การพัฒนาพฤติกรรมการสอนภาษาไทยของครูผู้สอน โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม: กรณีศึกษาโรงเรียนมารีวิทย์

Authors

  • ศิรินา โพยประโคน
  • สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์

Keywords:

โรงเรียนมารีวิทย์, ภาษาไทย, การศึกษาและการสอน, ทฤษฎีสรรคนิยม, ครูภาษาไทย

Abstract

บทคัดย่อ         การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาครูผู้สอนภาษาไทยที่ใช้เทคนิคการสอนตามทฤษฎีคอนสตรัควิซึม กรณีศึกษาโรงเรียนมารีวิทย์ จังหวัดชลบุรี โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Designs) ทำการทดสอบก่อน-หลังการทดลอง โดยมรกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองได้รับการพัฒนาการสอนภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัควิซึมและการนิเทศแบบคลินิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจากครูในโรงเรียนเครือมารีวิทย์ 1) โรงเรียนมารีวิทย์ พัทยา จำนวน 15 คน เป็นกลุ่มทดลอง 2) โรงเรียนมารีวิทย์ สัตหีบ จำนวน 15 คน เป็นกลุ่มควบคุม  เครื่องมือทีใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความรู้ จำนวน 2 ชุด แบบวัดเจตคติ จำนวน 1 ชุด และแบบวัดพฤติกรรมการสอน 1 ชุด มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.64, 1.62, 0.86 และ 0.90 ตามลำดับ ค่าอำนาจแจกแจงอยู่ในช่วงระห่าง 0.20-1.00 ค่าความยากของแบบวัดความรู้ชุดที่ 1 อยู่ระหว่าง 0.23-0.63 ชุดที่ 2 อยู่ระหว่าง 0.40-0.83 ผลการหาสัมประสิทธิ์ของตัวลวงทั้งชุดที่1 และชุดที่ 2 ทุกข้อคำตอบมีค่า 0.05 ขึ้นไป สถิติทีใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไค-สแควร์ ค่าดัชนีบอกความกลมกลืน และค่าดัชนีบอกความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว        ผลการวิจัย พบว่า        1. ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยระหว่างตัวแปรพยากรณ์กลุ่มทดลองซึ่งเป็นตัวแปรหุ่น (Dummy variable) กับตัวแปรตามทดสอบหลัง พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยที่ค่าเท่ากับ 0.552 ซึ่งมีสถิติทดสอบ t-test เท่ากับ 8.34 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งทำให้สรุปได้ส่าค่าเฉลี่ยผลการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของกลุ่มทดลองสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มควบคุม       2. ค่าสถิติทดสอบ t-test มีค่าเท่ากับ -.063 และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปว่า ความรู้ เจตคติ และการพัฒนาพฤติกรรมการสอนไม่มีผลต่อความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมหลังการพัฒนาพฤติกรรมการสอนแต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า        ผลการทดสอบความแตกต่าง ค่าไค-สแควร์ ของโมเดลความรู้มีนัยสำคัญทางสถิติ นั่นคือ เมื่อควบคุมตัวแปรร่วม (Covariance) จากการสอบก่อนแล้ว กลุ่มทดลองที่ได้รับการพัฒนาพฤติกรรมหารสอนมีความรู้เพิ่มมากขึ้น        ผลการทดสอบความแตกต่าง ค่าไค-สแควร์ ของโมเดลเจตคติพบว่า ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = .054) นั่นคือ เมือควบคุมตัวแปรร่วม (Covariance) จากการสอบก่อนแล้ว กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการทดลองมีเจตคติไม่แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งคือ การพัฒนาพฤติกรรมการสอนไม่ได้ทำให้เจตคติต่อการสอนแบบคอนสตรัควิซึมสูงขึ้น       ผลการทดสอบความแตกต่าง ค่าไค-สแควร์ ของโมเดลพฤติกรรมการสอน พบว่า มีนัยสำคัญของสถิติ นั่นคือ เมื่อควบคุมตัวแรร่วม (Covariance) การสอบของกลุ่มทดลองหรือกลุ่มที่ได้รับการพัฒนาพฤติกรรมการสอนกับหลังการทดลอง พบว่า มีพฤติกรรมการสอนแบบคอนสตรัควิซึงถกต้องมากกว่ากลุ่มควบคุม  ABSTRACT        The purpose of this research was to compare the teaching development of Thai language teachers who use teaching technique of constructivism theory in the case study of Maryvit School Chonburi. The researcher used Quasi Experimental Design, performed Pre & Post-test process though an experimental group and a control group and treatment by using constructivism theory and clinical supervision. The sample of this experimental research was obtained by random sampling among teachers from Maryvit School Group, namely: 1) Fifteen teachers from Maryvit School Pattaya were the experimental group 2) Fifteen teachers from Maryvit School sattahip were the control group. There are four research instruments, which were 2 questionnaire for knowledge assessment, 1 questionnaire for attitude assessment, and 1 questionnaire for teaching behavior assessment. The reliability index was 0.64, 1.62, 0.86 and 0.90 respectively. The discriminant index is between 0.20-1.00. The difficulty index of the first set is between 0.23-0.63, and the second set is between 0.40-0.83. The results of aloha coefficient of the first delusive variable and the second one for every response was more than 0.05. The statistical devices consisted of percentage, average mean, standard deviation, Chi-square index, goodness of fit index, and adjusted goodness of fit index.       The research result was found as the following:       1. The regression coefficient between predictor variable as the dummy variable of the experimental group  and the post-testing variable found that the regression coefficient index was 0.552, which had testing statistic (t-test) as 8.34and there was thee outstandingly statistical significance at 0.01 which could indicate that the average f development of teaching behavior result of the experimental group was higher than the control group.       2. t-test statistic index is -.63 without statistical significant difference. As a result, it can be concluded that knowledge, attitude and the development of teaching behavior didn’t affect the knowledge, attitude, and behavior after teaching development. When considering, by dimension it was found that;        The result of the significant different test of Chi-square index of the knowledge model implied statistically difference that when the covariance was controlled, experimental group who gain the development of teaching behavior, gain more knowledge.        The result of the significant different test of Chi-square index of the attitude model was found that there is no statistical difference (p-value = .054). It means that when the covariance of pre-test was controlled, the experimental group and control group, after the experiment, have the development of teaching behavior didn’t make high attitude of constructivism teaching.         The result of the significant difference test of Chi=square index of the performing model was found that there was statistical significant difference. That means, when the covariance of pre-test and post-test was controlled, the experimental group who was developed after experiment, gain more performance than the group who wasn’t developed.

Downloads