การใช้บริการการฝากครรภ์และการคลอดของแรงงานข้ามชาติหญิงชาวพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร Maternal Care Utilization among Female Migrants from Myanmar in Samut Sakhorn

Authors

  • ศศิวิมล ดีคำ
  • ณัฐณีย์ มีมนต์

Keywords:

แรงงานข้ามชาติ, การฝากครรภ์, การคลอด, ระบบบริการสุขภาพ, การเข้าถึงบริการ, Migrant Workers, Antenatal Care, Healthcare System, Service Accessibility

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษารูปแบบการใช้บริการและปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ารับบริการการฝากครรภ์และการคลอดของแรงงานข้ามชาติหญิงชาวพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 400 คน ที่มีอายุระะหว่าง 25-40 ปี ต้องเคยตั้งครรภ์หรือคลอดในระยะเวลา 2 ปี หรือกำลังตั้งครรภ์อยู่ โดยการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลผ่านแบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากแบบจำลองของ Andersen พบว่าร้อยละ 60 เข้ารับบริการจากโรงพยาบาล ร้อยละ 16 เข้ารับการตรวจติดตามการตั้งครรภ์ครบตามนัด (100%) และไม่เคยเข้ารับการตรวจติดตาม (0%) ร้อยละ 18.2 อายุครรภ์ที่เข้าฝากครรภ์ครั้งแรกคือ 22.21 สัปดาห์ ส่วนใหญ่เดินทางไปใช้บริการโดยอาศัยรถประจำทางเป็นหลัก ระยะเวลาในการเดินทางเฉลี่ย 47.79 นาที จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการฝากครรภ์ครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) คือ สถานภาพสมรส การสนับสนุนจากครอบครัวและนายจ้าง การตระหนักว่าตนเองตั้งครรภ์ และสถานภาพการทำงาน ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสม่ำเสมอในการตรวจติดตามการตัังครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) คือ อายุ การตระหนักว่าตนเองตั้งครรภ์ สิทธิการรักษา ประสบการณ์การใช้บริการ ระยะเวลาการเดินทาง และการสนับสนุนจากครอบครัวและนายจ้างThis study investigated the pattern of maternal health care utilization and factors influencing the utilization among female migrant workers from Myanmar in Samut Sakhorn Province. The study’s sample included 400 female migrant workers aged 25-40 years who were reported being pregnant or giving birth during the past two years. Being developed, the questionnaire pertaining predisposing; enabling; and needs factors, and maternal care utilization was based on Andersen’s Behavioral Model of Health Services Utilization. The results showed that 60% of the respondents chose to receive health services in hospital. 16% of them completely received follow-up prenatal care appointments (100%) while 18.2% never obtained prenatal care (0%). The average gestational age at the first prenatal visit was 22.21 weeks. Mostly, the participants traveled to health facilities by bus. The trip took approximately 47.79 minutes. The regression analysis found that marital status, support from family and employer, acknowledgement of one’s own pregnancy, and work status significantly affected access to the first antenatal visit (p≤0.05). Moreover, age, acknowledgement of one’s own pregnancy, possession of medical benefit, experience of health services utilization, travel time, and support from family and employer significantly influenced the consistency in antenatal appointment attendance (p≤0.05).

Downloads