ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนหญิง ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี

Factors related to preventive sexual of female behavior in secondary school students, Uthai Thani Province

Authors

  • สุนารี หอมจันทร์
  • มลินี สมภพเจริญ
  • มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์

Keywords:

นักเรียน, มัธยมศึกษา, เพศหญิง, Students, Secondary education, Female

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนหญิง ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี  ปีการศึกษา 2565 จำนวน 294 คน  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนส่วนมากมีพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ในวัยเรียนอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) พบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ผลการเรียน (p = 0.021) และรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง  (p = 0.040) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยนำ ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรง มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.211, p < 0.001) เจตคติต่อพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำมาก (r = 0.186, p < 0.001) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การรู้เท่าทันสื่อ มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.276, p < 0.001) ทักษะป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กันในทิศทางลบอยู่ในระดับต่ำมาก (r = -0.355, p < 0.001)  และปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากครู ผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.246, p < 0.001) และอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.590, p < 0.001) ดังนั้น ควรมีการจัดโปรแกรมสร้างเสริมหรือฝึกทักษะให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น เพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง และผลกระทบที่จะได้รับจากการปฏิบัติพฤติกรรม  This research is a cross-sectional exploratory study that investigates factors associated with adolescent sexual behavior of female in secondary school students, Uthai Thani Province. The focus is on female students in grades 7 to 12 attending secondary schools, Uthai Thani province, during the academic year 2022. The sample comprised 294 individuals, The selection was done through a Multi-Stage Random Sampling method and data were collected through an online questionnaire. Statistical analysis involved Chi-Square and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient. The study's findings reveal that the majority of students exhibit low levels of behaviors aimed at preventing adolescent sexual activity. Reporting such behaviors. Significant personal characteristics related to the prevention of such behavior included academic performance (p = 0.021) and parental income (p = 0.040). Predisposition factors to the prevention behaviors included a low level of perception regarding violence in sexual relationships in adolescence (r = 0.211, p = 0.000) and a significantly low correlation with attitudes towards preventing sexual activity in adolescents (r = 0.186, p < 0.001). Enabling factors such as media literacy exhibited a low correlation (r = 0.276, p < 0.001), and skills to prevent adolescent sexual activity were negatively correlated at a significantly low level (r = -0.355, p < 0.001). Reinforcing factors included receiving social support from teachers and parents, with a low correlation (r = 0.246, p < 0.001), while influence from peer groups had a moderate correlation (r = 0.590, p < 0.001). Therefore, programs designed to strengthen or provide training for students at every grade level on how to avoid sexual intercourse during adolescence. These programs should emphasize self-directed learning and comprehension of the potential consequences stemming from their actions.

References

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออำเภออนามัยเจริญพันธุ์ ฉบับบูรณาการ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559

ชัยนันท์ เหมือนเพ็ชร, นิภา มหารัชพงศ์ และกุหลาบ รัตนสัจธรรม. ตัวแปรทำนายพฤติกรรมทางเพศในบริบทความแตกต่างของรูปแบบวิธีการวัด ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของรัฐบาล อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 2566; 6(2): 80-89.

เรือเอกหญิงปริยานุช ตั้งนรกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพทางเพศกับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). คณะพยาบาลศาสตร์: ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายการเฝ้าระวังการแท้ง ประเทศไทย พ.ศ. 2562. [อินเตอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล: 1 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก http://rh.anamai.moph.go.th

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. รายงานการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น พ.ศ. 2563. [อินเตอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล: 1 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://rh.anamai.moph.go.th

ศรีเพ็ญ ตันติเวส และคณะ. สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย. นนทบุรี: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ; 2556.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 204 ตัวชี้วัด. [อินเตอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล: 1 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://newweb.nso.go.th

Health Data Center. คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center) กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล 18 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2564. กรุงเทพมหานคร; 2564.

มาลี สบายยิ่ง. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในสังคมปัจจุบัน. วารสารวิทยบริการ, 2562; 30(3): 121-127.

ธัญญาพัฒน์ คำสีหา, จุไรรัตน์ อาจแก้ว, ภัทราพร เกษสังข์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19: การวิเคราะห์พหุระดับ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 2526; 13(3): 26-33.

พิมข์ขวัญ เพนเทศ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตร์: พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2561.

กระทรวงศึกษาธิการ. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางต้องรู้และควรรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร; 2559.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. พฤติกรรมสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2560.

ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลสารสนเทศ (ข้อมูลนักเรียน). [อินเตอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล 18 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://data.bopp-obec.info/emis/.

Wayne, W. D. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. New York: Wiley & Sons; 1995.

Bloom BS. Learning for master evaluation Comment. Center for the Student of Evaluation of Instruction Program. Los Angeles: University of California; 1968.

ณิชาภัทร ปุ่นมีกิจ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเมืองพัทยา (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). คณะพยาบาลศาสตร์: ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

พิมพ์วดี โรจน์เรืองนนท์, อลิสา นิติธรรม, สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของนักศึกษาหญิง ระดับอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2560; 36(2): 194-202.

พัชราพร ควรรณสุ, พิศิษฐ์ เสรีธรรมะพิทักษ์ และนันทนา ควรรณสุ. ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นหญิง จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 2556; 1(8): 324-336.

รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์, ประภากร ศรีสว่างวงศ์ และภรรวษา จันทศิลป์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อภาวะการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2564; 2(4): 100-108.

สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์. รู้เท่าทันสื่อ Media Literacy. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต;2557.

Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 1997; 84(2): 191-215.

วิพรรษา คำรินทร์ และสิริมา มงคลสัมฤทธิ์. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์. วารสารวิชาการสาธารณสุข,2561; 4(27), 557-596.

Downloads

Published

2024-06-04