https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/hrd/issue/feedHRD JOURNAL2024-06-28T01:49:27+00:00BUUjournal.Libbuu@gmail.comOpen Journal Systems<p>International Graduate Studies HRD Center, Burapha University</p>https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/hrd/article/view/10029การสร้างความผูกพันของพนักงานสถาบันอุดมศึกษา XYZ2024-06-27T05:27:46+00:00สิริเพ็ญ ศุภลักษณ์journalLibbuu@gmail.comเลิศชัย สุธรรมานนท์journalLibbuu@gmail.comนิธิภัทร กมลสุขjournalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงาน 2) สำรวจและวัดระดับความผูกพัน และ 3) เสนอแนวทางในการสร้างความผูกพันของพนักงานสถาบันอุดมศึกษา XYZ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยดำเนินการวิจัยทั้งหมด 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพัน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร จำนวน 2 คน และบุคลากร จำนวน 47 คน ด้วยการสนทนากลุ่ม พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันมี 4 ปัจจัยคือ ปัจจัยด้านลักษณะงาน ปัจจัยด้านบุคคลและสังคมในองค์กร ปัจจัยด้านระบบองค์กร และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กร เมื่อพนักงานเกิดความผูกพันจะแสดงออก 2 ด้านคือ ด้านความรู้สึกและทัศนคติ และด้านพฤติกรรม นอกจากนี้พนักงานที่เกิดความผูกพันยังส่งผลต่อผลงานใน 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับทีม และระดับองค์กร ระยะที่ 2 ทำการสำรวจและวัดระดับความผูกพัน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างคือพนักงานสถาบันอุดมศึกษา XYZ จำนวน 300 คน ที่ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เมื่อใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่าปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กรและปัจจัยด้านลักษณะงาน มีผลต่อความผูกพันด้านความรู้สึกนึกคิดและทัศนคติที่มีต่อองค์กร และความผูกพันด้านพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพนักงานเกิดความผูกพันจะส่งผลต่อผลงานแสดงให้เห็นในระดับทีมมากที่สุด รองลงมาคือระดับบุคคลและระดับองค์กร ระยะที่ 3 เป็นการเสนอแนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสถาบันอุดมศึกษา XYZ เพื่อเพิ่มความผูกพันของพนักงานให้ดียิ่งขึ้น เมื่อได้ผลจากการสำรวจความผูกพันแล้วจึงนำไปสนทนากลุ่มกับคณะผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ พบว่าการเพิ่มความผูกพันของพนักงานให้ดียิ่งขึ้น ประกอบด้วย 5 แนวทาง ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ปัญหาในแต่ละหน่วยงานเพื่อเกิดการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด 2) การทบทวนการดำเนินงานที่หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ใช้อยู่เป็นประจำ 3) การสร้างการรับรู้ในข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างทั่วถึงทั้งองค์กร 4) การประยุกต์ใช้เครื่องมือวัดผล ประเมินผล และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 5) การชี้แจงผลลัพธ์ของการวัดผลและประเมินผลการทำงานให้กับพนักงาน The objectives of this research are 1) study in factors affecting employee engagement 2) study the level of employee engagement and 3) propose the methods for enhancing employee engagement of XYZ Higher Educational Institute by using mixed methods research separating by 3 phases. In phase 1, a qualitative method has been used to find factors, affecting employee engagement by using in-depth interview of 2 management levels and group discussion of 47 employee were there are 4 factors affecting employee engagement which are Job Characteristics, People and Social, Organization Practice, and Organizational Climate and Culture. When employee are engaged, they will show in feeling and behavior. Moreover, the engaged employee will perform 3 different levels: individual performance, team performance, and business performance. In phase 2, a quantitative method has been used to find the level of employee engagement. The sample is 300 employees of XYZ Higher Educational Institute selected by simple random sampling. The stepwise multiple regression analysis is used, and found out that Organizational Climate and Culture factor and Job Characteristics factor affected employee engagement showing in feeling and behavior at statistical significance level of 0.05. When employee engage, the result of working show in team performance the most, then individual performance and business performance. In phase 3, there is a proposal for creating employee engagement. After receiving engagement result, a group discussion with human resources management team was arranged to find out the methods for enhancing employee engagement; and found that there are five methods: 1) analyze the problems in each department to solve it correctly 2) review the action plan of human resources department used in present 3) create an employee’s awareness of useful information within organization 4) implement more effective tools, such as performance evaluation and Information Technology 5) Declare the results of tools and systems’ usage to employee for clarification and fairness.