“ความรัก” ในบทละครเรื่องแฟดเดรอะ (Phèdre) ของราซีน (Racine) “Love” in Racine’s Phèdre

Authors

  • ภาคภูมิ ใจมีอารี

Keywords:

ความรัก, ราซีน, บทละครของราซีน, บทละครคลาสสิคของฝรั่งเศสในศตวรรษที่ ๑๗, Love, Racine, Racine’s Play, French Classical Play in the XVII Century

Abstract

บทละครเรื่องแฟดเดรอะ (Phèdre) เป็นบทละครแนวโศกนาฏกรรมของราซีน (Racine) ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในศตวรรษที่ ๑๗ ซึ่งเป็นยุคที่วรรณกรรมแนวคลาสสิคมีอิทธิพลสูงสุดต่อการสร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรม ไม่เพียงแต่บทละครเรื่องแฟดเดรอะจะโดดเด่นทางลักษณะการประพันธ์ที่สอดคล้องกับกฎการประพันธ์บทละครแนวโศกนาฏกรรมอย่างเข้มงวด หากแต่ยังดึงให้ผู้อ่านเข้าร่วมกับอารมณ์ของตัวละครได้เป็นอย่างดี ราซีนได้นำเสนอแก่นเรื่อง “ความรัก” ระหว่างตัวละครเอกออกสู่สายตาผู้อ่านเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๖๗๗ ซึ่งทำให้ตระหนักดีว่า “ความรัก” ระหว่างตัวละครเอกเป็นความรักที่เป็นไปไม่ได้ เป็นความรักผิดบาป เป็นความรักที่ทรมานและกัดกินความบริสุทธ์ในใจ เป็นความรักที่ไม่มีทางออก ความตายจึงเป็นหนทางเดียวที่ทำให้ตัวละครเอกหลุดพ้นจากบ่วงพันธนาการนี้ไปได้                                                  ราซีนใช้กลวิธีในการสร้างบทละครแนวโศกนาฏกรรมเรื่องนี้โดยการให้แฟดเดรอะ หลงรัก ฮิปโปลิท (Hippolyte) ซึ่งเป็นลูกเลี้ยงของตนเอง ความรักฉันท์ชู้สาวของคนในครอบครัวเดียวกันเป็นสิ่งที่เป็ นไปไม่ได้และยอมรับไม่ได้ของสังคม ในขณะเดียวกัน ฮิปโปลิท ก็มี อะลีซีย์ (Aricie) เป็นคู่รักอยู่แล้ว ความรักที่เกิดขึ้นระหว่างตัวละคร ๓ ตัว ละครนี้จึงเปรียบเสมือนกับ “รักสามเส้า” ที่ไม่มีผู้ใดสมหวังทางด้านความรักเลยแม้แต่น้อยThe play, Phèdre, one of Racine’s tragedies was highly praised in 17th century which was the time that classic literatures influenced all the creation of written arts. The play, Phèdre is remarkablein terms of its strict tragedy’s manners—the tragic construction, and its charms that attracts readers to share the feelings with the characters. Racine presented “love” to the readers for the first time in 1677. It was apparently clear that the “love” between the main characters would be impossible. It was a sinful love which tortured and plagued the innocent minds. It was the love that no one could find a way out. Death shall be the only solution that unleashed the trapped hearts.                                                             Racine’s techniques included the use of traditional tragic construction. Phèdre fell in love with Hippolyte, a son-in-law of hers. Love affair of family members was impossible and unacceptable. At the same time, Hippolyte himself was in love with Aricie. Love triangle of the three characters revealed that no one would win the game.

Downloads