รูปแบบการจัดการปัญหาอาชญากรรมของสถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี

Authors

  • สุเนตร สุวรรณละออง
  • สุธิดา แจ้งประจักษ์

Keywords:

รูปแบบ, การจัดการ, การป้องกันอาชญากรรม, ปัญหาอาชญากรรม, สถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยา, Models, Management, Crime, Pattaya City Police Station

Abstract

บทคัดย่อ         การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการปัญหาอาชญากรรมของสถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยา 2. เพื่อศึกษาผลการจัดการปัญหาอาชญากรรมของสถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยา 3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการปัญหาอาชญากรรมของสถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยา 4. เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการปัญหาอาชญากรรมที่เหมาะสมกับเมืองพัทยา ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจของสถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยาที่ทำงานอยู่ในระหว่างปี พ.ศ. 2553-2554 และ ตัวแทนประชาชนจากเขตพื้นที่รับผิดชอบ 11 ชุมชนที่ยินดีให้ข้อมูลวิธีการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การคัดเลือกผู้ทำการสนทนาใช้วิธีการขอคำแนะนำ (Snow Ball) จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ และแกนนำชุมชน        ผลการศึกษาพบว่า 1. สถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยามีรูปแบบการจัดการแบบเป็นระบบ 2. ผลการจัดการปัญหาอาชญากรรมของสถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยาในช่วงปี พ.ศ. 2553-2554 สถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยาสามารถจัดการปัญหาอาชญากรรมได้ดีขึ้น 3. ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการปัญหาอาชญากรรมของสถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยาคือ วัฒนธรรมองค์กร การขาดแคลนทรัพยากร ระบบการรวมศูนย์อำนาจ ระบบการเมือง ระบบอุปถัมภ์ ความคาดหวังและทัศนคติของประชาชนที่มีต่อตำรวจ 4. รูปแบบการจัดการปัญหาอาชญากรรมที่เหมาะสมกับเมืองพัทยา คณะผู้วิจัยได้เสนอรูปแบบการจัดการปัญหาอาชญากรรมที่เหมาะสมกับเมือพัทยา คือ “Clear & Smart” หรือ “ชัดในบทบา ฉลาดในการจัดการ” Clear หมายถึง ความชัดเจนในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตำรวจ ชุมชน และภาคส่วนต่างๆ Smart หมายถึง ความฉลาดและความสามารถในการจัดกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมที่คำนึงถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ABSTRACT          This study aimed to : 1. Study crime management model of Pattaya City Police Station, 2. Study the problems and obstacles on crime management of Pattaya City Police Station, 4. Propose appriate crime management model for Pattaya City. The study was qualitative research. The sample group comprise of police officers working in Pattaya City between the year 2010-2011, and the people living in the region under Pattaya City Pokice Station’s responsibility. The study adopted purposive sampling technique. The selection of conversation learders was done by snowball sampling technique.           The results found that: 1. Crime management model of Pattaya City Police Station were well organized, 2. The results of crime management of Pattaya City Police Station during the year 2010-2011 indicated that the police station  could deal with crime problems more effectively, 3. Problems and obstacles of crime management found in Pattaya City Police Station were organizational cultures, lack of resources, centralized system, political system, patronage system, people’s expectation and attitudes toward the police officers, 4. The researchers proposed  “Clear and Smart” model of crime management for Pattaya City. Clear meant the clarity of duties and responsibilities of police officers, the community, and every section. Smart meant the intelligence to conduct participatory management which valued the dignity of humans.

Downloads