ปรากฎการณ์การแต่งงานต่างวัฒนธรรมในสังคมไทย: ผลกระทบต่อครอบครัวและชุมชน

Authors

  • ศรีหทัย เวลล์ส

Keywords:

การแต่งงาน, การแต่งงานต่างวัฒนธรรม, Marriage, Cross culture marriage

Abstract

บทคัดย่อ          ประเทศไทยได้ติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างชาติมาตั้งแต่คริสต์สตวรรษที่ 16 การเข้ามาของชาวต่างชาติ ในยุคสมัยนั้นมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากสมัยนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าเป็นปัจจัยหลัก บางกลุ่มมีหน้าที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาหรือเดินทางมาสำรวจประเทศใหม่ๆในทวีปเอเชีย นอกจากนี้ชนชั้นนำชาวสยามบางกลุ่มได้เดินทางไปศึกษาในต่างประเทศ เพื่อศึกษาหาความรู้จากประเทศที่เจริญกว่า ในช่วงนั้นเองที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ต่างวัฒนธรรมหรือการแต่งงานต่างวัฒนธรรมขึ้น ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับการแต่งงานกับชาวต่างชาติและก่อให้เกิดการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเพื่อจัดระเบียบหรือกำหนดธรรมเนียมปฏิบัติของการแต่งงานต่างวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัดเจนขึ้น           บทความนี้นำเสนอปรากฏการณ์การแต่งงานต่างวัฒนธรรม กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมไทยปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในโลกที่มีการสื่อสารไร้พรมแดน และความก้าวหน้าของวิทยาการเครือข่ายสังคม (Social Network) ปรากฏการณ์การแต่งงาต่างวัฒนธรรมอาจส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและในเชิงลบต่อชุมชนหรือสังคม ผลกระทบในเชิงบวก เช่น          1. การผสมผสานของวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้กลายเป็นวัฒนธรรมที่สมบูรณ์แบบของคู่สมรสทั้งสองใย 2.การบูรณาการทางวัฒนธรรมทำให้กลุ่มคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข อีกทั้งยังก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่เหมาะสมสำหรับบุตรลูกครึ่งที่เป็นผลผลิตจาการแต่งงานต่างวัฒนธรรมอีกด้วย 3.เกิดความคล่องตัวทางเศรษฐกิจทั้งภายในครอบครัวและชุมชน ในส่วนชองผลกระทบในเชิงลบนั้น เช่น 1.ค่านอยมผิดๆ เรื่องการมีสามีเป็นชาวต่างชาติ ที่กลายเป็นแบบอย่าง (แฟชั่น) ที่เลียนแบบกัน เพราะความเชื่อที่ว่า แต่งงานกับชาวต่างชาติแล้วจะมีฐานะร่ำรวย 2.การขาดการเรียนรู้และการปรับตัวของคู่สมรสที่แต่งงานข้ามวัฒนธรรม ทำให้ชีวิตการแต่งงานไม่ราบรื่น 3.การสนับสนุนให้เกิดขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ เนื่องจากผู้หญิงจำนวนไม่น้อยถูกหลอกไปต่างประเทศเพื่อขายบริการทางเพศABSTRACT             The International Relations between Siam and foreign countries has been developed since the 16th century. The objectives of the relations was differed from the present, the aims were for trading, religion dissemination and the new world exploration. Furthermore, some of Siam elites had studied in the European countries, at that time a cross culture marriage occurred The marriage caused a new concept and also obviously developed a legislation of the cross culture marriage in Siam.              The article addresses the cross culture marriage phenomenon nowadays becomes a common situation in Thailand and the cross culture marriage trend will be higher due to the progress of the digital world era and the social network system. The impacts of the cross culture marriage would be in a positive way and a negative way. The positive impacts such as,              1. The  acculturation  of Thai  and Western  ways makes  a  perfect culture for  a marriage life., 2. The cultural integration performs a happier living and it will be the right culture for the mixed offspring., 3. The economy flexibility   in the family and community.  For the negative impacts    for example, 1. The fault value about being married to a westerner becomes a model for others because they belief that marrying with a westerner will make them rich., 2. The lack of learning and adaptation of the married couple makes a broken relationship., 3. The support of human trafficking, many women  have  been  duped  into  making  a  sex  trade business  in a foreign country. 

Downloads