แนวคิดการดูแลผู้สูงอายุ ตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท Concept of Elderly Care in Theravāda Buddhism

Authors

  • สมบูรณ์ วัฒนะ

Keywords:

การดูแลผู้สูงอายุ, การดูแลบิดาและมารดา, พระพุทธศาสนาเถรวาท elderly care, parents care, Theravāda Buddhism

Abstract

บทคัดย่องานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุและการดูแลบิดาและมารดาในพระบาลีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุและการดูแลบิดาและมารดา และแนวคิดการพัฒนามนุษย์เพื่อเสนอเป็นแนวคิดในการดูแลผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท ใช้วิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research) แบบเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์ โดยพบผลการศึกษาดังนี้ การศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุและการดูแลบิดาและมารดาในพระบาลีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่า ผู้สูงอายุ คือคนชราภาพ ผู้สูงอายุมีความสำคัญเป็นอย่างสูงต่อการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บิดาและมารดาได้รับการยกย่องไว้สูงส่งเทียบเท่าพระพรหม พระอรหันต์ ของบุตรและธิดา ควรอย่างยิ่งที่บุตรธิดาจะดูแลท่าน ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจให้สุขสบาย แต่หากบุตรและธิดาปรารถนาจะตอบแทนบุญคุณท่านให้ยิ่งขึ้น ควรดูแลท่านให้มีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น โดยช่วยให้ท่านประกอบ   ด้วยสัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 ได้แก่ 1) ศรัทธาสัมปทา2) ศีลสัมปทา 3) จาคสัมปทา และ 4) ปัญญาสัมปทาการวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุและการดูแลบิดาและมารดา และแนวคิดการพัฒนามนุษย์ เพื่อเสนอเป็นแนวคิดในการดูแลผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า แนวคิดในการพัฒนามนุษย์คือหลักธรรมไตรสิกขา ผู้สูงอายุคือมนุษย์ที่มีอุปการคุณต่อสังคมและอนุชน ท่านควรได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด ดังนั้น จึงสังเคราะห์การดูแลบิดาและมารดาให้เป็นการดูแลผู้สูงอายุ โดยการดูแลท่านตามหลักการพัฒนามนุษย์ตามหลักธรรมเรื่องไตรสิกขาโดยอาศัยหลักภาวนา 4 เป็นเครื่องชี้วัดและวิธีปฏิบัติ ผู้สูงอายุได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม สามารถให้ท่านถึงพร้อมด้วยสัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 ชื่อว่าดูแลท่านและได้ตอบแทนคุณท่าน เพราะช่วยให้ท่านได้บรรลุจุดมุ่งหมาย (อรรถ)ของชีวิตที่เป็นสัมปรายิกัตถประโยชน์ หรือยิ่งขึ้นไปคือปรมัตถประโยชน์AbstractThe research aimed to 1) study the concept of elderly and parentscare in the Pāli cannon and documents concerned, 2) analyze and synthesizethe concept of elderly and parents care and the approach of humandevelopment for the concept of elderly care in Theravāda Buddhism. It is adocumentary research by analyzing and synthesizing Buddhist teaching.The results of the research:-To study the concept of elderly and parents care in the Pāli cannonand documents concerned found that elderly is old age people who hascontributed to Buddhism and parents were highly respected as the highestgod (Brahma) and holy monk (Phra Orahanta) of the sons and daughters,and should be highly taken care of. Buddhism, on this regard, applauds thetaking care of both mental and physical happiness. Sons and daughterswhoever wishes their parents to have a high quality of life, they shouldmake their parents comprised the Samparāyikattasangwattanikadhamma4 (the virtues leading to spiritual welfare in mundane and super mundanerealm) i.e. 1) accomplishment of confidence 2) accomplishment of virtue3) accomplishment of charity, and 4) accomplishment of wisdom.To analyze and synthesize the concept of elderly and parents careand the approach of human development for the concept of elderly care inTheravāda Buddhism found that Trisikkhā (the threefold Training) is theBuddhist approach of human development. Elderly is a human who hascontributed to society, he should be highly taken care, therefore the authorhas synthesized parents care to be elderly care. The elderly care is to takecare elderly people in accordance with the Buddhist human developmentprinciples called Trisikkhā (the threefold Training) with the help of Bhāvanā 4(4 dimensions of development). The elderly people who get themselvesappropriately developed then comprised the Samparāyikattasangwattanikadhamma 4, would be able to realize at least Samparāyikattha (spiritualwelfare), furthermore Paramattha (the highest good; final goal, i.e. Nibbāna). 

Downloads