</p>2024-06-28T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/hrd/article/view/10030ความสัมพันธ์ระหว่างความสนุกในสถานที่ทำงานและความผูกพันในงาน โดยมีการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการและอายุทางอัตวิสัยเป็นตัวแปรส่งผ่านในกลุ่มบุคลากรอาวุโส2024-06-27T05:32:48+00:00มนัส อุ่นใจjournalLibbuu@gmail.comเจนนิเฟอร์ ชวโนวานิชjournalLibbuu@gmail.com<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลส่งผ่านของการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการและอายุทางอัตวิสัยต่อความสัมพันธ์ระหว่างความสนุกในสถานที่ทำงานและความผูกพันในงานของบุคลากรอาวุโส โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรอาวุโสที่ปฏิบัติงานกับองค์การภาคเอกชน ในประเทศไทย จำนวน 208 คน มีอายุระหว่าง 40 ถึง 65 ปี ใช้แบบสอบถามออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน รวมทั้งการวิเคราะห์สถิติการทดสอบตัวแปรส่งผ่าน ผลการวิจัยพบว่า ความสนุกในสถานที่ทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .64, t = 7.188, SE = .09, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [.464, .815], p < .01) การเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างความสนุกในสถานที่ทำงานและความผูกพันในงาน (β = .10, t = 2.860, SE = .04, 95% ของช่วงชั้นความเชื่อมั่น [.029, .196]) ในขณะที่ อายุทางอัตวิสัยไม่ใช่ตัวแปรส่งผ่านระหว่างความสนุกในสถานที่ทำงานและความผูกพันในงาน สรุปได้ว่าการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการเป็นตัวแปรส่งผ่านบางส่วนระหว่างความสนุกในสถานที่ทำงานและความผูกพันในงานในบุคลากรอาวุโส เมื่อความสนุกในสถานที่ทำงานสูงบุคลากรอาวุโสมีแนวโน้มที่จะเกิดการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการและส่งผลไปยังความผูกพันในงานในที่สุด ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับองค์การเพื่อนำไปออกแบบสภาพแวดล้อมการทำงานและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการให้เหมาะสมกับบุคลากรอาวุโส This research aimed to investigate the mediating roles of informal learning and subjective age in the relationship between workplace fun and work engagement among older employees in the private sectors of Thailand. The study was conducted by collecting data from 208 older employees (i.e., between the ages of 40 and 65 years). Data from the online questionnaire were analyzed by using descriptive and inferential statistics, including mediation analysis (PROCESS macro). The results showed that workplace fun was positively associated with work engagement (β = .64, t = 7.188, SE = .09, 95% CI [.464, .815], p < .01). Informal learning was found to be a significant mediator between workplace fun and work engagement (β = .10, t = 2.860, SE = .04, 95% CI [.023, .196]). However, subjective age did not play a significant mediating role between workplace fun and work engagement. In summary, informal learning partially mediated between workplace fun and work engagement. When workplace fun is high, older employees are more likely to show higher informal learning, thus leading to higher work engagement. The findings provide implications such that organizations can design fun environments in the workplace and support informal learning for older employees.</p>2024-06-28T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/hrd/article/view/10031การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 52024-06-27T05:37:33+00:00สันติภาพ ภิรมย์ตระกูลjournalLibbuu@gmail.comอาจณรงค์ มโนสุทธิฤทธิ์journalLibbuu@gmail.comวีระพันธ์ พานิชย์journalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนออนไลน์ (2) ประเมินประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 (80/80) (3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนออนไลน์ (4) ศึกษาทักษะการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้กระบวนการ ADDIE Model ซึ่งการประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์โดยผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านห้วยปราบ ที่เรียนวิชาวิทยาการคำนวณ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 45 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) บทเรียนออนไลน์ (2) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ (3) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (4) แบบประเมินทักษะทักษะ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.), การทดสอบประสิทธิภาพ E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยผู้เชี่ยวชาญมีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.82, S.D. = 0.22), 2. ผลการทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> (80.74/81.72), 3. ผลการศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนออนไลน์ ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ .7383 