การนำเสนอภาพลักษณ์ใหม่ของสตรีในสังคมไทยผ่านตัวละครเอกหญิงในบทละครรัชกาลที 6 Portrayal of New Women Images in Thai Society through Female Protagonists in King Rama VI’s Play Scripts
Keywords:
การสื่อสาร, บทละคร, พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, ภาพลักษณ์, สตรีศึกษา, Communication, Image, King Rama VI, Play Script, Women’s StudiesAbstract
บทความนี้มุ่งนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครเอกหญิงในบทพระราชนิพนธ์เรื่องมัทนะพาธาและสาวิตรี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรีอันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศไทยสู่ความเป็นอารยประเทศ ในรัชสมัยของพระองค์พบว่าทรงมุ่งพัฒนาสตรีที่สำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ 1) การศึกษาของสตรี และ 2) สิทธิและหน้าที่ของสตรี เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับตัวละครเอกหญิงในบทละครพระราชนิพนธ์ทั้ง 2 เรื่อง พบว่า นางมัทนาจากเรื่องมัทนะพาธานำเสนอภาพลักษณ์ของการมีสิทธิในการเลือกคู่ครองของสตรี และการกระทำตนให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมของสตรี ในขณะที่นางสาวิตรี จากเรื่องสาวิตรีนำเสนอภาพลักษณ์ของสตรีผู้มีความรู้ทางอักษรศาสตร์ และวาทศิลป์ รวมถึงการทำหน้าที่ปกป้องบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งค่านิยมของสังคมกำหนดให้เป็นหน้าที่ของบุรุษ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการนำศิลปะการละครมาใช้เป็นเครื่องมือในการชี้นำสังคม และนำเสนอภาพลักษณ์ของสตรีที่สอดคล้องกับพระราโชบายในการปกครองประเทศThis article aimed to analyse the relationship between female protagonists in King Rama VI’s Madanabadha and Sawitri and his royal duties of upgrading women’s quality of life which was a part of a civilized process. In his era, his majesty the king focused on women’s education, rights and duties. The results showed that Madana, a protagonist from Madanabadha, represented women’s rights in marriage and women’s duty to public affairs. Meanwhile, Sawitri, a protagonist from the play, illustrated women’s wisdom and duty of protecting her husband which was men’s normal responsibility. Moreover, King Rama VI’s play scripts were the explicit examples of the use of drama as a leading tool to govern Thai society.Downloads
Published
2021-04-30
Issue
Section
Articles