การพัฒนาแรงงานความรู้สำหรับอุตสาหกรรม กล้วยไม้ไทย กรณีศึกษาจังหวัดภาคกลาง

Authors

  • ดร.บุญอนันต์ พินัยทรัพย์ รองศาสตราจารย์

Keywords:

แรงงานไทย, อุตสาหกรรมกล้วยไม้, การฝก

Abstract

บทคัดยอ การศึกษาเรื่อง การพัฒนาแรงงานความรู้สำหรับอุตสาหกรรมกล้วยไม้ไทย กรณีศึกษาจังหวัดภาคกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของแรงงานความรู้ รวมถึงรูปแบบและวิธีการพัฒนาแรงงานความรู้ โดยศึกษาด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกล้วยไม้ ตลอดจน ผู้ประกอบการและแรงงานความรู้ นอกจากนี้ใช้แบบสำรวจเพื่อศึกษาคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของแรงงานความรู้ โดยผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ควรจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1) ด้านวุฒิภาวะของแรงงาน เช่น ใส่ใจในรายละเอียดของงานทุกขั้นตอน ทำงานเสมือนเป็นกิจการของตนเอง 2) ด้านความรับผิดชอบ เช่น ให้ความร่วมมือในการทำงาน มีความหนักแน่น อดทน ทุ่มเท ขยันในการทำงาน 3) ด้านทัศนคติต่อการทำงาน เช่น มีเปาหมายชัดเจนในการทำงาน มีใจรักในอาชีพของตนเอง ส่วนรูปแบบการพัฒนาแรงงานความรู้มี 3 รูปแบบ ดังนี้ 1) รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น ติดตามข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตและการตลาดด้วยตนเอง 2) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเครือข่ายและการใช้เทคโนโลยี เช่น เครือข่ายของกลุ่มกล้วยไม้มีการพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงการใช้เทคโนโลยี เข้ารับความรู้ ในหน่วยงานภาครัฐหรือองค์การหรือสมาคม 3) ด้านการสอนแนะนำงาน เช่น ผู้ประกอบการเป็นผู้ควบคุมงานผู้สอนงานAbstract A study of labor skill development in Thai orchid industry: a case study of provinces in Central Region is to study how to develop skilled workers’ capabilities and present a model to be a better skilled workers. This research studied the human development of Thai orchid industry from secondary information and in-depth interviews with professional including the questionnaires. The findings are: the desirable qualification of skilled labor in Thai orchid industry are as follows: 1) maturity aspect such as working like its own business, interested to do the job, disciplined, punctual, time conscious, 2) responsibility aspect such as cooperating with supervisor at work, entrusted to take charge on behalf of employees; 3) work attitude aspect such as having clear daily target to be achieved and having passion for own work. The patterns and method of personnel development are three-folded as follows: 1) self-learning aspect such as keeping updated of information from internet, self-learning on marketing from various sources; 2) cluster knowledge sharing and use of technologies pattern such as meeting and sharing information and knowledge to others use of technology; 3) coaching pattern such as entrepreneur supervise operation and giving coaching at work.

Downloads