ผลกระทบของภาวะผู้นำต่อสมรรถนะหลักในการทำงาน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา Impact of Leadership on Core Competencies: A Case Study of Burapha University

Authors

  • ชานน ชลวัฒนะ สาขาการจัดการธุรกิจและสารสนเทศ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร ภาควิชาการจัดการการผลิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

ผู้นำ, ภาวะผู้นำ, สมรรถนะหลัก, Leader, Leadership, Core Competencies

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำแต่ละรูปแบบของผู้บริหารมหาวิทยาลัยบูรพา โดยจำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์  วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำกับสมรรถนะหลักในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา  รวมถึงเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับสมรรถนะหลักของภาวะผู้นำแต่ละแบบ  โดยภาวะผู้นำในการศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและภาวะผู้นำแบบปล่อยตามสบาย  ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 336 ราย ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างตามสัดส่วนของแต่ละหน่วยงาน  ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับภาวะผู้นำด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียวและสถิติ t-test กรณีตัวอย่างสองกลุ่มเป็นอิสระกัน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับระดับสมรรถนะหลักของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า  ภาวะผู้นำทั้งสามรูปแบบมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสมรรถนะหลักในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา  และยังพบว่าผู้บริหารที่ระยะเวลาทำงานมากกว่า 10 ปีแต่ไม่เกิน 20 ปีมีภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนสูงกว่าผู้บริหารที่ระยะเวลาทำงานไม่เกิน 10 ปี นอกจากนี้ระดับสมรรถนะหลักในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาเมื่ออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนจะสูงกว่าภาวะผู้นำอีกสองแบบ  ผลการวิจัยนี้สามารถเป็นแนวทางให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยบูรพาพัฒนาและปรับใช้ภาวะผู้นำให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายในองค์การต่อไปThe purpose of this research were to study the leadership level of Burapha University’s administrators classified by demographic factors and to analyze the relationship between leadership and subordinates’ core competencies. Moreover, this study compared the different degrees of the subordinates’ core competencies on each type of leadership. There were 3 types of leadership in this study which were as follows transformational leadership, transactional leadership and laissez-faire leadership. Questionnaires were used to collect data from 336 staffs in Burapha University by Ratio Sampling method. One-Way ANOVA and Independent sample t-test were utilized to test the difference of the average degree of leadership and the Pearson’s correlation coefficient were employed to examine the relationships between leadership and subordinates’ core competencies. The study revealed that transformational leadership, transactional leadership and laissez-faire leadership were positively correlated with the subordinates’ core competencies. The result also showed that the level of transactional leadership of administrators who have been working at Burapha University for more than 10 years but less than 20 years was higher than that of administrators who have been working for less than 10 years. In addition, the levels of subordinates’ core competencies under the administrators who show with transactional leadership style were higher than those of the other two leadership styles. The results of this study can be used as a guideline for the administrators to develop and apply their leadership styles to fit their organization environment.

Downloads

Published

2021-04-30