วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health en-US journal.Libbuu@gmail.com (health) chain_d@hotmail.com (chain) Tue, 04 Jun 2024 08:10:32 +0000 OJS 3.2.1.4 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของนักเรียนหญิงอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9798 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของนักเรียนหญิงอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 359 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยการทำนายด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนมีอายุเฉลี่ย 17 ปี ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 56.82 ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประวัติการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ร้อยละ 72.70 และมีความพึงพอใจในรูปร่างของตนเอง ร้อยละ 55.43 โดยส่วนใหญ่นักเรียนเข้าถึงแหล่งซื้อขายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ร้อยละ 91.36 และการได้รับข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 68.52 ในขณะที่คะแนนความรู้อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 71.31 (ค่าเฉลี่ย = &nbsp;16.33 ± 3.86 ) ทัศนคติอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 71.59 (ค่าเฉลี่ย = 36.59 ± 6.83) และพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 52.37 (ค่าเฉลี่ย = 20.11 ± 3.33) และพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ได้แก่ ทัศนคติ (β = 0.420, p &lt; 0.001) ประวัติการบริโภค (β = 0.399, p &lt; 0.001) และการได้รับข้อมูลข่าวสาร (β = -0.154, p &lt; 0.01) และสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ได้ร้อยละ 28.7 (Adj. R<sup>2</sup>&nbsp;= 0.287,&nbsp;<em>p&nbsp;</em>&lt; 0.001) ผลการศึกษาดังกล่าว สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักที่ถูกต้อง และเหมาะสมให้แก่นักเรียนนักศึกษาต่อไป&nbsp; This cross-sectional descriptive research aimed to determine the factors affecting the consumption behavior of weight loss dietary supplements among female students at vocational certificate-level in Pathum Thani province. The samples were 359 female students that were employed by a stratified sampling technique. Data was collected by questionnaire and analyzed by descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. The result found that the average age of female students were 17 years old, the BMI values of 56.82 %, the majority of were within the normal level, 72.70 % of them have never a history of consuming weight loss dietary supplements and 55.43 % expressed satisfaction with their body shape. Most students accessing sources of purchasing weight loss dietary supplements was 91.39 % and receiving information was at low level for 68.52 %. Moreover, score of the knowledge was at good level for 71.31 % (mean = 16.33 ± 3.86), a good level of attitude for 71.59 % (mean = 36.59 ± 6.83) and the consumption behavior of weight loss dietary supplements was also good level for 52.37 % (mean = 20.11 ± 3.33). The factors affecting the consumption behavior of weight loss dietary supplements were attitudes (β = 0.420, p &lt; 0.001), a history of consuming (β = 0.399, p &lt; 0.001) and receiving information (β = -0.154, p &lt; 0.01) were statistically significant predictors of the weight loss dietary supplements consumption behavior at 28.7 % (Adjusted R2 = 0.287, p &lt; 0.001). This research results recommend related agencies and healthcare personnels to promote the correct and suitable behaviors in consuming weight-loss dietary supplements continuously.</p> ประภาศรี เพลงอินทร์, เอมอัฌชา วัฒนบุรานนท์, ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม, รจฤดี โชติกาวินทร์ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9798 Tue, 04 Jun 2024 00:00:00 +0000 แนวทางการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมในนิคมอุตสาหกรรม พื้นที่ภาคตะวันออก https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9799 <p>ปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำในอุตสาหกรรมเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการป้องกันการขาดแคลนน้ำใช้หรือความเครียดของน้ำโดย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้น้ำในนิคมอุตสาหกรรม 2 แห่ง ได้แก่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการน้ำในนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ภาคตะวันออก และวิเคราะห์องค์ประกอบเกณฑ์ตัวชี้วัดในการบริหารจัดการน้ำในนิคมอุตสาหกรรม ผลการศึกษาพบว่าความคิดเห็นต่อเกณฑ์การบ่งชี้การบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมในนิคมอุตสาหกรรม โดยรวมทั้ง 2 นิคมอุตสาหกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.13 + 0.79 โดยพบว่านิคมอุตสาหกรรมปิ่นทองมีตัวบ่งชี้การบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมในนิคมอุตสาหกรรมสูงกว่านิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ในระดับมากที่สุดที่ค่าเฉลี่ย 