รูปแบบการสื่อสารและการรับรู้อัตลักษณ์ของคนมอญข้ามถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร Communicative Patterns and Identity Perception amongst Mon Migrants in Samutsakhon Province

Authors

  • สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Keywords:

การสื่อสาร, อัตลักษณ์, คนมอญข้ามถิ่น, Communication, Identity, Mon Migrant

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาประวัติศาสตร์การเข้ามาอาศัยและทำงานในประเทศไทยของคนมอญข้ามถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร 2.) ศึกษาถึงรูปแบบการสื่อสารของคนมอญข้ามถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร 3.) ศึกษาถึงการรับรู้อัตลักษณ์ของคนมอญข้ามถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร โดยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการศึกษาพบว่า การเข้ามายังประเทศไทยของคนมอญข้ามถิ่นมีสาเหตุหลัก ๆ คือ การอพยพหนีภัยสงคราม หนีความอดอยากยากไร้ และการเข้ามาขายแรงงาน โดยแบ่งประวัติศาสตร์การอพยพออกเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ 1.) ช่วงอพยพการหนีภัยสงคราม และ 2.) ช่วงการอพยพเพื่อขายแรงงาน ส่วนรูปแบบการสื่อสาร พบว่ามี 2 ลักษณะคือ 1.) การสื่อสารภายในกลุ่มคนมอญด้วยกันเอง โดยผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย รวมถึงการใช้สื่อกิจกรรม เช่น งานวันชาติ เป็นพื้นที่แห่งการสื่อสารที่มีไว้ติดต่อปฏิสัมพันธ์ในระหว่างกลุ่มมอญด้วยกัน 2.) การสื่อสารภายนอกกลุ่มและการมีปฏิสัมพันธ์กับคนไทย จะเป็นการสื่อสารทั่วไปในชีวิตประจำวันด้วยภาษาไทยและสื่อสารกับเจ้านายหรือผู้ว่าจ้างที่เป็นไปตามสายงานการบังคับบัญชา สำหรับการรับรู้อัตลักษณ์ พบ 3 ประเด็น คือ 1.) มอญคือผู้ช่วยด้านแรงงานมิใช่พลเมืองชั้นสอง 2.) มอญไม่ใช่พม่า และพม่าคือความเป็นอื่น และ 3.) คนมอญต้องคู่กับหมากThis paper presents some of the results from a qualitative study entitled Communicative Patterns and Identity Perception amongst Mon Migrants in Samutsakhon Province. This study aimed to explore 1) how Mon migrants came to live and work in Samutsakhon Province and 2) what the communicative patterns amongst them were. Data were collected by informal talk, in-depth interviews and focus group.  The results showed that historically, Mon migrants came to Thailand to escape from wars and to avoid famine, and because they were needed for employment as laborers. The main reasons for immigration were escaping from wars and the need for employment. The study found two communicative patterns: internal and external communications. As far as the internal communication of the group of Mon migrants was concerned, they used social media such as facebook, events such as the national day and Buddhist lent day to interact with each other. For external communication and interaction with Thai people, they used Thai for everyday life and to talked to their employers hierarchically. This research on the identity perceptions have revealed 3 key points: 1.) Mon migrants has been helpers in terms of labour, not second-class citizens. 2.) Mon is not Burmese, and the Burmese are others. and 3.) Betel chewing has been an important part of Mon’s tradition.

Downloads

Published

2021-04-30