้ที่มีพยาธิสภาพที่หมอนรองข้อปูดกดทับเส้นประสาทนั้น มีจำนวนหนึ่งต้องอาศัยวิธีผ่าตัดรักษา ซึ่งในปัจจุบันเทคนิคการผ่าตัดได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด บาดแผลผ่าตัดเล็กลงมาก และมีเครื่องมือพิเศษช่วยในการทำผ่าตัดมากขึ้น  หลักสำคัญในการป้องกันโรคปวดหลังคือต้องควบคุมน้ำหนักตัว หมั่นฝึกออกกำลังกายโดยเน้นการ บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลัง นอกจากนี้การปรับสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับหลักการยศาสตร์ และไม่หักโหมหรือเคลื่อนไหวอย่างผิดท่า กลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือ, de Quervain's tenosynovitis, ภาวะนิ้วติดล้วนเป็นภาวะที่มักเกิดจากการใช้มือเกินไป การรักษามีทั้งวิธีอนุรักษ์และวิธีผ่าตัด ในเชิงพยาธิสภาพ ทั้ง de Quervain's tenosynovitis และภาวะนิ้วติดต่างมีลักษณะพิเศษที่เอ็นลอดผ่านปลอกหุ้ม, รอยโรคมีส่วนคล้ายคลึงกันคือ พบว่ามี มีการงอกเกินของเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณผิวหน้าแผ่นเนื้อพังผืดที่เป็นผิวไกลครูด และมีการเสียดสี การผ่าตัดเปิดปลดปล่อยรอยบีบรัดให้ผลการรักษาดีและแน่นอนกว่า  งานอาชีพทั้งเบาและหนักจำเป็นต้องพึ่งพามือในการประกอบกิจกรรม การเปลี่ยนแปลงที่ผิวหนังตลอด จนเล็บ มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานอาชีพบางประเภท ผู้ที่สัมผัสกับสัตว์เลี้ยงต้องระวังเรื่องโรคติดเชื้อร่วมด้วย  Common orthopedic diseases related to certain work include back pain, carpal tunnel syndrome, occupational hand lesions, de Quervain’s tenosynovitis, and trigger finger. Most workers with back pain recover within one month. Strengthening and stretching exercises can prevent further recurrence of back pain. Some patients may need to perform stabilization exercises, Surgical interventions are reserved for those who fail conservative treatment. Carpal tunnel syndrome should be carefully evaluated. Negative electromyography (EMG) and nerve conduction velocity (NCV) study are not exclusion criteria for capal tunnel syndrome. Similar pathological changes are found at the gliding surface in cases of de Quervain tenosynovitis and the A1 pulley in trigger finger. Operative decompression helps to relieve pain and numbness, and restore motion in these conditions.

Downloads

Published

2023-12-27