การใช้สื่อใหม่เพื่อนันทนาการด้านกีฬาฟุตบอลกับการรับรู้ความสัมพันธ์ทางสังคมของแฟนบอลผู้สูงอายุ สโมสรชลบุรี เอฟซี

New Media Usage for Recreation on Football with the Perception of Social Relation of the Elderly Football Fans of Chonburi F.C. Club

Authors

  • สราลี พุ่มกุมาร
  • พิทักษ์ศักดิ์ ทิศาภาคย์
  • ฐิตินัน บ.คอมมอน

Keywords:

ความสัมพันธ์ทางสังคม, แฟนบอลผู้สูงอายุ, เอฟซี, สโมสรชลบุรี, สื่อใหม่

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของแฟนบอลผู้สูงอายุสโมสรชลบุรี เอฟซี 2. เปรียบเทียบการใช้เวลาจากสื่อใหม่กับการรับรู้ความสัมพันธ์ทางสังคมของแฟนบอลผู้สูงอายุฯ 3. ศึกษาการรับรู้คุณค่าสื่อใหม่ของแฟนบอลผู้สูงอายุฯ 4. ศึกษาบทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของแฟนบอลผู้สูงอายุฯ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัย 2 รูปแบบ คือ การวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการสำรวจด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับแฟนบอลผู้สูงอายุฯ จำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างใช้เฟซบุ๊กในการค้นหาข้อมูลข่าวสารสนทนา และเปิดรับชมการแข่งขันฟุตบอลสโมสรชลบุรี เอฟซี มากที่สุด โดยใช้ผ่านโทรศัพท์สมาร์ตโฟน ในช่วงเวลา 18.01 น.-24.00 น. 2. การใช้เวลาจากสื่อใหม่แตกต่างกัน มีผลต่อการรับรู้ความสัมพันธ์ทางสังคมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  3. แฟนบอลผู้สูงอายุฯ รับรู้คุณค่าของสื่อใหม่ ด้านการใช้ประโยชน์ 4 ประเด็น คือ ความรวดเร็ว ระยะทาง ความสะดวกสบาย และสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมส่วนด้านของจิตใจ 3 ประเด็น คือ ทำให้ชีวิตมีความสุข ทำให้คลายเหงา และทำให้ผ่อนคลายความเครียด 4. บทบาทของสื่อใหม่ คือ สร้างความสัมพันธ์ทางสังคมให้กับกลุ่มแฟนบอลด้วยกันเอง และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มแฟนบอลกับสโมสร  This study aimed to 1. study the behaviors of the usage of new media of the elderly football fans of Chonburi F.C. Club, 2. Compare the spending time of new media with the perception of social relationship of the elderly football fans, 3. study the perception of the value of new media of the elderly football fans, and 4. study the role of new media on building social relationship of the elderly football fans. The research methodology comprised 2 methods: 1. the quantitative research by using the survey method from 400 samples and 2. the qualitative research by using the in-depth interview from 12 elderly football fans. The results were as follows: 1. the participants used Facebook for searching information, discussed some issues, and viewed Chonburi F.C. Club’ football match via the application on smart phone during 18.01 p.m.-24.00 a.m. at the highest level. 2. The difference of spending time on the new media had affected the perception of social relationship at a statistical significance level of 0.05. 3. The elderly football fans perceived the value of new media on 2 issues: usefulness and mental issue. The usefulness comprised speediness, distances, comfort, and building social relationship and the mental issue comprised making life happy, solving loneliness, and reducing stress. 4. The new media had the important role on building social relationship among the groups of football fans and the groups of football fans with the football club.

