สภาพวิถีและความต้องการทางสังคมของกลุ่มคนจนเมือง: กรณีศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี

Authors

  • ภคพนธ์ ศาลาทอง

Keywords:

คนจน, การดำเนินชีวิต, คนจนในเมือง, คุณภาพชีวิต, Folkway, Social needs, Urban poor, Quality of life

Abstract

บทคัดย่อ          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพวิถีและความต้องการทางสังคมรวมทั้งศึกษาระบวนการเสริมสร้างและกระบวนการเสริมสร้างทางสังคม ตลอดจนแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนจนเอง ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม โดยการสอบถามกับกลุ่มคนจนเมืองเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 222 คน ทำการสัมภาษณ์เจาะลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่ถูกเลือกจำนวน 10 คน รวมทั้งการประขุมเชิงปฏิบัติการและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การตีความแลพรรณนาความจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ผลการวิจัยพบว่าสภาพวิถีของคนจนเมืองส่วนใหญ่มีที่อยู่อาศัยเป็นบ้านตนเองแต่เช่าที่ดิน ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ไม่มีความมั่นคงในอาชีพ รายได้รวมในครอบครัวโดยประมาณเดือนละ 8,001-11,000 บาท ไม่มีการออม มีการกู้ยืมทั้งในและนอกระบบ ส่วนใหญ่ไม่เคยตรวจสุขภาพประจำปี วิธีการดูแลตนเองเมื่อเกิดการเจ็บป่วยโดยมากไปโรงพยาบาลของรัฐ และใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพมากที่สุด การมีส่วนร่วมทางสังคม ได้แก่ งานเทศกาล ประเพณี ปัญหาคุณภาพชีวิตพบมากที่สุดเกี่ยวกับรายได้ ความต้องการทางสังคม คือการมีชีวิตอยู่รอด มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองและเข้าถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ กระบวยการเสริมสร้างและการสนับสนุนทางสังคมของกลุ่มคนจนเมือง พบว่าด้านครอบครัวอยู่ในรูปของการให้ความช่วยเหลือด้านเงินทองสิ่งของและแรงงาน ด้านอารมณ์ความรู้สึกอยู่ในรูปแบบเชิงวัฒนธรรม ประเพณีและกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ด้านการยอมรับและเห็นคุณค่าในตนเองโดยการสนับสนุนด้านงบประมาณ บุคลากร ข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์และกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนจนเมือง ได้แก่ การส่งเสริมความรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตตามความเหมาะสม การสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และศูนย์พัฒนาภูมิปัญญาในชุมชน การสนับสนุนงบประมาณจัดหาบุคคลากรให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนในชุมชนการส่งเสริมและขยายโครงการบ้านมั่นคง การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ครบทุกครัวเรือน การปรับภูมิทัศน์ของชุมชนให้น่าอยู่ พัฒนาศักยภาพการบริการภาครัฐอย่างเท่าเทียม การสนับสนุนจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนและสวัสดิการทางเลือกส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการพัฒนาชุมชนABSTRACT              This research aims to study the folkway and social needs as well as constructing process, social supporting and developing quality of life of the urban poor. Mixed-method and interviewing were used with 222 urban poor in Kanchanaburi Province. Deep interviewing, operating conference and group discussion were used with 10 people from selected group. Data was analyzed with descriptive statistics, interpreted and described from empirical evidence. The research revealed that Folkway of the urban poor: They had their own residence, but rent the land. They were workers, had no job stability, average income 8,001-11,000 Baht, no saving, taking formal and informal on loan, no yearly health check-up. went to the government hospitals and used health assurance cards. They participated in festivals, traditions. Their income was the problem in quality of life. They needed to survive to have their own residence and to access the low interest loan. Constructing process and social supporting of the urban poor were money, materials and workers in family. Emotional factors were culture, traditions and community activities. Self-esteem was supported by budget, information and activities in quality of life. The ways to develop quality of life were giving knowledge, building learning and local wisdom centers, supporting for small children in community, promoting and expanding house project, developing public utility, adjusting landscape, developing equally in public service, setting welfare funds, promoting children and teenagers to participate in community development.

Downloads