การวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ
Causal Model Analysis of Communication Factors Affecting Holistic Healthcare Behavior of the Elders
Keywords:
ปัจจัยการสื่อสาร, โมเดลเชิงสาเหตุ, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม, การดูแลสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, Holistic Healthcare Behavior, the EldersAbstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารที่เหมาะสมต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมของตัวแปรต่าง ๆ ในโมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก (1) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข (2) เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (3) แกนนำผู้สูงอายุภาคประชาชนของกรุงเทพฯ จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี และ 2) การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยหรือทำงานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 480 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าปัจจัยด้านผู้ส่งสาร เนื้อหาสาร สื่อ/ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร ล้วนส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ ส่วนผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่าโมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการสื่อสารที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ขณะที่ตัวแปรการบูรณาการสื่อในชุมชน และการสื่อสารเนื้อหาที่หลากหลายและสอดคล้องกับวิถีสุขภาพของผู้สูงอายุเป็น 2 ตัวแปรเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ This research objectives were: 1) to analyze communication factors that were suitable for elders’ holistic healthcare behavior; 2) to study direct and indirect effects among variables in causal model of communication factors affecting holistic healthcare behavior of the elders; and 3) to investigate the congruence of causal model and empirical data. Mixed methods research was utilized included qualitative and quantitative approaches. In the part of qualitative approach, in-depth interview was conducted with (1) public health officers, (2) local administrative officers and (3) elderly leaders from Bangkok, Nonthaburi, Smut Prakarn and Pathum Thani provinces. Regarding quantitative approach, survey research technique was employed to collect data from 480 elders who resided or earned a living in Bangkok and its vicinity. Qualitative research findings revealed that factors related to the sender, message, media/channel and receiver all affected healthcare behavior of the elders. What is more, the findings of quantitative research revealed the causal model of communication factors affected the elders’ holistic healthcare behavior. This was consistent with the empirical data. Meanwhile, variables related to community media integration and communication of various contents are consistent with elders’ healthy ways and were two dominant independent variables which had effects toward holistic healthcare behavior of the elders.References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2560). ข้อมูลสถิติผู้สูงอายุประเทศไทย ปี 2559. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
กัตติกา ธนะขว้าง, ผ่องใส กันทเสน และรัตนากร ยศอินทร์. (2555). การพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองประยุกต์กับฟ้อนมองเซิ้งเมืองน่าน ต่อศักยภาพทางกายของผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล, 27(2), 81-93.
กำจร หลุยยะพงศ์. (2553). การสื่อสารกับวาทกรรมอัตลักษณ์ผู้สูงอายุในสังคมไทย. ดุษฎีนิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชานิเทศศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2552). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.
จารุวรรณ ศิลา. (2546). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ารำเซิ้งโดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชลธิชา จันทคีรี. (2558). ผลโปรแกรมการใช้สื่อเพลงสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายด้วยการรำไม้พลองต่อความรู้และการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(4), 15-30.
ดวงพร คำนูณวัฒน์, เนตร หงส์ไกรเลิศ, กุลธิดา จันทร์เจริญ, ดวงแข บัวประโคน, สุนิดา ศิวปฐมชัย, สิรินทร พิบูลภาณุวัธน์ และธีรพงษ์ บุญรักษา. (2553). สื่อพื้นบ้านเพื่อสุขภาวะของเยาวชน. วารสารภาษา
และวัฒนธรรม, 29(2), 89-110.
นภัส แก้ววิเชียร และเบญจพร สุธรรมชัย. (2553). ดูแลสุขภาพให้เป็นองค์รวม. ใน เทวัญ ธานีรัตน์ (บรรณาธิการ), การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ (หน้า 24-30). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ และกฤษณา ตรียมณีรัตน์. (2553). เมื่อย่างเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุ. ใน เทวัญ ธานีรัตน์ (บรรณาธิการ), การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ (หน้า 10-14). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
ยุทธ์ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติสำหรับงานวิจัยหลายตัวแปร (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สังวรณ์ งัดกระโทก. (2557). โมเดลสมการโครงสร้างสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (เอกสารประกอบการสอน). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2554). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ajzen, I. (1985). From intention to actions: A theory of planned behavior. In J. Kuhl & J. Beckman (Eds.), Action control: From cognition to behavior (pp. 11-39). Heidelberg, Germany: Springer.
Berlo, D. K. (1960). The process of communication: An introduction to theory and practice. New York, NY: Halt Rinehart and Winston.
Jitramontree, N. (2003). Predicting exercise behavior among Thai elders: Testing the theory of planned behavior. Doctoral dissertation in Nursing, The University of Iowa.
Kachentawa. K., & Cheyjunya. P. (2017). Factors promoting participatory communication to create health communication behavior in the community. International Journal of Behavioral Science, 12(1), 13-28.
Malikhao, P. (2016). Effective health communication for sustainable development. Hauppauge, New York, NY: Nova Science Publishers, Inc.
Prasad, K. (2009). Communication for development. Reinventing theory and action. Vol. 1- Understanding communication. Delhi: B.R. Publishing Corporation.
Richard, J. C. & Turner, N. T. (2010). Essential social psychology (2nd ed.). London: Sage Publications.
Suggs, L. S. & Ratzan, S. C. (2012). Global e-health communication. In R. Obregon & S. Waisbord (Eds.), The handbook of global health communication (pp. 250-260).
Chichester, West Sussex, UK: Wiley-Blackwell.