แสดงว่าผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ มีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 73.83, 4. ผลการศึกษาทักษะการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ พบว่านักเรียนหลังจากเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ มีทักษะเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ร้อยละ 80.21 This research entails research and development (R&D) with the objectives to (1) Development of e-learning courseware to enhance logical thinking skills on basic computer programming for grade 5 students, (2) Evaluate the effectiveness of e-learning courseware to enhance logical thinking skills on basic computer programming students based on the E1/E2 efficiency criteria (80/80), (3) Study the Effectiveness Index (E.I.) of e-learning courseware to enhance logical thinking skills on basic computer programming students, (4) Assess the logical thinking skills on basic computer programming students. The research and development using the ADDIE Model process, which includes 1) analysis, 2) design, 3) development, 4) implementation and 5) evaluation by experts to assess the quality of the online lessons. The sample group consists of students at Ban Huai Prap School, specifically those studying computing science of the academic year 2023, totaling 45 individuals, sample obtained by simple random sampling. The tools utilized in this research include (1) e-learning courseware to enhance logical thinking skills on basic computer programming. (2) An e-learning quality assessment form (3) Pre-test and Post-test (4) logical thinking skills assessment form. Statistical analysis involves mean, standard deviation (S.D.), and E1/E2 performance test. The results of this study indicate that: 1. The development of e-learning courseware to enhance logical thinking skills on basic computer programming for students received high rating from experts in terms of with an overall high level of quality (average = 4.82, S.D. = 0.22), 2. The testing of the effectiveness of e-learning courseware to enhance logical thinking skills on basic computer programming students performance meeting the E1/E2 criteria, with scores (80.74/81.72), 3. The study of the effectiveness index (E.I.) showed a value of 0.7383, indicating a significant increase in knowledge (73.83 percent) among students who engaged with the e-learning courseware to enhance logical thinking skills on basic computer programming students, 4. The assessment of logical thinking skills post-lessons demonstrated an average proficiency level of 80.21 percent.</p>2024-06-28T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/hrd/article/view/10032การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรายวิชาภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา2024-06-28T01:16:42+00:00ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์journalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรายวิชาภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดสร้างสรรค์ฯ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ และ 4) เพื่อประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ประชากรในการศึกษาทักษะการคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 175 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ และศึกษาประสิทธิผล ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์ 2) แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะการคิดสร้างสรรค์ 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับการสนทนากลุ่ม 4) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรายวิชาภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดสร้างสรรค์ฯ 5) แบบประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ และ 6) แบบประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาทักษะการคิดสร้างสรรค์ จากการทำแบบประเมินพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีระดับการคิดสร้างสรรค์อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย จากแบบสังเกตพฤติกรรมทักษะการคิดสร้างสรรค์ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางคือ 3.45 และผลการสนทนากลุ่มพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อทักษะการคิดสร้างสรรค์ คือ สภาพแวดล้อม ประสบการณ์ในชีวิต ประจำวัน และทักษะชีวิต 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ มี 7 องค์ประกอบ และ 3 ขั้นตอนหลัก องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิเคราะห์ผู้เรียน 2) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 3) กำหนดบทบาทของครูและนักเรียน 4) เนื้อหาการจัดการเรียนรู้ 5) วิธีการและขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6) สื่อและกิจกรรม 7) การประเมินผลและปรับปรุง และขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 1.1) เตรียมความพร้อมของนักเรียน 