ความต้องการกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรตำแหน่งบรรณารักษ์ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ

Authors

  • ระวิวรรณ สัมฤทธิ์
  • ขวัญชฎิล พิศาลพงศ์

Keywords:

การพัฒนาบุคลการ, ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยของรัฐ, บรรณารักษ์, Staff development activities, Academic libraries, Government universities, Librarians

Abstract

บทคัดย่อ         การวิจัยครั้งนี้มีจดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพกิจกรรมการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการและปัญหาของกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรตำแหน่งบรรณารักษ์ในสังกัดห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ จำแนกตามวุฒิการศึกษาและอายุของบรรณารักษ์กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บรรณารักษ์ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) และ การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านประเภทของกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรส่วนใหญ่ พบว่ามีการอบรมภายในหน่วยงาน รองลงมาได้แก่ การประชุม/สัมมนาภายในหน่วยงาน ส่วนด้านเนื้อหาส่วนใหญ่ที่ได้รับการพัฒนา ได้แก่ ด้านการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ/เทคโนโลยีห้องสมุด รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารสารสนเทศ 2) ความต้องการในการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรตำแหน่งบรรณารักษ์ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอรัฐโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัญหาในการพัฒนาบุคลากรตำแหน่งบรรณารักษ์ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 4) การเปรียบเทียบความต้องการในการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรตำแหน่งบรรณารักษ์ในด้านประเภทของกิจกรรม จำแนก ตามวุฒิการศึกษา พบว่า ประเภทของกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพียงรายข้อเดียว ส่วนด้านเนื้อหาของกิจกรรมพบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกรายข้อ เมื่อจำแนกตามอายุ พบว่าในด้านประเภทและเนื้อหาของกิจกรรมการพัฒนาบุคลากร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในบางรายข้อ 5) การเปรียบเทียบปัญหาโดยรวมในการพัฒนาบุคลากรตำแหน่งบรรณารักษ์ จำแนกตามอายุ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ABSTRACT         The research aimed to investigate the staff development activities, and also to study and compare the needs and problems of staff development activities of librarians in government university libraries according to librarians’ education level and ages. The sampling groups were 225 librarians in government universities. Questionnaires were used to get the required information and  the obtained data were analyzed by frequency, percentage, mea, and standard deviation. The statistics used to test the hypotheses were t-test and the analysis of One-way ANOVA. The findings were as follows: 1) For activity types, the results to the study indicate that most librarians joined in-house training and joined in-house meeting / conference / seminars, respectively. For activity subjects, most librarians joined the subjects of the application of information / library technology and information services, respectively. 2) The needs for staff development activities for librarians in government university libraries were at a high level. 3) The problems of improving staff development activities for librarians in government libraries were at a medium level. 4) When compared the need for staff  development activities of Librarians in term of activity types according to education levels, the statistically significant difference at the level of .05 was found in only one item, while in term of activity subjects, statistically significant difference at the level of .05 was not found in any items. 5) According to ages of librarians in term of activity types and subjects, the statistically significant differences at the level of .05 were found in some items.

Downloads