References

กันตพล บันทัดทอง. (2557). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์, คณะนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กาญจนา แก้วเทพ, และนิคม ชัยชุมพล. (2555). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการเมธีวิจัยอาวุโส ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

กานดา รุณนะพงศา สายแก้ว. (2553). โซเชียลมีเดีย. วันที่ค้นข้อมูล 5 กันยายน 2560, จาก https://bit.ly/3y1mYeT

กิรณา สมวาทสรรค์. (2559). พฤติกรรมการสื่อสารกับการส่งต่อข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม, คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กุศล สุนทรธาดา. (2556, สิงหาคม-กันยายน). สูงวัยกับไฮเทค. ประชากรและการพัฒนา, 33(6), 6-7.

ณัฐนันท์ ศิริเจริญ. (2558). กรณีศึกษาการใช้สื่อใหม่ผ่านโซเชียลมีเดียในโทรศัพท์มือถือเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุกับสมาชิกในครอบครัว ณ ประเทศนิวซีแลนด์. Veridian E-Journal, Slipakorn University, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(3), 96-117. วันที่ค้นข้อมูล 11 ตุลาคม 2560, จาก https://bit.ly/3x01EoE

ณัฐสุพงศ์ สุขโสต. (2548). บทบาทของการสื่อสารกับกระบวนการสร้างและสืบทอดวัฒนธรรม “แฟนบอล” ในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นันทิยา หุตานุวัตร. (2546). การพัฒนาองค์กรชุมชน. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พริ้นต์โพร.

บรรลุ ศิริพานิช. (2542). คู่มือผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

บุษยมาส สินธุประมา. (2539). สังคมวิทยาความสูงอายุ. เชียงใหม่: สมพรการพิมพ์.

ประนอม โอทกานนท์. (2554). ชีวิตที่สุขสมบูรณ์ของผู้สูงอายุไทย หลักการ งานวิจัยและบทเรียนจากประสบการณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.

ปัญญา เสริมชีพ. (2561, 22 กรกฎาคม). ประธานเชียร์กลุ่มแฟนบอลผู้สูงอายุสโมสรชลบุรี เอฟซี. สัมภาษณ์.

วิชาญ เสริมชีพ. (2561, 22 กรกฎาคม). แฟนบอลผู้สูงอายุสโมสรชลบุรี เอฟซี. สัมภาษณ์.

สมบัติ เขียววัน. (2561, 22 กรกฎาคม). แฟนบอลผู้สูงอายุสโมสรชลบุรี เอฟซี. สัมภาษณ์.

สราลี พุ่มกุมาร. (2559). แฟน: สื่อกับการสร้างและธำรงรักษาอัตลักษณ์แฟนบอลผู้สูงอายุของสโมสรฟุตบอลชลบุรี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 12(5) วาระพิเศษ, 1-11.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2560. วันที่ค้นข้อมูล 22 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://bit.ly/3eP6YFh

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

อภินพ รุ่งหิรัญรัตน์. (2561, 8 สิงหาคม). แฟนบอลผู้สูงอายุสโมสรชลบุรี เอฟซี. สัมภาษณ์.

Brand Buffet. (2559). เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภคอินเตอร์เน็ตหน้าใหม่ “อินเตอร์เน็ต คือชีวิต ตามติดทุกกระแส”. วันที่ค้นข้อมูล 22 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://bit.ly/2UIj1x

Positioning. (2552). Localism จุดระเบิด “ชลบุรี เอฟซี”. วันที่ค้นข้อมูล 1 สิงหาคม 2560, จาก https://positioningmag.com/12078

Jenkin, H. (2006). Convergence culture: Where old and new media collide. New York: New York University Press.

Pruchno, R. A., Wilson-Genderson, M., Rose, M., & Cartwright, F. (2010). Successful aging: Early influences and contemporary characteristics. The Gerontologist, 50(6), 821-833. Retrieved December 10, 2017, from https://doi.org/10.1093/geront/gnq041

Rogers, E. M. (2003). Diffusion of innovations (5th ed.). New York: Free Press.

Williamson, A. (2013). Social media guidelines for parliaments. Geneva: Inter-Parliamentary Union. Retrieved September 5, 2017, from https://bit.ly/2W2KxG4

Downloads

Published

2022-11-07