4.14 + 0.77 และนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังมีตัวบ่งชี้การบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมในนิคมอุตสาหกรรม ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย&nbsp; 4.12 + 0.83&nbsp; ตัวบ่งชี้การบริหารจัดการน้ำที่ได้ค่าคะแนนน้อยที่สุดของนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ได้แก่ ด้านการเผยแพร่และการส่งเสริมการใช้น้ำ มีค่าเฉลี่ย 3.88 + 0.98 ส่วนนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง มีตัวบ่งชี้การบริหารจัดการน้ำที่น้อยที่สุด ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพของระบบควบคุมการบริหารจัดการน้ำในองค์กร มีค่าเฉลี่ย 3.99 + 0.86 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะ ให้ใช้หลักการจัดการของเสียเป็นศูนย์ ควบคุมคุณภาพของน้ำให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำอุปโภคและบริโภค บริหารน้ำสำรองให้เพียงพอต่อการใช้ในหน้าแล้ง และกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์&nbsp; เพื่อลดการขัดแย้งต่ออุตสาหกรรมและชุมชน เป็นการใช้ทรัพยากรน้ำร่วมกันอย่างยั่งยืน&nbsp; A problem in industrial water management to prevent water stress is an urgent matter. An objective of this research is to study the condition and problems in water consumption in selected 2 industrial estates, i.e. Laem Chabang Industrial Estate and Pinthong Industrial Estate. This is to improve water management in the industrial estate within the eastern region, as well as, to analyze the component indicators in water management within the industrial estate. The study reveals opinions toward the appropriate water management indicators in Industrial Estates. Both industrial estates are at an average high of 4.13+0.79. Pinthong Industrial Estate is at a higher range in comparison at 4.14+0.77. Lam Chabang Industrial Estate is at an average high of 4.14+0.83. The lowest indicators for Lam Chabang Industrial Estate is promotion of water utilization which falls within the range of 3.88-0.98. Pinthong Industrial Estate’s lowest indicator is in the efficiency of organizational water management control which is within the range of 3.99+0.86.However, The industrial estates should pay attention to all indicators Additionally, the sample group also suggested several&nbsp; methods, i.e. zero waste management, water quality control in water consumption, maintaining water reserve for dry seasons, and promoting community relations to reduce conflicts between industry and community for the sustainable use of water resources.</p> เพียงใจ หาญวัฒนาวุฒิ, กอบเกียรติ ผ่องพุฒิ, บุญเลิศ วงค์โพธิ์, วินัย วีระวัฒนานนท์ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9799 Tue, 04 Jun 2024 00:00:00 +0000 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนหญิง ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9800 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนหญิง ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี&nbsp; ปีการศึกษา 2565 จำนวน 294 คน&nbsp; คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนส่วนมากมีพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ในวัยเรียนอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) พบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ผลการเรียน (p = 0.021) และรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง&nbsp; (p = 0.040) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยนำ ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรง มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.211, p &lt; 0.001) เจตคติต่อพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำมาก (r = 0.186, p &lt; 0.001) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การรู้เท่าทันสื่อ มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.276, p &lt; 0.001) ทักษะป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กันในทิศทางลบอยู่ในระดับต่ำมาก (r = -0.355, p &lt; 0.001)&nbsp; และปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากครู ผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.246, p &lt; 0.001) และอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.590, p &lt; 0.001) ดังนั้น ควรมีการจัดโปรแกรมสร้างเสริมหรือฝึกทักษะให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น เพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง และผลกระทบที่จะได้รับจากการปฏิบัติพฤติกรรม&nbsp; This research is a cross-sectional exploratory study that investigates factors associated with adolescent sexual behavior of female in secondary school students, Uthai Thani Province. The focus is on female students in grades 7 to 12 attending secondary schools, Uthai Thani province, during the academic year 2022. The