1.2) จัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 2) ขั้นดำเนินการจัดการเรียนรู้ 2.1) ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผน 2.2) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2.3) การสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) ขั้นประเมินผล 3.1) ประเมินผลหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ 3.2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์ 3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ .32 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก This research objectives were 1) to study the creative thinking skills of the 4th grade students at “Piboonbumpen” Demonstration School Burapha University, 2) to develop an Active learning model using digital technology in the Thai language subject to enhance creative thinking skills, 3) to study the effectiveness of the learning management model and 4) to validate the learning management model. The population was the 4th grade students at “Piboonbumpen” Demonstration School, Burapha University, academic year 2023, totaling 175 students; the simple group used for the implementation of the learning management model for studying the effectiveness was 1 classroom randomly selected from the population as the unit for randomization. The results showed that; 1. The results of the study of creative thinking skills showed that most students have an average level of creative thinking; the results from a behavior observation of creative thinking skills showed that overall the average score was at a moderate level at 3.45 and the results from the focus group founded that affected creative thinking skills were; the environment factors, daily experiences and life skills. 2. The development of an Active learning model using digital consists of 7 elements and 3 main steps. The elements were 1) student analysis 2) learning objectives 3) determining the roles of teacher and students 4) learning management contents 5) methods and steps 6) media and activities, and 7) evaluation and revision; The steps were; 1) preparation 1.1) preparing students 1.2) organizing the learning environment 2) the learning management 2.1) arranging the learning according to the plans 2.2) using digital technologies 2.3) communicating and exchange the knowledge 3) evaluation 3.1) evaluating after receiving learning management 3.2) creative thinking skills. 3. The effectiveness index of the creative thinking skills assessment after receiving the learning management was at .32 while the average score after receiving the learning management was higher that before with a statistical significant different at .01 and the validation of the learning management model has average score at a high level.</p>2024-06-28T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/hrd/article/view/10033Factors Influencing Job-Seeking Intentions for Lecturer Positions at Chinese Universities2024-06-28T01:30:06+00:00Heng ChujournalLibbuu@gmail.comLu SuojournalLibbuu@gmail.com<p>The primary objective of this study is to delve into the impact of the development of higher education in China on the recruitment strategies of lecturers in Chinese public universities. The aim is to provide a novel theoretical foundation for understanding and predicting job seeker behavior by applying Maslow's Hierarchy of Needs, Herzberg's Two-Factor Theory, and Equity Theory within the context of higher education. The findings reveal that these theories uncover a tendency among individuals to seek job opportunities that satisfy higher-level needs rather than remain in high-pressure environments. The main findings of this study highlight the crucial role of job characteristics in shaping university reputation and influencing job seekers' willingness to accept positions. Data analysis confirmed that job characteristics, such as creativity and job satisfaction, directly enhance the academic reputation of universities and indirectly affect lecturers' retention intentions. This study offers strategic guidance for higher education institutions on how to enhance university reputation and attract top talent by optimizing job characteristics, and provides new insights into individuals' needs and motivations in career choices.