การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติในหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดชลบุรี
The factor analysis of core competency for public health technical officer working in primary care units to prevent the spread of coronavirus disease 2019 in Chonburi province
Keywords:
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, สมรรถนะนักวิชาการสาธารณสุข, การวิเคราะห์องค์ประกอบ, หน่วยบริการปฐมภูมิ, COVID-19, competency of public health technical officer, factor analysis, primary healthcare unitAbstract
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติในหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบสะดวก คือ นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดชลบุรี จำนวน 230 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ (Exploratory factor analysis) ได้จำนวนองค์ประกอบของสมรรถนะ 37 ตัวบ่งชี้ สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal component analysis) และหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉากด้วยวิธีวาริแมกซ์ (Varimax) รวมถึงการทดสอบยืนยันความเหมาะสมของข้อมูล พบว่า 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะเฉพาะบุคคล ด้านความรู้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของความรู้ระบาดวิทยาของโรค เท่ากับ 0.92 การวิเคราะห์และวางแผนเท่ากับ 0.93 และการบริหารสาธารณสุขเท่ากับ 0.75 ส่วนด้านทักษะมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของการบริการด้านสาธารณสุขเท่ากับ 0.76 การจัดการข้อมูลสุขภาพ เท่ากับ 0.87 การประสานงานและการทำงานเป็นทีม เท่ากับ 0.87 และการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เท่ากับ 0.91 สําหรับด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของคุณลักษณะด้านบุคคลเท่ากับ 0.82 คุณลักษณะด้านปฏิสัมพันธ์เท่ากับ 0.83 และด้านคุณลักษณะด้านจรรยาบรรณวิชาชีพเท่ากับ 0.76 โดยทั้ง 3 องค์ประกอบมีความเหมาะสมในระดับมาก (KMO = 0.70) และค่า Bartlett’s Test of Sphericity มี P< 0.001 The purpose of this survey research aimed to investigate the components of competency among public health technical officers working in primary healthcare units for preventing the spread of COVID-19 in Chonburi province. The convenient random sample comprised 230 public health workers collected data from May to June2023. Data analysis utilized exploratory factor analysis with orthogonal rotation method and varimax was applied to identify the number of competency indicators, yielding a total of 37 indicators. Confirmatory factor analysis was conducted to assess the appropriateness of the data. Results revealed three primary components: knowledge, skills, and personality traits. In terms of knowledge, the component weights for epidemiological knowledge of diseases, analysis and planning, and public health management were 0.92,0.93, and 0.75 respectively. Regarding skills, the components weights for public health service delivery, health data management, teamwork and collaboration, and utilization of technology and innovation were 0.76, 0.87, 0.87, and 0.91 respectively. As for personal traits, the component weights for interpersonal skills, personal attributes and professional ethic were 0.83, 0.82, and 0.76 respectively. All three components demonstrated high suitability at a significant level (KMO = 0.70) and the Bartlett's Test of Sphericity was P< 0.001.References
ราชกิจจานุเบกษา. การจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th /DATA/PDF/2563/E/239/T_0017.
วศิน พิพัฒนฉัตร. บทบาทวิชาชีพสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 2559; 2(1): 63-65.
ศูนย์ปฏิบัติการ covid-19 จังหวัดชลบุรี. (2565). ข้อมูลสถานการณ์ COVID-19 จังหวัดชลบุรี.[อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล 20 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.chonburi.go.th/website/project/view37.
Spencer, L.M. & Spencer. S.M. Competency at work: Models for superior performance. New York: Wily & Sons, 1993.
พินิจ ฟ้าอำนวยผล. การศึกษาสถานการณ์และความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพระดับปฐมภูมิในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19. นนทบุรี: สํานักงานสนับสนุนและพัฒนาการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ, 2564.
Kline, R.B. Principles and practice of structural equation modeling. (3rd ed.) New York: The Guilford Press, 2011.
กันยารัตน์ สมบัติธีระและยุพา ถาวรพิทักษ์. อัตราการตอบกลับแบบสอบถามและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราการตอบกลับแบบสอบถาม ในการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ในงานวิจัยด้านพยาบาลศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์. วารสารวิจัย มข. (บศ.), 2558; 15(1): 105-113.
Best, J. Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, 1977.
รงรอง อำนวยลาภไพศาล. (2564). การเตรียมความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์แพทย์จากสถานการณ์ COVID-19ในโรงพยาบาลตำรวจ. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล 5 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2563_1629862707_6214832013.pdf
ชมพูนุช สุภาพวานิช, ไพสิฐ จิรรัตนโสภาพ, เบญจวรรณ พูนธนานิวัฒน์กุล และบุญแทน กิ่งสายหยุด. การพัฒนาสมรรถนะการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในมุมมอง ผู้บริหารของเขตสุขภาพที่ 1-12. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2565; 5(3): 138-153.
ทิพวรรณ พูลเอียด. (2564). สมรรถนะในการทำงานของบุคลากรกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล 5 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.mpa-mba.ru.ac.th/ images/Project/treatise_bangkok14_09092021/6217950062.pdf
ปริญญา จิตอร่าม. (2563). การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะการแก้ปัญหาและการพัฒนาสาธารณสุขชุมชนของนักสาธารณสุขชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 2563; 6(1): 84-99.