sample comprised 294 individuals, The selection was done through a Multi-Stage Random Sampling method and data were collected through an online questionnaire. Statistical analysis involved Chi-Square and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient. The study's findings reveal that the majority of students exhibit low levels&nbsp;of behaviors aimed at preventing adolescent sexual activity. Reporting such behaviors. Significant personal characteristics related to the prevention of such behavior included academic performance (p = 0.021) and parental income (p = 0.040). Predisposition factors to the prevention behaviors included a low level of perception regarding violence in sexual relationships in adolescence (r = 0.211, p = 0.000) and a significantly low correlation with attitudes towards preventing sexual activity in adolescents (r = 0.186, p &lt; 0.001). Enabling factors such as media literacy exhibited a low correlation (r = 0.276, p &lt; 0.001), and skills to prevent adolescent sexual activity were negatively correlated at a significantly low level (r = -0.355, p &lt; 0.001). Reinforcing factors included receiving social support from teachers and parents, with a low correlation (r = 0.246, p &lt; 0.001), while influence from peer groups had a moderate correlation (r = 0.590, p &lt; 0.001). Therefore, programs designed to strengthen or provide training for students at every grade level on how to avoid sexual intercourse during adolescence. These programs should emphasize self-directed learning and comprehension of the potential consequences stemming from their actions.</p> สุนารี หอมจันทร์, มลินี สมภพเจริญ, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9800 Tue, 04 Jun 2024 00:00:00 +0000 การเพิ่มคุณภาพการนอนหลับโดยการใช้โปรแกรมการฝึกหายใจแบบใช้กะบังลมในพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9801 <p>การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาการเพิ่มคุณภาพการนอนหลับโดยการใช้โปรแกรมฝึกหายใจแบบใช้กะบังลมในพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลหนึ่งในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอายุรกรรมรวม 21คน ผู้วิจัยสาธิตการฝึกหายใจแบบใช้กะบังลมและให้ปฏิบัติเป็นรายบุคคลเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ มีคลิปสั้นและแผ่นพับ เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับพิทส์เบอร์ก (PSQI) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพการนอนหลับก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมที่ 2 และ 4 สัปดาห์ ด้วยสถิติ Wilcoxon signed rank test ที่นัยสำคัญทางสถิติ =.01 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 85.7 อายุเฉลี่ย 31.14 ปีมีปัญหาคุณภาพการนอนหลับเกินเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด ร้อยละ 100.0 มีค่าเฉลี่ย 8.71 คะแนน และหลังการเข้าร่วมโปรแกรมที่ 2 และ 4 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ71.4 และร้อยละ 81.0 มีระดับคุณภาพการนอนหลับอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน มีค่าเฉลี่ย 4.56 คะแนน และ 4.18 คะแนน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพการนอนหลับก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมที่สัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์ที่ 4 พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p &lt;.001 และ p &lt;.001ตามลำดับ) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการฝึกหายใจแบบใช้กะบังลมสามารถเพิ่มคุณภาพการนอนหลับของพยาบาลวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิผล&nbsp; This quasi-experimental study sought to investigate the efficacy of diaphragmatic breathing exercises in enhancing sleep quality among registered nurses in a hospital in Chonburi province. The sample comprised twenty-one registered nurses employed in the medicine unit. The intervention involved personalized training and coaching for four weeks, supplemented with a video presentation and an informational leaflet. Data collection encompassed personal information and responses to the Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI) (Thai version). Descriptive statistics were employed for data analysis, and the Wilcoxon signed-rank test was utilized to assess changes in sleep quality post-intervention. Statistical significance was set at p &lt;.01. The study found that the majority of respondents were female (85.7%), with an average age of 31.14 years. Initially, all participants reported poor sleep quality (100.0%), with a mean score of 8.71. However, after 2 and 4 weeks of participation, 71.4% and 81.4% of the sample achieved good sleep quality, respectively, with mean scores of 4.56 and 4.18. Statistical analysis revealed a significant improvement in sleep quality (p &lt;.001 for both time points). These findings underscore the effectiveness of the diaphragmatic breathing exercise program in enhancing sleep quality.