แนวทางการปรับปรุงนิทรรศการ เรื่องกลุ่มชาติพันธ์ุชอง ในชุดนิทรรศการ ด้านศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออก หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา Improvement Guidelines of Permanent Exhibition on “Chong Ethnic Group” in Eastern Center of Art and Culture,...

Authors

  • ศรัญญา ประสพชิงชนะ

Keywords:

ศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออก, นิทรรศการ, กลุ่มชาติพันธ์ุชอง, Chong Ethnic Group, Exhibition, Art and Culture of Eastern Region

Abstract

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการจัดแสดงนิทรรศการเรื่องกลุ่มชาติพันธ์ุชอง ในชุดนิทรรศการด้านศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงนิทรรศการ เรื่องกลุ่มชาติพันธ์ุชอง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method) คือทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการใช้แบบสอบถามสำรวจความพึงพอใจและความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดแสดงนิทรรศการมาประกอบกับแนวคิดทฤษฏีการจัดนิทรรศการ เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงนิทรรศการให้มีประสิทธิภาพและความเพลิดเพลินมากขึ้น                                                                                            ผลการวิจัยพบว่า การจัดแสดงนิทรรศการเรื่องกลุ่มชาติพันธ์ุชอง ในชุดนิทรรศการด้านศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออก หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา ยังไม่เคยได้รับการปรับปรุงการจัดแสดงเลยตั้งแต่เริ่มเปิดหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกในปี พ.ศ. 2549 จึงทำให้รูปแบบการจัดแสดงนิทรรศการ ทั้งในส่วนของเนื้อหาและเทคนิคการจัดแสดงมีลักษณะที่หยุดนิ่ง คือให้ภาพของชาวชอง ในอดีตที่มีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมและเรียบง่าย ขาดความมีพลวัตรภายใต้วาทกรรมของการพัฒนารัฐชาติสมัยใหม่ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงนำเสนอแนวทางการปรับปรุงการจัดแสดงทั้งในส่วนของเนื้อหาและเทคนิคให้มีความทันสมัยมากขึ้น เพื่อให้ผู้ชมได้รับทราบข้อมูล เรียนรู้ และเกิดความเข้าใจ รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมและร่วมกันสร้างสำนึกทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ุชองอย่างยั่งยื่นThe objectives of this research are to analyze problems of a permanent exhibition, Chong’s culture in the eastern region, and to improve the exhibition of Chong Ethnic groups to improve its efficiency and attract more attention. The methodology of the research is a mixed method, qualitative and quantitative research, which uses a questionnaire to survey satisfaction and estimation about the organization of the exhibition. Results of the survey with exhibition theories are employed for improving the exhibition to have more efficacy and gratification.                                                                                              The results of the research show that the exhibition of Chong’s culture in the eastern region has not yet been improved, since the opening of the Eastern Center of Art and Culture, Burapha University in 2006. Therefore, the content and management technique of the exhibition are static. The static content is the projected image of Chong’s people in the past as old and simple living style, and there is no dynamic display of Chong life style as improved in Thai political strategy and economic discourse. Thus, the researcher proposes various ways how to improve the exhibit in terms of contents and management techniques to be presented in a modern approach to the audience. The main topic of the exhibition has still be used as the same, but the fine details of the new exhibit are improved to be easily understood by the public. This would lead the elevation of the cultural recognition of the Chong ethnic group. 

Downloads