การบ่มเพาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของชุมชน แอโก๋-แสนคำลือ ด้วยกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษา The Cultivation of Change Agents amongst the Youth in Aeko-Saenkumlue Village, Using the Contemplation-oriented Transformative..

Authors

  • สมสิทธิ์ อัสดรนิธี ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุปรียส์ กาญจนพิศศาล ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง, จิตตปัญญาศึกษา, แอโก๋-แสนคำลือ, ชุมชน, Change Agent, Contemplative Education, Aeko-Saenkumlue, Village

Abstract

วัตถุประสงค์ของบทความวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงศักยภาพภายในและศักยภาพภายนอกของผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของชุมชนแอโก๋-แสนคำลือที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษา บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองคล้ายธรรมชาติ โดยเน้นความสำคัญอยู่ที่การจัดกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวจิตตปัญญาศึกษาให้แก่ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่สมัครใจและทำการคัดเลือกมาเป็นผู้เข้าร่วมวิจัยอย่างเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้นำรุ่นใหม่เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนด้านการสื่อสารความรู้สึกออกมาอย่างซื่อตรง ความกล้าแสดงออกต่อหน้าสาธารณชน การมีสติ การเริ่มเห็นความสำคัญและแสดงออกในลักษณะของการเอาใจเขามาใส่ใจเรา รวมถึงเกิดแรงบันดาลใจในการเป็ นผู้นำที่ดีและการมีสัมพันธภาพในทางที่ดีขึ้นกับบุคคลใกล้ชิด ส่วนผลสัมฤทธิ์ภายนอกนั้น ถึงแม้กลุ่มผู้นำจะสามารถพัฒนาทักษะเรื่องการนำเสนอผลงาน การทำบัญชีครัวเรือนและการเขียนโครงการได้เป็นอย่างดี ผู้วิจัยยังไม่พบมุมมองร่วมที่สามารถเชื่อมโยงพลังของกลุ่มในการขับเคลื่อนงานเชิงระบบในภาพรวม ผู้วิจัยพบว่า ผู้นำรุ่นใหม่กลุ่มนี้ควรได้เรียนรู้และพัฒนายกระดับศักยภาพทางมิติด้านในเพิ่มเติมผ่านการฝึกฝนทักษะการสื่อสารแนวสุนทรียสนทนา และฝึกฝนเจริญสติภาวนา รวมถึงการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูภูมิปัญญาดั้งเดิมและการฝึกฝนทักษะการเป็นกระบวนกรThis research objective was to investigate educational transform in the internal potential and the external potential of new generation leaders of Aeko-Saenkumlue community themselves, by using the contemplation-oriented transformative facilitation. This research is a non-experimental research, and it focused on organizing the contemplation-oriented transformative facilitation for a group of villagers who had volunteered, and were particularly chosen to participate in the research. The research results found out that the new generation leaders started developing changes within themselves in the sphere of being able to communicate and express their feeling truly and genuinely, being courageous to express themselves in public, having self-awareness, beginning to be able to see the importance of expression in terms of being empathy towards others, including having an inspiration to become good leaders. In addition, relationship bond was positively developed with the closely surrounding people. In terms of the outwardly achievement, though the leaders could develop skills in presentation, listing the household accounting and being able to draft the project well, researcher had not yet found their mutual perception that could be connected with the group’s strength in driving the overall projects systematically. Researchers found that this new generation leader group should learn and develop to build up their internal potential through aesthetics communication skill training and the practice of cultivating the mind, as well as learning to revitalize original wisdom and practice their skills in a process method.

Downloads

Published

2021-04-30