โรคไข้ไอโลหะ

Authors

  • สมจิต พฤกษะริตานนท์

Keywords:

ทางเดินหายใจ – โรค, โรคเกิดจากอาชีพ

Abstract

ไข้ไอโลหะ (metal fume fever) จัดเป็นโรคเหตุอาชีพอย่างหนึ่งที่พบในช่างเชื่อมและผู้ทำงานเกี่ยวกับโลหะเนื่องจากหายใจไอโลทะ (ออกไซด์) ที่เกิดขึ้นจากปฏิบัติการ  โรคที่เกิดจากการหายใจไอโลหะได้เริ่มรู้จักกันตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙๒ ในระยะแรกพบในคนงานหลอมหล่อทองเหลืองจึงเรียกว่า ไข้ช่างหล่อทองเหลือง (brassfounders' ague) ๑.๓,๔ ในปัจจุบันทราบกันดีว่าโรคดังกล่าวเกิดจากไอโลหะหลายชนิด จึงใช้ชื่อว่า ไข้ไอโลหะ ๕-๑๔ ในประเทศไทยสมชัย บวรกิตติ และคณะ๑๕ได้ทำงานวิจัยในช่างหล่อพระพุทธรูป เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ผลสรุปว่าในสถานประกอบการมีไอทองแดงและสังกะสีในอากาศเพิ่มขึ้นชัดเจนขณะหลอมหล่อทองเหลือง และพบระดับโลหะในเลือดและในปัสสาวะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่พบความผิดปรกติทางเวชกรรมที่ชัดเจน ซึ่งเข้าใจว่าเนื่องจากคนงานมีภูมิต้านทานจากการทำงานมานาน ร่างกายสามารถขับสารพิษออกได้รวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ  Metal fume fever, an occupational disorder occurring in those engaged in welding and other metallic operations and due to the inhalation of volatilized metals, is characterized by the sudden onset of thirst and a metallic taste in the mouth, followed by high fever, muscular aches and pains, shaking chills, headache, weakness, diaphoresis, and leukocytosis. The symptoms usually subside within 24 to 48 hours, but repeated attackes are common. The disorder includes brassfounder's fever and spelter's fever; it is also called foundryman’s fever.

Downloads

Published

2023-12-27