</p>2024-06-28T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/hrd/article/view/10034The Result of Learning Activities via Smart Screen as an Assistive Device for Improving English Reading Skills for Grade 10 Students in the Demonstration School of Ramkhamhaeng University, Thailand2024-06-28T01:35:23+00:00Ikponmwosa Michelle UzamerejournalLibbuu@gmail.comMontien ChomdokmaijournalLibbuu@gmail.com<p>The research objectives were to study the effectiveness of applying the smart screen as an assistive device for improving English reading skills, to compare the grade 10 students' pretest and posttest of English reading skill scores on the application of learning activities via smart screen and to study the satisfaction of grade 10 students after learning activities via SmartScreen.37 of Grade 10 students of The Demonstration School of Ramkhamhaeng University, Thailand, in the 2nd semester of the Academic year 2023 were the sample of the study. Six learning activities via smart screen, an English reading skill test, and a satisfaction questionnaire were the research instruments. Mean, standard deviation, frequency, percentage, and t-test dependent were used for data analysis. The results were as follows: 1). Six Learning activities via smart screen which were Kahoot, Flashcards, Video, Quizizz, Canvas, and Prezi applications by using the smart screen as an assistive device, were conducted by the researcher, and were evaluated by three experts, the average of the quality of Learning activities via the smart screen was high level (Mean = 4.4365). 2). There were statistically significant mean scores in the posttest and pretest mean scores of English reading skills of Grade 10 students taught by learning activities via the smart screen (t = 2.721, p < 0.05). 3). The average mean of the Satisfaction to Learning activities of grade 10 students after learning activities via smart screen was 4.1189 (SD = 0.5054) at high level. This study found that the use of smart screen as an assistive device had an immense impact on students' reading abilities.</p>2024-06-28T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/hrd/article/view/10035ดึงดูดใจพนักงานด้วยกลยุทธ์การสร้างแบรนด์นายจ้างเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน2024-06-28T01:40:10+00:00สมิตา กลิ่นพงศ์journalLibbuu@gmail.com<p>ในยุคสมัยที่การแข่งขันเพื่อแย่งชิงคนเก่งทวีความรุนแรงขึ้น การสร้างแบรนด์นายจ้าง (Employer Branding) จึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่องค์การต่างๆ ต่างให้ความสำคัญ องค์การที่มีการสร้างแบรนด์นายจ้างที่ดีจะสามารถดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์การ ลดค่าใช้จ่ายในการสรรหาและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน วัตถุประสงค์หลักของบทความนี้คือการนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ กลยุทธ์การสร้างแบรนด์นายจ้าง โดยในส่วนแรกจะนำเสนอแนวคิดและทฤษฎีการสร้างแบรนด์นายจ้าง ส่วนที่สองเป็นความสำคัญของการสร้างแบรนด์นายจ้าง ส่วนที่สามนำเสนอเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์นายจ้างผ่านแนวคิด Employer Brand Mix 12 มิติ ของ Barrow & Mosley ส่วนที่สี่คือเทคนิคการทำ Employer Branding และส่วนสุดท้ายคือตัวอย่างขององค์การที่มีการสร้างแบรนด์นายจ้าง จากการนำเสนอผู้เขียนจึงสรุปได้ว่าการสร้างแบรนด์นายจ้างช่วยให้องค์การแสดงความแตกต่างและโดดเด่นจากผู้อื่น ดึงดูดคนที่ “ใช่” เข้ามาเป็นสมาชิกขององค์การและเป็นส่วนหนึ่งขององค์การสร้างประสบการณ์เชิงบวกและสร้างภาพลักษณ์ขององค์การที่ชัดเจนให้กับพนักงานทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคตเพิ่มความชัดเจนและสร้างเอกลักษณ์ขององค์การได้ (Clearness and identity) ทำให้พนักงานเชื่อถือและไว้วางใจต่อนายจ้าง สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน In an era of intensifying competition for talented people, building a strong employer brand has become an important strategy for various organizations. Strong employer branding enables organizations to attract and retain talented employees, increase work efficiency, create a good image, and reduce recruiting costs, ultimately creating a competitive advantage. The main objective of this article is to present issues related to Employer Branding Strategy. The first part presents concepts and theories of employer branding. The second part discusses the importance of employer branding. The third part presents strategies for building employer brands through Barrow & Mosley's 12-dimensional Employer Brand Mix concept. The fourth part covers Employer Branding Techniques, and the last part provides an example of an organization that has created a strong employer brand. From the presentation, the author concludes that employer branding helps organizations differentiate themselves and stand out from others, attracting the "right" people to become members of the organization and be part of its success. By creating positive experiences that create a clear image of the organization for past, present, and future employees, employer branding fosters trust, reliance, and a strong organizational identity, ultimately leading to a competitive advantage.</p>2024-06-28T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024