ไตรภูมิพระร่วงและจารึกวัดป่ามะม่วง: ลักษณะร่วมด้านเนื้อหาและการสะท้อนภาพลักษณ์ของพระมหาธรรมราชาที 1 (ลิไทย) Tri-Bhumi Phra Ruang and Inscriptions of Wat Pa Mamuang: The Common Characteristics of Contents and the images of Mahadharmaraja I (Lithai)

Authors

  • นิพัทธ์ แย้มเดช

Keywords:

ไตรภูมิพระร่วง, จารึกวัดป่ามะม่วง, ลักษณะร่วมด้านเนื้อหา, การสะท้อนภาพลักษณ์, พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย), Tri-Bhumi Phra Ruang, Inscriptions of Wat Pa Mamuang, the Common Characteristics of Contents, the Images, Mahadharmaraja I (Lithai)

Abstract

ไตรภูมิพระร่วงและจารึกวัดป่ามะม่วงมีลักษณะร่วมทางด้านเนื้อหาสอดคล้องกัน ประการแรกนำเสนอแนวคิดเรื่องคติพระญาจักรวรรดิราชซึ่งเป็นผ้นำทั้งทางโลกและทางธรรม จะเห็นได้ว่าไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงพระญาจักรวรรดิราชในลักษณะอุดมคติ และยกตัวอย่างพระเจ้าอโศกมหาราชซึ่งเป็นพระญาจักรวรรดิราชในชมพูทวีป ส่วนจารึกวัดป่ามะม่วงแสดงให้เห็นว่าพระมหาธรรมราชาที่ 1 เป็นพระญาจักรวรรดิราชในอาณาจักรสุโขทัย มีบทบาทเป็นผู้นำทางโลกและทางธรรม ลักษณะร่วมด้านเนื้อหา ประการที่สองกล่าวถึงความมหัศจรรย์ของผู้มีบุญบารมี ซึ่งผู้สั่งสมบุญมามากจะเกิดปรากฏการณ์ความมหัศจรรย์ต่าง ๆ ลักษณะร่วมด้านเนื้อหาประการที่สามไตรภูมิพระร่วงและจารึกวัด ป่ามะม่วงชี้ให้เห็นถึงความเสื่อมสลายตามกฎอนิจจัง หรือกฎแห่งไตรลักษณ์ และพระนิพพาน ซึ่งเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้นประการสุดท้าย เนื้อหาในส่วนที่กล่าวถึงนรก สวรรค์ การอ้างถึงเทวดา และอมนุษย์ต่าง ๆ นอกจากนี้ไตรภมูิพระร่วงและจารึกวัดป่ามะม่วงยังสะท้อนภาพลักษณ์ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 ร่วมกัน คือ พระมหาธรรมราชาที่ 1 มีภาพลักษณ์พระญาจักรวรรดิราชหรือมหาธรรมราชาธิราช ภาพลักษณ์ของพระโพธิสัตว์ และภาพลักษณ์ของนักปราชญ์ผู้รอบรู้ในศิลปศาสตร์หลากหลายแขนงTri-Bhumi Phra Ruang and Inscriptions of Wat Pa Mamuang had the common characteristics of contents by presenting the conception of Chakravartin who was the leader in both secularity and religion. It revealed that Tri-Bhumi Phra Ruang mentioned Chakravartin in the way of idealism and exemplified his Imperial Majesty Ashoka who was a Chakravartin in Jambudvipa. Besides, the inscriptions of Wat Pa Mamuang showed that Mahadharmaraja I (Lithai) was Chakravartin in the Kingdom of Sukhothai, who showed his lead role in both secularity and religion. The second common characteristics of contents mentioned the miracle of the persons with halo who had accumulated much merit. This resulted in different miraculous phenomena. The third common characteristics of contents of Tri-Bhumi Phra Ruang and Inscriptions of Wat Pa Mamuang suggested the decay, which was based on the impermanent rules, the laws of the Trinity or Nirvana which were the ways to salvation. Lastly, it revealed the contents which mentioned hell and heaven and referred to angels and inhuman beings. Moreover, Tri-Bhumi Phra Ruang and Inscriptions of Wat Pa Mamuang reflected the common images of Mahadharmaraja I (Lithai) who had the image of Chakravartin or Mahadramarajadhiraja, the image of Bodhisattva and the one ofa philosopher who was an expert on various fields of Arts.

Downloads