วัฒนธรรมคัมภีร์ใบลานของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรในประเทศไทย

Authors

  • วลีรัตน์ มันทุราช

Keywords:

คัมภีร์ใบลาน, วัฒนธรรมขอม, Palm leaf, Manuscript culture, Khmer ethnic in Thailand

Abstract

บทคัดย่อ        บทความดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ (1) ศึกษาวัฒนธรรมคัมภีร์ใบลานของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขมรในเขตอำเภอขุขันธ์ (2) ศึกษาลักษณะสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรอำเภอขุขันธ์ผ่านวัฒนธรรมคัมภีร์ใบลาน (3) จัดระบบความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมคัมภีร์ใบลานที่พบให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมใช้ มีเครือข่ายและเข้าถึงโดยง่าย การศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพวัฒนธรรมแนวประวัติศาสตร์        วัฒนธรรมคัมภีร์ใบลานเป็นวัฒนธรรมที่ใช้บันทึกความรู้ ความคิด ของผู้คนเป็นวัฒนธรรมที่ปรากฏเป็นวัฒนธรรมร่วมของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ในบริเวณภาคพื้นทวีปอย่างหนึ่งและในสังคมไทยปรากฏวัฒนธรรมคัมภีร์ใบลานตามภูมิภาคต่างๆ วัฒนธรรมคัมภีร์ใบลานจึงจัดเป็นวัฒนธรรมร่วมในราชอาณาจักรไทยอย่างหนึ่งพื้นที่ศึกษาจัดเป็นเขตวัฒนธรรมเฉพาะผู้คนที่อาศัยอยู่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมร พื้นที่ดังกล่าปรากฏวัฒนธรรมคัมภีร์ใบลานหนาแน่น ปรากฏทั้งตัวคัมภีร์ใบลาน การใช้และการผลิตซ้ำ โดยประเภทคัมภีร์ที่ได้รับการผลิตซ้ำส่วนใหญ่เป็นคัมภีร์พุทธศาสนา ส่วนเรื่องราวอื่นๆ ถูกนำไปบันทึกลงกระดาษแทน         ผลจาการศึกษาด้านมิติทางวัฒนธรรม เบื้องต้นพบวาคัมภีร์ใบลานในพื้นที่มีลักษณะสัมพันธ์กับวัฒนธรรมขอม และพบว่าคัมภีร์ใบลานที่สร้างหลังปี พ.ศ. 2500 มีบางอย่างปรับเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น อักษรนอกจากจะปรากฏอักษรขอมแล้วยังปรากฏอักษรไทยปะปน ขนบการสร้างเริ่มให้ความสำคัญเงินมากกว่าความศรัทธาวัสดุบางอย่างที่เคยสร้างเองก็เริ่มใช้ขอที่ซื้อจากตลาด เช่น สายสนองเปลี่ยนจาก เส้นไหมเป็นเชือกร่ม ผ้าห่อใบลานเปลี่ยนจากผ้าลวดลายท้องถิ่นเป็นผ้าดิบสีขาว ผ้าพิมพ์ลายดอกต่างๆ อย่างไรก็ดีปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสะท้อนสภาพชุมชนในมิติชุมชน เช่น การต้องการดำรงอัตลักษณ์ ทิศทางการสืบพุทธศาสนา การยอมรับอิทธิไทย และโลกทัศน์ขอผู้คนAbstract           The purposes of the recent study, Palm Leaf- Manuscripts Culture of Khmer Ethnic in Thailand are, (1) to investigate palm leaf-manuscripts culture of Khmer Ethnic in Khukhan District, (2) to study characteristic of Khmer ethnic society of Knukhan district through palm leaf manuscript culture, and (3) to organize bodies of knowledge of palm leaf-manuscripts culture as being ready-to-use and the networking with easy accessibility. The present study is based on historical quality research approach.           The palm leaf-manuscripts culture has been used to record people's knowledge and thinking. It appeared to be a shared culture of people  in South East Asia. In Thailand, this kind of cultural materials is found in many areas of the country. It could be considered as a shared culture of Thailand. The study areas are focused more especially on the places where Khmer ethnic groups are living, since there are a lot of palm leaf-manuscripts had been used and reproduced. The: result of the study found that the main content in palm-leaves, which were reproduced, relates to Buddhism. Other contents or stories were recorded in paper instead of palm-leaves. Thus, it could be said that the tendency of the existence of palm leaf-manuscript culture might depend on presence of Buddhism as well.          From the study of cultural dimensions, the result is as follows: 1. The palm leaf-manuscript culture of people in Khukhan district relates to Khmer culture in Cambodia, 2. Some characteristic of the palm leaf- manuscripts produced after Buddhist calendar year 2500 were changed. For example, it appears some Thai characters mixed up with Khmer character, 3. Some dimensions of usual practice correlated with development system have changed. For example, to help each other mainly depended on money instead of some materials in making palm-leaf  manuscripts were bought from market instead of self-making such as binding strings, wrapping cloth etc. These show that the culture in the study area is changed. However, such cultural phenomenon could help us reflect the society, such as. the need of identity maintaining, the tendency  of Buddhism maintaining as well as the worldview of people. 

Downloads