</p> ณัฐนันท์ จำรูญสวัสดิ์, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์, อรวรรณ แก้วบุญชู, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9801 Tue, 04 Jun 2024 00:00:00 +0000 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9802 <p>ปัญหาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุส่งผลกระทบต่อร่างกายจิตใจและสังคมของผู้สูงอายุการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุและหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุตำบลจำป่าหวาย อําเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุอายุ 60 ปี ขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา จำนวน 139 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีจับฉลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีระดับคุณภาพการนอนหลับอยู่ในระดับไม่ดี (ร้อยละ 51.1) มีระดับสภาพจิตใจและสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับอยู่ในระดับไม่ดี (ร้อยละ 77.0) มีระดับสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับอยู่ในระดับไม่ดี (ร้อยละ 67.6) พบว่า เพศมีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (X<sup>2</sup>= 6.132, p = 0.047) และสภาพจิตใจและสังคม สิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs= .451, p = &lt; 0.001), (rs= .477, p = &lt; 0.001) ดังนั้น ควรมีการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนหลับของผู้สูงอายุ หรือจัดโครงการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น และประเมินปัจจัยรบกวนการนอนหลับของผู้สูงอายุ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนป้องกันปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุต่อไป&nbsp; Insomnia has an adverse impact on the physical, mental, and social well-being of the elderly. Therefore, this cross-sectional descriptive study aimed to examine the quality of sleep among the elderly and identify its correlated factors in Cham Pa Wai Sub-district, Mueang Phayao District, Phayao Province. For data collection, 139 respondents aged 60 years and above and living in Cham Pa Wai Sub-district were selected through simple random sampling using a sleep quality among the elderly self-administered questionnaire. Data were collected from June to July 2023 and analyzed using descriptive statistics, employed to describe data, the Chi-square test, and Spearman’s rank correlation coefficient to test correlation. The results of the level of sleep quality among the elderly are as follows: Most of them (51.1%) had a low quality of sleep, resulting from psychological and social conditions. The majority of them (77.0%) experienced a low level of psychological and social conditions. Furthermore, the environment affected their quality of sleep, as most of the elderly (67.6%) lived under poor environmental conditions. Gender was also found to have a statistically significant correlation with sleep quality among the elderly (X<sup>2 </sup>= 6.132, p = 0.047). Additionally, the level of psychological and social conditions and environment were found to be positively related to the object of the study, with a statistical significance of rs = .451, p = &lt; 0.001 and rs = .477, p = &lt; 0.001, respectively. Therefore, activities aimed at changing the sleep behavior of the elderly and the promotion of projects for improving their sleep quality are required. An evaluation of the factors disrupting the sleep of the elderly is also necessary in order to obtain relevant information for preventing future health issues.</p> ภัทรลิตา วงค์คำ, ชนิกา เข่งแก้ว, พิมมาดา ทะสอน, อลงกรณ์ เกษมวัฒนา, สุนิษา โสภา, ภัทริน แนวหน่อ, รัตนากร แสงปัญญา, มณุเชษฐ์ มะโนธรรม Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9802 Tue, 04 Jun 2024 00:00:00 +0000 การควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการจัดการตนเองและครอบครัว https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9803 <p>โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีความสำคัญมากและพบบ่อยอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศและของโลก โรคเบาหวานทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวอาจเกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของตัวผู้ป่วย รวมทั้งส่งผลกระทบต่อครอบครัวในการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนจากการที่ต้องดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงปกติ การควบคุมโรคเบาหวานต้องอาศัยการจัดการตนเองในการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยาและการจัดการความเครียดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตให้ดีขึ้นอันเป็นการรักษาหลักของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งนี้จะอาศัยเพียงการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต้องอาศัยการจัดการของครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยเพราะการที่ครอบครัวได้มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการตนเองร่วมกับผู้ป่วยโรคเบาหวานทำให้ครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจโรคและผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถทำหน้าที่ของครอบครัว ให้การสนับสนุนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประเมินและให้การดูแลเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันจากโรคเบาหวานได้อันเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดความมั่นใจในการจัดการตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้&nbsp; Diabetes is a very important disease and is frequently found in the group of non-communicable diseases and is an important public health problem in the country and the world. Diabetes causes health complications, both acute and chronic. Such complications may affect the patient's lifestyle. Including the impact on families in performing their duties that require adjustments from having to take care of diabetic patients. Therefore, it is very important that people with diabetes control their sugar levels within normal limits or close to normal. Controlling diabetes requires self-management of your diet, exercise taking medication, and managing stress to change lifestyle habits for the better is the main treatment for people with diabetes. However, relying only on the self-management of diabetic patients alone is not enough. It requires family management to participate in changing the behavior of diabetic patients as well. Because the family participates in the self-management process with the diabetic patient, the family has knowledge. Understanding the disease and how people with diabetes can act as a family. Provide support for people with diabetes Assessing and providing care when acute complications from diabetes occur is a very important part in making people with diabetes gain confidence in self-management in order to change their own behavior to control blood sugar levels.</p> ทรงกรฎ ศฤงคาร, ตฤณ ทิพย์สุทธิ์, กัลยา มั่นล้วน Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9803 Tue, 04 Jun 2024 00:00:00 +0000 การประเมินผลกระทบจากการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดค่าความเข้มของแสงสว่างในสถานที่จำหน่ายอาหาร เขตบางแค กรุงเทพมหานคร https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9804 <p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เพื่อประเมินผลกระทบของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารที่ตั้งในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร จากการปรับปรุงระบบแสงสว่าง ในสถานที่จำหน่ายอาหารให้ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดค่าความเข้มของแสงสว่างในสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 กลุ่มศึกษาเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารที่ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร จำนวน 50 ร้าน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 25 ร้าน ร้านกลุ่ม 1 คือ สถานที่จำหน่ายอาหารที่มีการปรุงประกอบอาหารและเครื่องดื่ม สําหรับร้านกลุ่ม 2 มีการเตรียมวัตถุดิบและการอุ่นอาหาร ปัจจัยในการประเมินผลกระทบ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพ และระดับความเข้มของแสงสว่างที่เพียงพอต่อพื้นที่ปฏิบัติงาน และความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหาร จำนวน 50 คน ความพึงพอใจจากผู้บริโภคอาหาร จำนวน 500 คน และความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกลุ่มงานสุขาภิบาลอาหารของสํานักงานเขตบางแค จำนวน 4 คน ผลการศึกษาพบว่า ร้านกลุ่ม 1 และร้านกลุ่ม 2 มีระดับความเข้มของแสงสว่างผ่านเกณฑ์ 300 ลักซ์ 11% และ 27% และผ่านเกณฑ์ 215 ลักซ์ 24% และ 82% ตามลำดับ ส่วนสีของผนังและฝ้าเพดานของทั้งสองกลุ่ม มีสีโทนอ่อนและสามารถสะท้อนแสงจากพื้นผิวได้ดี ดังนั้นทั้งสองกลุ่มต้องปรับปรุงเฉพาะเรื่องระดับความเข้มของแสงสว่างให้ได้มาตรฐาน และปรับตำแหน่งโคมไฟที่ติดตั้งให้เหมาะสม งบประมาณในการปรับปรุงระบบแสงสว่างขึ้นกับชนิดของหลอดไฟ ค่าใช้จ่ายสูงสุดของร้านกลุ่ม 1 และร้านกลุ่ม 2 ประมาณ 10,202 บาท และ 6,462 บาท ตามลำดับ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกกลุ่มต่างเห็นด้วยกับประกาศกระทรวงฯ ฉบับนี้ ดังนั้นการออกประกาศกระทรวงฯ ฉบับนี้มีผลกระทบเชิงลบต่อผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในระดับต่ำ ขณะที่ให้ประโยชน์ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานและความปลอดภัย&nbsp; This cross-sectional study is to assess the impact of food premises owners from improving the lighting system according to the announcement of the Notification of the Ministry of Public Health on prescribing of illuminance in food selling place, B.E. 2561 in Bang-Kae