การศึกษาสำรวจการใช้อุปกรณ์ป้องกันหูผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม

Factors Affecting the Use Protective Hearing Devices among Workers in an Industrial Plant in Chon Buri Province

Authors

  • ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
  • ถิรพงษ์ ถิรมนัส
  • อนามัย ธีรวิโรจน์

Keywords:

อุปกรณ์ป้องกันหู, โรงงานอุตสาหกรรม, hearing protective device, loud noise

Abstract

การศึกษาเชิงสำรวจเพื่อความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบการได้ยิน (หู) ของ ผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่มีเสียง ดังเกิน ๘๐ เดซิเบล (เอ) โดยการสัมภาษณ์คนงาน ๓๗๐ คน อายุ ๑๗-๔๙ ปี เป็นชายร้อยละ ๖๑.๑ และหญิง ร้อยละ ๓๘.๑ มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่าร้อยละ ๓๖.๐ เป็นผู้ที่ทำงานมานานโดยเฉลี่ย ๔.๖๒ ปี และวันละ ๘.๒๗ ชั่วโมง จากการศึกษาพบว่า ผู้ปฏิบัติงานมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันหูขณะทำงานทุกครั้งร้อยละ ๔๑.๔, ใช้เป็นบางครั้ง ร้อยละ ๓๑.๔, และไม่ใช้ร้อยละ ๒๗.๓ สาเหตุที่ไม่ใช้อุปกรณ์ฯ เพราะใช้แล้วอึดอัดรำคาญ พูดคุยไม่รู้เรื่อง และคิดว่าการใช้ไม่ช่วยอะไรมาก; ร้อยละ ๕๒.๕ ใช้แล้วเกิดอาการแพ้และเจ็บหู, ร้อยละ ๓๗.๖ บริษัทไม่ได้จัดหา อุปกรณ์ให้ และร้อยละ ๙.๙ ไม่เกี่ยวข้องกับเสียงดัง อุปกรณ์ป้องกันหูที่ใช้เป็นแบบอุดหู ร้อยละ ๘๔.๐ และแบบ ครอบหูร้อยละ ๗.๔ ผู้ที่ใช้อุปกรณ์ฯ ร้อยละ ๙๕.๕ ให้เหตุผลว่ากลัวอันตรายที่จะเกิดแก่หู, ร้อยละ ๕๙.๑ มีปัญหาเกี่ยวกับหู, ร้อยละ ๕๔.๓ ได้รับการกระตุ้นจากสื่อหรือบุคคล และร้อยละ ๓๖.๔ ทำตามกฎระเบียบของบริษัท เพราะกลัวถูกลงโทษ ในกลุ่มที่ใช้อุปกรณ์ฯ มีเพียงร้อยละ ๖๗.๓ ที่ใช้ตลอดเวลาทำงาน; ผู้ที่ใช้อุปกรณ์แบบอุดหูประมาณครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ ๕๐.๖) และผู้ที่ใช้แบบครอบหู ร้อยละ ๒๐.๙ ยังใส่ไม่ถูกต้อง, ร้อยละ ๕๓.๘ เคยลืมเอาที่อุดหูมาจากบ้าน ร้อยละ ๓๘.๑ ขอเบิกใหม่ แต่บางคนใช้สำลีหรือวัสดุอื่นอุดแทนไปชั่วคราว ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง ร้อยละ ๘๒.๙ ของผู้ที่ใช้อุปกรณ์ฯ มีการดูแลรักษาอุปกรณ์ และร้อยละ ๖๑.๙ ของกลุ่มนี้ใช้วิธีการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ร้อยละ ๔๔.๖ ผ่านการอบรมเรื่องอันตรายจากเสียง และร้อยละ ๕๐.๘ เรื่องการใช้อุปกรณ์ป้องกันหู อย่างไรก็ดี การใช้อุปกรณ์ป้องกัน หรือการดูแลรักษาอย่างถูกต้องไม่สัมพันธ์กับการอบรมผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ร้อยละ ๗๒.๗๕ และทัศนคติต่อการใช้อย่างถูกต้องร้อยละ ๖๓.๐๖ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้อุปกรณ์ป้องกัน ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน การอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจ ระเบียบข้อบังคับพนักงาน บริการตรวจสมรรถภาพการได้ยินประจำปี  The study on the use of protective hearing devices in 370 workers who were exposed to noise levels exceeding 80 dB(A) in a plant in the Industrial Garden Sahaphat in Sriracha district, Chon Burl Province. The subjects comprised 229 males and 141 females aged 17 - 49 years; 133 (36%) of them had an education not higher than the primary level. Data collected by Interview revealed the following: (1) average working period 4.62 years, with daily working hours being 8.27 hours, and the period exposed of the loud noise being 7.46 hours; (2) 41.4 per cent of the subjects used protective hearing devices throughout the work time, 31.4 per cent, used them irregularly; and 27.3 per cent never used them; ear plugs were popular devices used by 84 per cent of those using protective devices. The reason why there were non-users was irritation, annoyance and obstruction of hearing: pain and allergy accounted for 52.5 per cent of non-use,  and 55.5 per cent were afraid of the danger to their ears; (3) proper care of the device was claimed in 82.9 per cent; 44.6 per cent had undergone training course regarding the effects of loud noise on hearing and had gained protective knowledge; (4) the factors relating to the acceptance of the protective hearing devices included sex, age, monthly incomes, and having taken a prior course of training on the dangers of loud noise, and protective measures as well as an how to use the device.

Downloads

Published

2023-12-27