กลวิธีการแปลคำสรรพนาม "it" ตามบริบทที่ปรากฎในนวนิยายฉบับแปล เรื่อง เกมชีวิต พิชิต 1,000 ล้าน

Authors

  • อุบลรัตน์ ภิรมย์ภักดิ์
  • อุบล ธเนศชัยคุปต์

Keywords:

กลวิธีการแปล, การแปลและการตีความ, ภาษาอังกฤษ, สรรพนาม, การแปล, Strategies to translate

Abstract

บทคัดย่อ        งานวิจัยฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากลวิธีที่ใช้ในการแปลคำสรรพนาน “it” ตามบริบทที่ปรากฏในนวนิยายฉบับแปลเรื่อง เกมชีวิต พิชิต 1,000 ล้านกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประโยคที่มีคำสรรพนาน “it” ซึ่งทำหน้าที่ประธานและกรรมของประโยคจากนวนิยายต้นฉบับ (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง Slumdog Millionaire และประโยคเนื้อความพร้อมบริบทในภาษาฉบับแปล (ภาษาไทย) เรื่อง เกมชีวิต 1,000 ล้าน จากผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการแปลที่ใช้มากที่สุดในการแปลคำสรรพนาน “it” ตามบริบทซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคคือ การละแปล มีค่าร้อยละ 69.72 รองลงมาคือ การแปลรักษาความหมาย มีค่าร้อยละ 17.88 ถัดมาคือ การแปลรักษารูปแบบ มีค่าร้อยละ 9.17 กลวิธีการแปลที่พบน้อยที่สุดคือ การแปลเป็นคำที่เกี่ยวเนื่องกัน มีค่าร้อยละ 3.21 ในทางตรงกันข้ามการแปลคำสรรพนาม “it” ตาม บริบทซึ่งทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค กลวิธีการแปลที่ใช้มากที่สุดคือ การแปลละ มีค่าร้อยละ 56.88 รองลงมาคือ การแปลรักษาความหมายมีค่าร้อยละ 27.98 ลำดับถัดมาคือ การแปลรักษารูปแบบ มีค่าร้อยละ 12.84 และกลวิธีการแปลที่พบน้อยทีสุดคือ การแปลเป็นคำที่เกี่ยวเนื่องกัน มีค่าร้อยละ 2.29ABSTRACT              The purpose of the study was to analyze translation strategies used to translate context-based "it" in "S/umdog Miliionaire Thai version. The sample subjects sources of data were the sentences which consisted of the Pronoun “it” as subjects as well as “it” as objects from an English novel “Slumdog Millionaire” and the sentences with contexts from a translated Thai novel "Game Cheewit Pichit Nung Paan Laan" The findings indicated that the most frequently used strategies to translating “it” as subjects were omission, meaning based translation, from based   translation and paraphrase using a related word with the percentage of 69.72%, 17.88%, 9.17% and 3.21% respectively. On the other hand, the most frequently used strategies to translating Pronoun “it” as objects also were omission, meaning based translation, from based translation and paraphrase using a related word with the percentage of 56.88%, 27.98%, 12.84% and 2.29% respectively.

Downloads