district, Bangkok. Fifty registered restaurants were divided into two subgroups with 25 restaurants for each. The group 1 involved the preparation and cooking processes whereas the group 2 involved reheating food without cooking. The factors for assessing the impact included budget estimated for improvement of physical appearances; light intensity and adequacy of light level for each workspace and opinions of stakeholders, which were 50 owners; 500 consumers and four municipal officers. As a results of these two groups, light levels at preparation and cooking zone met the standard 300 lux about 11% and 27%, respectively, and the levels at the serving zone met the standard 215 lux about 24% and 82%, respectively. The color of wall and ceiling was able to adequately reflect light off surface about 60-80%. Thus, both groups are required to upgrade light levels to meet the standards and to adjust the bulb position. The budget for improvement depends on type of light bulb. The maximum costs of group 1 and group 2 were about 10,202 Baht and about 6,462 Baht, respectively. All stakeholder groups agreed with the Notification. Finally, the negative impact of the announcement of this ministerial Notification on premises owners was found to be low. There is benefit of promoting work-environment and safety.</p> อิสสรียา อารมณ์, ศศิธร ศรีมีชัย, นันทิกา สุนทรไชยกุล Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9804 Tue, 04 Jun 2024 00:00:00 +0000 การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติในหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดชลบุรี https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9830 <p>การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติในหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบสะดวก คือ นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดชลบุรี จำนวน 230 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ (Exploratory factor analysis) ได้จำนวนองค์ประกอบของสมรรถนะ 37 ตัวบ่งชี้ สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal component analysis) และหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉากด้วยวิธีวาริแมกซ์ (Varimax) รวมถึงการทดสอบยืนยันความเหมาะสมของข้อมูล พบว่า 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะเฉพาะบุคคล ด้านความรู้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของความรู้ระบาดวิทยาของโรค เท่ากับ 0.92 การวิเคราะห์และวางแผนเท่ากับ 0.93 และการบริหารสาธารณสุขเท่ากับ 0.75 ส่วนด้านทักษะมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของการบริการด้านสาธารณสุขเท่ากับ 0.76 การจัดการข้อมูลสุขภาพ เท่ากับ 0.87 การประสานงานและการทำงานเป็นทีม เท่ากับ 0.87 และการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เท่ากับ 0.91 สําหรับด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของคุณลักษณะด้านบุคคลเท่ากับ 0.82 คุณลักษณะด้านปฏิสัมพันธ์เท่ากับ 0.83 และด้านคุณลักษณะด้านจรรยาบรรณวิชาชีพเท่ากับ 0.76 โดยทั้ง 3 องค์ประกอบมีความเหมาะสมในระดับมาก (KMO = 0.70) และค่า Bartlett’s Test of Sphericity มี P&lt; 0.001&nbsp; The purpose of this survey research aimed to investigate the components of competency among public health technical officers working in primary healthcare units for preventing the spread of COVID-19 in Chonburi province. The convenient random sample comprised 230 public health workers collected data from May to June2023. Data analysis utilized exploratory factor analysis with orthogonal rotation method and varimax was applied to identify the number of competency indicators, yielding a total of 37 indicators. Confirmatory factor analysis was conducted to assess the appropriateness of the data. Results revealed three primary components: knowledge, skills, and personality traits. In terms of knowledge, the component weights for epidemiological knowledge of diseases, analysis and planning,&nbsp; and public health management were 0.92,0.93, and 0.75 respectively. Regarding skills, the components weights for public health service delivery, health data management, teamwork and collaboration, and utilization of technology and innovation were 0.76, 0.87, 0.87, and&nbsp; 0.91 respectively. As for personal traits, the component weights for interpersonal skills,&nbsp; personal attributes and professional ethic were 0.83, 0.82, and 0.76 respectively. All three components demonstrated high suitability at a significant level (KMO = 0.70) and the Bartlett's Test of Sphericity was P&lt; 0.001.</p> จิตราภรณ์ สายสุพันธุ์, วัลลภ ใจดี , เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, พัชนา ใจดี Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/health/article/view/9830 Tue, 04 Jun 2024 00:00:00 +0000