จริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมในชินโต Environmental Ethics in Shinto

Authors

  • สถาพร ไปเหนือ ภาควิชาศาสนาและปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สกุล อ้นมา ภาควิชาศาสนาและปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

ชินโต, คะมิ, ญี่ปุ่น, สิ่งแวดล้อม, จริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม, Shinto, Kami, Japan, Environment, Environmental Ethics

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์แนวคิดจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมในชินโต และ 2) พิจารณาข้อโต้แย้งเรื่องคุณค่าทางจริยธรรมของโลกธรรมชาติโดยใช้ทฤษฎีจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่า ชินโตมีท่าทีใกล้เคียงกับแนวคิดมนุษย์ คือ  ผู้อภิบาลและแนวคิดแบบองค์รวม มาจากความเชื่อว่าในธรรมชาติมีคะมิสถิตอยู่ ธรรมชาติจึงศักดิ์สิทธิ์และมีคุณค่า มนุษย์ควรให้ความเคารพและอนุรักษ์ธรรมชาติ ขณะเดียวกัน ความมีอยู่ของคะมิในธรรมชาติก็ช่วยปกป้องธรรมชาติเช่นกัน และความเชื่อว่าทุกสิ่งเกิดจากคะมิ ดังนั้น ทุกสิ่งจึงมีความสัมพันธ์กัน ส่วนวิหารชินโตและงานเทศกาล สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ คะมิและสภาพแวดล้อม เนื่องจากวิหารคือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ตั้งของวิหารจึงสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมซึ่งต้องได้รับการดูแลให้ดี งานเทศกาลเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงชุมชนกับคะมิและแสดงให้เห็นความร่วมมือกันของคนในชุมชน  ข้อโต้แย้งเรื่องคุณค่าทางจริยธรรมของโลกธรรมชาติ พบว่า แนวคิดที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง มองมนุษย์เท่านั้นมีคุณค่าในตัวเอง ขณะที่แนวคิดมนุษย์คือผู้อภิบาล มองโลกธรรมชาติมีคุณค่าเพราะเป็นสิ่งสร้างของพระเจ้าเช่นเดียวกับมนุษย์ มนุษย์จึงต้องดูแลโลกธรรมชาติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากพระเจ้า ส่วนแนวคิดแบบองค์รวม มองทุกสิ่งมีคุณค่าในตัวเองและมีความสัมพันธ์กันทั้งสิ้น มนุษย์จึงต้องตระหนักถึงคุณค่าของทุกสิ่งThe purposes of this research were 1) to analyze environmental ethics in Shinto. and, 2) to consider the arguments on ethical values of natural world in environmental ethics, The result of this study showed that environmental ethics in Shinto was classified into Stewardship and Holism based on the belief that Kami resided in nature, so nature was divine and valuable and human had to respect and protect them. Moreover, the existence of Kami in natural world as well as the belief that everything was born from Kami, and therefore, everything was connected. The Shinto shrine and festival reflected the relation between human, Kami and nature. Because the shrine was the sacred place, the location of the shrine as well as its surrounding had to be specially taken care of and protected. The festivals were rituals to connect the people in the community together and they also showed the cooperation among people in community. In the arguments on ethical value of natural world it was found that the Anthropocentrism believed that only human being had intrinsic value. However, in Stewardship, believed that the nature also had ethical value, for it was created by God just like a human being. Therefore, a man had to protect the nature as this duty was assigned by God. To Holism believed that everything had intrinsic value and was connected to each other, and a man was a mere part of the whole; therefore, a man had to realize the intrinsic value of everything in biosphere.

Downloads

Published

2021-04-30